รู้จักเรา STD House ต่อเติมหน้าบ้าน
- ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านงานต่อเติมหลังบ้าน มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- รับซ่อมแซมงานก่อสร้างทุกรูปแบบ
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย STD House ช่างต่อเติมหลังบ้าน
ต่อเติมบ้านอย่างไรดี ? ไม่ให้มีปัญหาตามมา
หลายๆคนคงจะเคยได้ยินข่าวความเสียหายจากการต่อเติมบ้านกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้านทรุด , การแตกร้าว หรือ น้ำรั่วซึม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของการอยู่อาศัยเลยทีเดียวใช่มั้ยคะ สำหรับใครที่กำลังจะต่อเติมบ้านแล้วคิดว่าต่อเติมนิดๆหน่อยๆคงไม่เป็นอะไรมากนั้น วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับข้อควรระวังต่างๆในการต่อเติม รวมถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและโครงสร้าง เพื่อให้บ้านของเราเมื่อต่อเติมไปแล้วนั้นไม่มีปัญหาบานปลายค่ะ ช่างต่อเติมหน้าบ้าน
การต่อเติมบ้านนั้นถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับตัวบ้าน เมื่อเราอยู่ไปซักระยะนึง เราอาจจะอยากปรับเปลี่ยนหรืออยากได้พื้นที่มากขึ้น รวมถึงการขยายครอบครัวด้วยนะคะ หลายๆคนก็ลองทำแบบงูๆปลาๆจ้างช่างมาต่อเติมเลย หรือบางครอบครัวก็ค่อยๆต่อเติมไปเรื่อยๆโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้าง จากสิ่งที่เรากล่าวมา อาจจะทำให้มีปัญหาในการต่อเติมตามมาได้ค่ะ ก่อนที่จะทำการต่อเติม เรามาดูกันก่อนว่าโดยปกติแล้วเราสามารถต่อเติมบ้านตรงไหนได้บ้าง ถ้าแบ่งตามที่คนนิยมทำกันจะมีอยู่ 4 ส่วนด้วยกันคือ
- ต่อเติมหน้าบ้าน เพื่อทำหลังกันสาด, หลังคาที่จอดรถ
- ต่อเติมข้างบ้าน เพื่อทำเป็นห้องอเนกประสงค์
- ต่อเติมหลังบ้าน เพื่อทำเป็นครัวไทย
- ต่อเติม ปรับปรุงพื้นที่ภายในบ้าน เช่น กั้นห้องเพิ่ม, ทุบผนังห้องออก
โดยการต่อเติมแต่ละแบบนั้นจะมีปัจจัยให้คำนึงหลากหลาย เราจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับโครงสร้างบ้านเดิมที่เราอยู่ก่อนค่ะ ว่าคืออะไรจะได้ทำการต่อเติมได้ถูกต้องและไม่มีผลกระทบกับโครงสร้าง สำหรับการต่อเติมภายนอกบ้านจะมีเรื่องของกฎหมายมาประกอบด้วย ซึ่งจะมีอะไรบ้างเราไปดูกันเลยค่ะ
1.ต่อเติมอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
กฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรจะมองข้ามในการต่อเติมบ้าน หากเราทำการต่อเติมไปแล้วผิดกฎหมายก็จะเดือดร้อนต้องมาทุบทิ้งกัน หรืออาจจะเกิดการร้องเรียนขึ้นทำให้เป็นปัญหาใหญ่ตามมา ทำให้เราเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อเติมบ้านนั้นหลักๆแล้วก็จะมีเรื่องระยะต่างๆรอบตัวบ้าน ดังนี้
ระยะห่างระหว่างอาคาร
การต่อเติมอาคารชั้นเดียว หรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่นการต่อเติมพื้นที่ครัวด้านหลังบ้าน , ต่อเติมห้องด้านข้างรวมถึงลานจอดรถนั้น จะมีข้อกำหนดเรื่องระยะห่างของผนังและที่ดินบ้านข้างเคียง ดังนี้
- ผนังที่มีช่องเปิด ( เช่น หน้าต่าง, ช่องลมระบายอากาศ, ช่องแสง หรือบล็อคแก้ว) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
- ผนังทึบ (ไม่มีช่องแสง) ควรมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
สำหรับหมู่บ้านจัดสรรโดยทั่วไปแล้ว เราสามารถเจรจากับเพื่อนบ้านด้านข้างฝั่งที่เราต่อเติม ถ้าเพื่อนบ้านยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร เราก็สามารถสร้างชิดแนวเขตที่ดินได้ค่ะ
ระยะชายคา, กันสาด
การต่อเติมชายคา (ที่พื้นที่ด้านบนไม่สามารถขึ้นไปใช้งานได้) จะต้องเว้นระยะจากชายคา จนถึงแนวเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เช่นเดียวกันกับการต่อเติมผนังทึบค่ะ
ระยะระเบียงชั้นบน
การต่อเติมระเบียงชั้นบน หรือหลังคาที่สามารถขึ้นไปใช้งานด้านบนได้ จะต้องเว้นระยะจากระเบียง จนถึงแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เช่นเดียวกับการต่อเติมผนังที่มีช่องเปิดค่ะ
ระยะห่างจากถนนสาธารณะ
