ฐานรากของโครงสร้างประกอบไปด้วยเสาเข็ม, ฐานราก (Footing) และตอม่อ เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน มองไม่เห็นแต่สำคัญมากที่สุด เมื่อโครงสร้างทรุดตัวโดยทั่วไปวิศวกรจะประเมินไว้ก่อนว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากเสาเข็มเกิดอาการทรุด
เร็วๆ นี้มีข่าวโครการบ้านจัดสรรแห่งหนึ่งเกิดทรุดตัวของถนนในโครงการและในบริเวณบ้าน ทั้งๆ ที่โครงการเพิ่งจะสร้างเสร็จและผู้ซื้อเพิ่งเข้าอยู่อาศัย ดูจากสาเหตุแล้วประเมินว่า “ที่ดินบริเวณก่อสร้าง” อาจเป็นที่ถมใหม่และเร่งก่อสร้างทันที แบบนี้ก่อนซื้อต้องสืบเสาะหาข้อมูลดีๆ เเต่วันนี้จะมาโฟกัสเรื่องบ้านทรุดเป็นหลัก เอาคร่าวๆ ไม่ลงรายละเอียดลึก
ทำไมเสาเข็มถึงเกิดการทรุดตัวได้
สาเหตุการทรุดตัวของโครงสร้างบ้านเกิดจากฐานรากทรุดตัว เมื่อโครงสร้างเกิดการทรุดตัวโดยทั่วไปวิศวกรจะประเมินไว้ก่อนว่าน่าจะมาจาก “เสาเข็มทรุด”
กรณีแรก : เกิดแรงเสียดทานของดินรอบผิวสัมผัสของเสาเข็มในกรณีของบ้านขนาดเล็ก วิศวกรจะใช้คุณสมบัติในเรื่องแรงเสียดทานของเสาเข็มเป็นค่าสำหรับการรับน้ำหนัก ดังนั้นเสาเข็มของบ้านขนาดเล็กก็อาจจะยาวเพียง 12-18 เมตรเท่านั้น ปัญหาทรุดตัวเกิดจากตรงนี้ได้
“ถ้าหากเสาเข็มสั้นเกินไปเเรงเสียดทานก็ไม่พอที่จะต้านน้ำหนักโครงสร้างได้ เสาเข็มก็จะทรุดตัวลง โครงสร้างบ้านก็จะทรุดตัว”
ปัญหายอดฮิตมักเกิดขึ้นกับพื้นที่ต่อเติม (มักจะเป็นครัว ซึ่งทำในภายหลัง และใช้เสาเข็มสั้นกว่าเสาเข็มโครงสร้างเดิม) ทำให้เกิดการแตกแยกและทรุดตัวของครัวที่ต่อเติม เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ทางป้องกันมี คือการได้รับการออกแบบโดยการคำนึงถึงการทรุดตัวที่ต่างกันและหาวิธีลดความเสียหาย
ตัวอย่างเช่น
พื้นดินที่ก่อสร้างเคยเป็นบึงน้ำเก่าที่อาจมีความลึกมากกว่า 5 เมตร แต่ได้ถมดินเพื่อการก่อสร้างโครงการ และวิศวกรได้ออกแบบให้ใช้เสาเข็มที่มีความยาว 12-18 เมตร ซึ่งหากไม่ใช่ดินบ่อน้ำเก่าที่ถมขึ้นมาก็น่าจะเพียงพอที่จะสร้างแรงเสียดทานต่อผิวเสาเข็มได้ แต่เนื่องจากเป็นดินถมความลึกประมาณ 5 เมตร ดินที่ถมใหม่ยังมีความหลวมอยู่ แรงเสียดทานที่จะเกิดกับเสาเข็มก็จะหายไปถึง 5 เมตร ดังนั้นเมื่อสร้างเสร็จก็อาจเริ่มทรุดได้แล้ว
กรณีที่ 2 : การรับน้ำหนักของเสาอาคารขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก
แบบนี้วิศวกรจะออกแบบให้ปลายเสาเข็มมีความยาวจนถึงระดับชั้นดินเเข็ง เพื่อเป็นเหมือนพื้นแข็งให้เสาเข็มตั้งอยู่ได้ และไม่ให้เสาเข็มเกิดอาการทรุดตัวเหมือนกรณีเเรก เสาเข็มของโครงสร้างขนาดใหญ่ยังมีแรงเสียดทานของดินและยังช่วยรับน้ำหนักอีกได้มากด้วย เสาเข็มแบบนี้จะเห็นตามอาคารขนาดใหญ่ที่มีความสูงและจำนวนชั้นมาก เสาเข็มที่รับน้ำหนักอาจยาวถึง 50-60 เมตร สำหรับชั้นดินบริเวณกรุงเทพฯ และต้องใช้วิธีเจาะแทนการตอก
เรื่องสาเหตุบ้านทรุดและการรับน้ำหนักของเสาเข็มถือว่าเป็นความรู้คร่าวๆ พอให้เห็นภาพและเป็นประโยชน์
std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ แก้บ้านทรุดเอียง ปัญหาที่เจอบ่อยๆ มักเกิดจาก... ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ เสาเข็มแตกหัก ดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุด รอยแตกร้าวบนตัวบ้าน พื้นดินยุบเป็นโพรง ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
รู้จักเรา std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
- ทีมช่างแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-serves แก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจบริการช่างแก้บ้านทรุดเอียง
ต้องที่ std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง เท่านั้น
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง มหาพฤฒาราม
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง สีลม
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง แขวงสี่พระยา
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง แขวงสุริยวงศ์