เจาะเสาเข็ม ระนอง
เสาเข็มมีกี่ประเภท? มีคุณสมบัติอย่างไร?
เสาเข็มมีด้วยกันหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่นำไปใช้ประเภทของเสาเข็ม ได้แก่
1. เสาเข็มตอก
มีทั้งเสาไม้ เสาเหล็ก และเสาคอนกรีต ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากราคาถูกกว่าเสาเหล็กและแข็งแรงกว่าเสาไม้ สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาคอนกรีตอัดแรงจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะหน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงน้อยกว่า เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบสี่เหลี่ยม แบบกลม แบบตัว I และแบบตัว T เป็นต้น เสาเข็มตอกสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 10-120 ตันต่อต้น
ตอกเสาเข็ม ต้องใช้ปั้นจั่นในการตอกลงไปในดิน โดยช่วงสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตอกเสาเข็ม จะต้องมีการตรวจสอบการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เข็มที่ตอกมีการทรุดตัวกว่าค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าหากทรุดตัวมากเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้แสดงว่ายังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอ
2. เสาเข็มเจาะระบบแห้ง เสาเข็มที่เข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอกซึ่งไม่สะดวกสำหรับการขนย้าย ให้สามารถทำงานในสถานที่แคบ ๆ เสาเข็มเจาะระบบแห้งเป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่ มีรูปร่างหน้าตาเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 25-60 ตันต่อต้น ความยาวประมาณ 20–30 เมตร
ทำเสาเข็มเจาะแบบแห้งสามารถเจาะโดยใช้ขาตั้ง 3 ขา แล้วใช้ลูกตุ้มเหล็กหรือกระบะตักดินกระแทกลงไปในดินลึกประมาณ 1 เมตร หลังจากนั้นนำปลอกเหล็กตอกลงไปในหลุมเจาะ โดยปกติจะลงไปลึกประมาณ 12-14 เมตร ซึ่งระดับความลึกระดับนี้จะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อน หลังจากนั้นทำการเจาะดินโดยทิ้งกระบะตักดินลงไปในปลอกเหล็ก แล้วตักขึ้นมาทิ้งบริเวณปากหลุม การเจาะดินจะทำการเจาะไปถึงชั้นทรายแล้วจึงหยุดเจาะ เนื่องจากชั้นทรายจะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดซึ่งจะทำให้ก้นหลุมพัง หลังจากนั้นใส่เหล็กเสริมลงไปในปลอกเหล็ก แล้วเทคอนกรีตลงไปในปลอกเหล็ก หลังจากเทเสร็จให้รีบดึงปลอกเหล็กขึ้นทันที
3. เสาเข็มเจาะระบบเปียกเป็นเสาเข็มแบบคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ รูปหน้าตัดทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75-1.50 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 150-900 ตัน/ต้น เสาเข็มระบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ เช่น อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น เสาเข็มระบบนี้เมื่อเจาะลงลึกกว่า 20 เมตร จะต้องใช้ละลายเบนโทไนท์ใส่ลงไปในหลุมเจาะ เพื่อผลักน้ำออกไปจากชั้นทรายเพื่อให้สามารถเทคอนกรีตลงไปได้
เสาเข็มที่นิยมใช้สร้างบ้าน จะมี 2 ประเภท ได้แก่
เสาเข็มตอก ซึ่งใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ผลิตจากโรงงาน แต่ละท่อนมีความยาวตั้งแต่ 1-28 ม. มีหลายหน้าตัด เช่น รูปตัวที (T) รูปตัวไอ (I) สี่เหลียม หกเหลี่ยม เป็นต้น เสาเข็มสั้นที่ยาว 1-6 เมตรมักจะตอกลงดินด้วยแรงคนขย่ม ส่วนเสาเข็มยาวจะใช้ปั้นจั่นในการตอก
เสาเข็มเจาะ ซึ่งจะใช้เครื่องมือขุดเจาะดินเป็นหลุมตามขนาดหน้าตัดเสาเข็ม โดยขุดให้ลึกถึงชั้นดินแข็งจากนั้นจึงใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไป
ในปัจจุบันเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ย่อมเยา ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มก่อนที่จะติดตั้งได้ และสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยสูงสุดกว่า 200 ตันต่อต้น ทางด้านการติดตั้งมีกรรมวิธีที่หลากหลายตั้งแต่ใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม การเจาะดิน การปรับปรุงสภาพดินบริเวณปลายเสาเข็ม ไปจนถึงการกดเสาเข็มซึ่งสามารถลดมลภาวะเสียงและแรงสั่นสะเทือนได้สมบูรณ์แบบ ความเหมาะสมของวิธีที่ใช้ในการติดตั้งเสาเข็มขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ความจำเป็น และกฎหมายที่บังคับในพื้นที่นั้นๆ ภายหลังการติดตั้งวิศวกรนิยมเลือกใช้การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม หรือการทำสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามการคำนวณ ส่วนข้อจำกัดของเสาเข็มอาจจะพบได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างแคบ เนื่องจากจะต้องมีการขนย้ายเสาเข็มจากโรงงานเข้าสู่หน้างาน
เสาเข็มตอก (เสาเข็มไอ 22)
โดยทั่วไปเสาเข็มที่เราเห็นและนิยมใช้กันจะมีหน้าตัดเป็นเหลี่ยมๆ เป็นตัวไอ หรือ กลม และจะเป็นแท่งยาวๆ เสาเข็มทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก การตอกต้องใช้ปั้นจั่นตอกลงดิน ส่วนใหญ่เสาเข็มที่ใช้กับโครงสร้างขนาดเล็กหรือไม่ค่อยสำคัญ คือ เสาเข็มคอนกรีตหกเหลี่ยมกลวงเพราะมีขนาดที่พอเหมาะ จะนิยมนำไปทำ รั่วศาลพระภูมิ แต่ทุกคนเลยรู้มั้ยว่าในอดีตเสาเข็มที่ใช้ทำโครงสร้างบ้านจะมีแต่ไม้ แต่เนื้องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาเสาเข็มจนมีเสาเข็มคอนกรีตไม้เลยไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาที่สูงกว่า และผุกร่อนง่ายควบคุมคุณภาพได้อยาก มีโอกาสพังทลายตามสภาพ ปัจจุบันเลยไม่มีการใช้ไม้ทำโครงสร้างบ้านหรืออาคาร
ในการก่อสร้างหรือโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ มักจะใช้เสาเข็มเจาะเปียก ส่วนการปลูกบ้านหรืออาคาร ที่ความสูงไม่มาก ส่วนใหญ่จะใช้การเจาะแห้ง ใช้พื้นที่น้อยกว่าเสาเข็มตอก มักจะใช้งานในพื้นที่ไม่กว้างข้อดีคือ จะเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มตอก จึงไม่มีผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง แต่การเจาะแห้งนั้น ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มากกว่า เสาเข็มตอก
ขั้นตอนของการเจาะแห้งนั้น มีขั้นตอนโดยเริ่มจากการ กดปลอกเหล็กกันดินพัง ให้เส้นผ่านศูนย์กลางของปลอกเหล็กเท่ากับเสาเข็ม ลงในชั้นดินอ่อนในตำแหน่งที่ต้องการเจาะ แล้วเจาะดินให้ลึกตามที่กำหนดไว้ ขั้นตอนต่อมาคือ การใส่เหล็กเสริมที่ได้มาตรฐาน มอก. แล้วจึงเทคอนกรีตตามเข้าไป ต้องตรวจสอบในขั้นตอนที่สำคัญๆในการคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้ง โดยอย่างแรกคือ ตรวจสอบปลอกเหล็กว่าได้เส้นผ่านศูนย์กลางถูกต้องรึป่าว และตำแหน่งของปลอกเหล็ก ขนาด ความลึก ว่าได้รูปแบบตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่ และเหล็กเสริมควรมีขนาดความยาวและคุณภาพตามแบบที่กำหนดไว้ การดูก้นหลุดของเสาเข็มว่าใช้ได้หรือไม่ ควรตรวจสอบว่าไม่มีการพังทลายของดิน ดูได้โดยไม่มีน้ำเข้ามาในหลุมต้องใช้ไฟส่องดูให้แน่ชัด