สำหรับใครที่อยากจะต่อเติมบ้านออกมาทางด้านหน้าจะเป็นห้องอเนกประสงค์หรือห้องอื่นๆก็ดี จะต้องคำนึงถึงกฎหมายดังนี้ อาคารพักอาศัยที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 10 เมตร และพื้นที่รวมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร จะมีกฏหมายบังคับเกี่ยวกับแนวร่นอาคารจาก ทางสาธารณะ ดังนี้
ถ้าถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6.00 เมตร ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลาง ถนนสาธารณะ อย่างน้อย 3.00 เมตร
ถ้าถนนสาธารณะกว้างมากกว่าง 6.00 เมตร ริมแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะ
อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 0.50 เมตร
อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น, พื้นที่เกิน 300 ตารางเมตร ร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 1.00 เมตร
ทำความรู้จักโครงสร้างภายนอกบ้าน
การต่อเติมพื้นที่ด้านนอกบ้านส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือโครงสร้างพื้นและเสาเข็มค่ะ โดยปกติแล้วบ้านจัดสรรมักจะทำการเทพื้นบริเวณที่จอดรถและลานซักล้างด้านหลังบ้านมาให้ ส่วนใหญ่เป็นการเทคอนกรีตเสริมเหล็กแบบบนดิน (Slab On Ground) หรือ บนคาน (Slab on Beam) ที่ลงเสาเข็มมาให้ด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดี–ข้อเสียแตกต่างกันไป
พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab On Ground)
Slab On Ground เป็นพื้นคอนกรีตหล่อบนพื้นดินหรือทรายบดอัด ไม่มีคานรองรับ มักใช้สำหรับพื้นชั้นล่าง ส่วนใหญ่มักใช้ทำพื้นของที่จอดรถ การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรงโดยกระกระจายแรง ดังนั้นการบดอัดดินหรือทรายให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่ทำให้ดินแน่นก่อนคอนกรีตอาจแตกจากการทรุดตัวได้ พื้นคอนกรีตวางบนดินนี้ ต้องอยู่อย่างอิสระจากโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เพราะมีอัตราการทรุดตัวตามดินที่สูงค่ะ หากจำเป็นต้องมีส่วนที่ติดกันควรจะแยกรอยต่อ โดยการคั่นด้วยแผ่นโฟม หรือออกแบบลดระดับพื้นบริเวณขอบพื้นโดยรอบ หรือจะวางหินกรวดตกแต่งอย่างที่บ้านจัดสรรนิยมทำให้เพื่อปกปิดรอยต่อก็ได้เช่นกันค่ะ
โดยโครงสร้างส่วนใหญ่ของลานจอดรถนั้นเป็นระบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) เป็นการเพิ่มความสามารถของคอนกรีตให้รับแรงได้มากขึ้นโดยใช้เหล็กเข้ามาช่วยนั่นเองค่ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กจะสามารถรับน้ำหนักได้ 200 – 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร สำหรับลานจอดรถขนาดมาตรฐาน 1 คันนั้น จะมีขนาด 2.40 x 5.00 เมตร หรือประมาณ 12 ตารางเมตร รถเก๋ง 1 คัน จะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 – 1,500 กิโลกรัม ต่อคัน , รถกระบะ 1 คัน น้ำหนักประมาณ 1,500 – 1,600 กิโลกรัม ต่อคัน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้พื้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน
พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab On Beam)
เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คานโดยตรง นิยมใช้ในบ้านและอาคารทั่วไป ลักษณะการถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้มี 2 แบบนะคะ คือ
– พื้นทางเดียว (One Way Slab)
– พื้นสองทาง (Two Way Slab)
พื้นคอนกรีตวางบนคานอาจเป็นได้ทั้งพื้นคอนกรีตหล่อในที่หรือพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปก็ได้ค่ะ แต่สำหรับพื้นส่วนเปียกอย่างเช่น ห้องน้ำ พื้นระเบียงนอกบ้าน ซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วซึม ควรใช้เป็นพื้นคอนกรีตหล่อในที่จะสามารถทนต่อความชื่นได้มากกว่าพื้นสำเร็จรูปค่ะ
โครงสร้างเสาเข็ม ( Pile )
ต่อมาสิ่งที่สำคัญสำหรับการต่อเติมบ้านก็คือเสาเข็ม โดยเสาเข็มเป็นโครงสร้างที่เสริมการรับน้ำหนักและป้องกันการทรุดตัว โดยมีหลักการคือช่วยเพิ่มแรงต้านน้ำหนักของตัวบ้านหรือพื้นที่ส่วนต่อเติม ไม่ให้ทรุดตัวลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและความลึกของเสาเข็มด้วยค่ะ ถ้าเสาเข็มนั้นสั้นไม่ถึงชั้นดินแข็งจะมีเพียงแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวเสาเข็มกับดิน (Skin Friction) แต่ถ้าเสาเข็มนั้นลึกถึงชั้นดินแข็งก็จะมีแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) เพิ่มขึ้นค่ะ และอีกอย่างที่ควรคำนึงถึงนั่นก็คือความแข็งของชั้นดินในแต่ละพื้นที่ ถ้าบ้านใครมีที่ดินอยู่ใกล้กับน้ำ หรือดินพึ่งถมมาไม่นาน(ไม่เกิน 2 ปี) ดินจะไม่แน่นมากทำให้มีโอกาสทรุดตัวมากกว่า จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ลึกขึ้นค่ะ ดังนั้นเบื้องต้นเราจึงควรรู้ว่าบ้านของเราใช้เสาเข็มอะไร ถ้าเราซื้อบ้านจากโครงการแนะนำว่าให้ถามก่อนซื้อหรือตัดสินใจต่อเติม ถ้าเป็นบ้านที่สร้างเองก็ควรถามวิศวกรหรือผู้ออกแบบเอาไว้ เราจะได้มีข้อมูลสำหรับการต่อเติมในอนาคต
ทำความรู้จักโครงสร้างภายในบ้าน
นอกจากโครงการต่างๆที่อยู่ภายนอกบ้านแล้ว โครงสร้างในบ้านก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการต่อเติมในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการกั้นผนัง ซึ่งถ้าเราไม่รู้แลยว่าผนังบ้านเราทำจากอะไรแล้วเกิดไปเจาะ ทุบ ในส่วนที่เป็นโครงสร้างหลักก็อาจจะทำให้บ้านเราเสียหายได้ โดยโครงสร้างภายในบ้านที่เราต้องดูมีดังนี้
ผนังภายในบ้าน
การต่อเติมเพิ่มห้องหรือลดจำนวนห้องภายในบ้านนั้นจำเป็นจะต้องทราบโครงสร้างของผนังภายในบ้าน เนื่องจากผนังบางชนิดสามารถต่อเติมได้ไม่มีปัญหา แต่บางชนิดไม่สามารถทุบหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยส่วนใหญ่แล้วในบ้านจัดสรรมักมีโครงสร้างผนังภายใน ดังนี้
ผนังก่ออิฐฉาบปูน
ผนังก่ออิฐ คือ การนำอิฐมาประสานต่อกันโดยมีปูนก่อเป็นตัวเชื่อมนั่นเองค่ะ เมื่อก่อเสร็จแล้วจะมีการฉาบปูนให้ผนังมีนั้นเรียบสวยงาม ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญ ผนังก่ออิฐมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อิฐมอญ, อิฐมวลเบา, อิฐขาว, ซีเมนต์บล็อก หรืออิฐประสาน และวิธีการก่อสร้างมีทั้งก่อแบบเต็มแผ่นและก่อแบบครึ่งแผ่น
ผนังก่ออิฐนั้นมีน้ำหนักมาก ประมาณ 60-180 กิโลกรัม/ตารางเมตร (ขึ้นอยู่กับชนิดของอิฐ) ทำให้ต้องก่อผนังตามแนวคานเท่านั้น แต่เป็นผนังที่มีความแข็งแรงใช้งานได้ทั้งภายใน, ภายนอก รวมถึงพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วย สามารถตกแต่งพื้นผิวได้หลายรูปแบบ และสามารถเจาะช่องเปิดได้ค่ะ ทำให้บ้านที่มีโครงสร้างแบบก่ออิฐมีอิสระในการเลือกตกแต่ง, เจาะแขวน, ต่อเติม ได้มากกว่าแบบอื่นๆ
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน อ่าวอุดม
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน อ่าวอุดม
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน บ้านทุ่ง
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน แหลมฉบัง
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน นาเก่า
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน เขาน้ำซับ
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน ตลาดอ่าวอุดม
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน ชากยายจีน
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน มโนรม
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน แหลมทอง
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน ห้วยเล็ก
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน วัดพระประทานพร
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน หนองมะนาว
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน บ้านนาใหม่
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน หนองพังพวย
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน ทุ่งกราด
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน บางละมุง
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน หนองขาม
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน ชากกระปอก
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน จุกกะเฌอ
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน บ้านไร่หนึ่ง
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน หนองคล้าใหม่
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน เศรษฐีในฝัน
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน หนองคล้าเก่า