การควบคุมการทำงานของเสาเข็มเจาะแห้ง ขั้นตอนที่สำคัญในเบื้องต้น ควรดูว่าในรูเจาะดินไม่พังทลายหรือมีการบีบตัวโดยดูจาก ปริมาณของคอนกรีตที่ใช้ กับ ปริมาณของดินที่เจาะออกไปแล้ว การเทคอนกรีตลงในปลอกเหล็ก โดยปกติจะมีการยุบตัวของคอนกรีต หลังจากดึงปลอกเหล็กกันดินพังออก การเทคอนกรีตควรเทเผื่อการยุบตัว แล้วหลังจากนั้นค่อยดึงปลอกเหล็กขึ้นมาตรง ถ้าไม่ดึงในแนวดิ่งจะทำให้เสาเข็มเจาะเอียงตามไปด้วย แล้วมีความเสี่ยงต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้าง
ความสำคัญของรากฐาน
1.เพื่อทำให้โครงสร้างต่างๆของอาคารมีเสถียรภาพไม่จมลงในดินและไม่เกิดการทรุดตัวหรือเอนเอียง
2.เพื่อไม่ให้โครงสร้างอาคารทรุดตัวเนื้องจากการขุดดินใต้รากฐานของสิ่งก่อสร้าง
3.เพื่อเป็นตัวค้ำยันในการแก้ไขโครงสร้างอาคารหลัก
4.เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของทางโครงสร้างที่อยู่ลึกๆเช่นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน
5.เพื่อเพิ่มให้รากฐานสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มขนาด เช่น การเพิ่มชั้นของอาคาร
6.เพื่อทำให้อาคารที่ถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่นยังคงสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม
ข้อดีของ เสาเข็มไอ 22
1.ทำงานได้ในที่แคบ
2.มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดภาวะทางเสียง ไม่มีโคลน สะดวกต่อการใช้งาน
3.ตอกได้ตามความเป็นจริง
4.การรับน้ำหนักได้มากๆทำให้พื้นฐานโครงสร้างแข็งแรง
5.ตอกชิดผนังบ้านหรือติดกำแพงบ้านได้
วิธีเจาะเสาเข็ม
ถ้าจะใช้เสาเข็มเจาะ เราควรที่จะต้องรู้ข้อมูลของเสาเข็มวิธีการพื้นฐานและระบบการทำงานของเสาเข็มเจาะซะก่อน ส่วนใครที่ยังไม่รู้วิธีการสามารถศึกษาข้อมูลด้านล่างนี้จะมีอธิบายขั้นตอนของการเจาะเสาเข็มอย่างละเอียดที่ผ่านการดูแลโดยวิศวกรผู้ชำนาญการเพื่อให้ขั้นตอนการเจาะเสาเข็มนั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะมีตั้งแต่การเลือกใช้ การขุดเจาะ การเทคอนกรีต มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.เตรียมอุปกรณ์
ปรับติดตั้งสามขาให้อยู่ในแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม ใช้กระเช้าเจาะนำร่องให้ลึก 1 เมตร แล้วตอกหลักยึดให้แน่น
2.ขนาดของปลอกเหล็ก
นำปลอกเหล็กมาต่อกัน มีความยาวต่อท่อน 1.20เมตร ปลอกเหล็กทำงานผ่านชั้นดินอ่อนจนถึงชั้นที่ดินแข็งตัว ควรดูตำแหน่งให้ถูกต้อง เพื่อที่จะป้องกัน การพังทลายของผนังเจาะรู การที่จะไม่ให้เสาเข็มเอียง ควรจะรักษาตำแหน่งของปลอกเหล็กให้อยู่ที่จุดศูนย์กลางและแนวดิ่งเสมอ
3.อุปกรณ์ที่เจาะและการขุดดิน
นำกระเช้าเก็บดิน หย่อนลงไปในรูเพื่อตักดินออกมาเรื่อยๆทำซ้ำอัดจนกว่าดินจะเต็มกระเช้า แล้วนำดินมาเทออก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้ความลึกที่ต้องการ
-ตรวจสอบการพังของดิน ทีไม่ได้ใส่ปลอกเหล็กชั่วคราว ดูว่าผนังของดิน มีการยุบตัวหรือไม่ หรืออีกวิธีนึงก็คือดูจากชนิดของดินที่เก็บขึ้นมาได้ว่าไกล้เคียงกับความลึกหรือป่าว ถ้าเกิดเห็นว่าดินเคลื่อนพังควรแก้ไขโดยการนำปลอกเหล็กชั่วคราวตอกให้ลึกลงไปอีก
-ต้องนำดินที่เจอะขึ้นมา ย้ายออกมาข้างนอกบริเวณที่เจาะเสาเข็ม เพื่อที่จะได้ไม่รองรับน้ำหนักรอบข้าง ต่อเสาเข็มต้นต่อไป
4.ตรวจเสาเข็มก่อนใส่เหล็กเสริม
-การวัดจากสายสลิงกับความยาวของกระเช้าตักดินจะได้ความลึก
-ตราจที่ก้นหลุมดูว่ามีการยุบเข้าหรือมีน้ำซึมหรือไม่หากมองไม่เห็นถึงก้นหลุมก็ควรใช้ไฟส่อง ถ้าพบเห็นมีน้ำที่ก้นหลุม ต้องเทคอนกรีตแห้งลงไป จากนั้นกระทุ้งให้แน่นด้วยตุ้มเหล็ก
5.การใส่เหล็กเสริม
-ชนิดของเหล็กเสริม เหล็กเสริมข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD 30 มาตรฐาน ม.อ.ก.
-การที่เทคอนกรีตโครงเหล็กจะไม่ขยับไปไหน ควรใส่เหล็กเสริมหย่อนโครงเหล็กยึดให้แน่นและให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะ
6.การเทคอนกรีตชนิดของคอนกรีต
-ใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดประลัย 28 วัน เป็นคอนกรีตผสมโม่
-คอนกรีตทรงกระบอก f15 x 30 ซม. ไม่น้อยกว่า 210 กก / ซม2 ซีเมนต์ที่ใช้เป็น
-ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1
7.การถอดปลอกเหล็ก
เทคอนคอนกรีตให้สูงกว่าปลอกเหล็กพอสมควร ขั้นตอนต่อมาถอดปลอกเหล็ก ตอนถอดปลอกเหล็กออกต้องให้มีคอนกรีตอยู่ในปลอก ห้ามน้อยกว่า 0.50 ม. เป็นการป้องกันชั้นดินอ่อนบีบตัว จะทำให้เสาเจ็มเจาะเปลี่ยนไป ห้ามให้น้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะถอดเหล็กชั่วคราวออก ขั้นตอนต่อมาเตรียมคอนกรีต ต้องเผื่อคอนกรีต ให้สูงกว่าระดับที่ 30-40 ซม. และห้ามให้หัวเข็มสกปรก ป้องกันเศษดินหลังจากการถอดเหล็กออกแล้ว
std-serves รับเสาเข็มเจาะ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับเสาเข็มเจาะ ซ่อมแซม ออกเสาเข็มเจาะ ทุกรูปแบบ เสาเข็มเจาะ ให้ปลอดภัยโดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ เสาเข็มเจาะ ให้ปลอดภัย เสาเข็มโดยทั่วไปแยกสำคัญ 2 ประเภทกว้างๆ คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ รับเสาเข็มเจาะ ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
รู้จักเรา std-serves รับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
- ทีมช่างรับเสาเข็มเจาะ ซ่อมแซม ออกแบบเสาเข็มเจาะ ทุกรูปแบบ มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- ช่างรับเสาเข็มเจาะ โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-serves รับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจบริการรับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
ต้องที่ std-serves ช่างรับเสาเข็มเจาะ เท่านั้น
ช่างเข็มเจาะ สุขสำราญ
ช่างเข็มเจาะ กำพวน
ช่างเข็มเจาะ นาคา
ช่างเข็มเจาะ กระบุรี
ช่างเข็มเจาะ จ.ป.ร.
ช่างเข็มเจาะ น้ำจืด
ช่างเข็มเจาะ น้ำจืดน้อย
ช่างเข็มเจาะ บางใหญ่
ช่างเข็มเจาะ ปากจั่น
ช่างเข็มเจาะ มะมุ
ช่างเข็มเจาะ ลำเลียง
ช่างเข็มเจาะ กะเปอร์
ช่างเข็มเจาะ กะเปอร์
ช่างเข็มเจาะ บางหิน
ช่างเข็มเจาะ บ้านนา
ช่างเข็มเจาะ ม่วงกลวง
ช่างเข็มเจาะ เชี่ยวเหลียง
ช่างเข็มเจาะ ละอุ่น
ช่างเข็มเจาะ บางพระเหนือ
ช่างเข็มเจาะ บางพระใต้
ช่างเข็มเจาะ บางแก้ว
ช่างเข็มเจาะ ละอุ่นเหนือ
ช่างเข็มเจาะ ละอุ่นใต้
ช่างเข็มเจาะ ในวงเหนือ
ช่างเข็มเจาะ ในวงใต้
ช่างเข็มเจาะ เมือง
ช่างเข็มเจาะ ทรายแดง
ช่างเข็มเจาะ บางนอน
ช่างเข็มเจาะ บางริ้น
ช่างเข็มเจาะ ปากน้ำ
ช่างเข็มเจาะ ราชกรูด
ช่างเข็มเจาะ หงาว
ช่างเข็มเจาะ หาดส้มแป้น
ช่างเข็มเจาะ เกาะพยาม
ช่างเข็มเจาะ เขานิเวศน์