STD House ช่างต่อเติมหลังบ้าน ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับต่อเติม ซ่อมแซม ออกแบบงานก่อสร้าง ต่อเติมหน้าบ้านทุกรูปแบบ
รู้จักเรา STD House ต่อเติมหลังบ้าน
- ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านงานต่อเติมหลังบ้าน มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- รับซ่อมแซมงานก่อสร้างทุกรูปแบบ
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย STD House ช่างต่อเติมหลังบ้าน
ต่อเติมห้องครัว หลังบ้าน
การต่อเติมพื้นที่ด้านนอกบ้านส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก็คือโครงสร้างพื้นและเสาเข็มค่ะ โดยปกติแล้วบ้านจัดสรรมักจะทำการเทพื้นบริเวณที่จอดรถและลานซักล้างด้านหลังบ้านมาให้ ส่วนใหญ่เป็นการเทคอนกรีตเสริมเหล็กแบบบนดิน (Slab On Ground) หรือ บนคาน (Slab on Beam) ที่ลงเสาเข็มมาให้ด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดี–ข้อเสียแตกต่างกันไป
พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab On Ground)
Slab On Ground เป็นพื้นคอนกรีตหล่อบนพื้นดินหรือทรายบดอัด ไม่มีคานรองรับ มักใช้สำหรับพื้นชั้นล่าง ส่วนใหญ่มักใช้ทำพื้นของที่จอดรถ การถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรงโดยกระกระจายแรง ดังนั้นการบดอัดดินหรือทรายให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่ทำให้ดินแน่นก่อนคอนกรีตอาจแตกจากการทรุดตัวได้ พื้นคอนกรีตวางบนดินนี้ ต้องอยู่อย่างอิสระจากโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เพราะมีอัตราการทรุดตัวตามดินที่สูงค่ะ หากจำเป็นต้องมีส่วนที่ติดกันควรจะแยกรอยต่อ โดยการคั่นด้วยแผ่นโฟม หรือออกแบบลดระดับพื้นบริเวณขอบพื้นโดยรอบ หรือจะวางหินกรวดตกแต่งอย่างที่บ้านจัดสรรนิยมทำให้เพื่อปกปิดรอยต่อก็ได้เช่นกันค่ะ
โดยโครงสร้างส่วนใหญ่ของลานจอดรถนั้นเป็นระบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) เป็นการเพิ่มความสามารถของคอนกรีตให้รับแรงได้มากขึ้นโดยใช้เหล็กเข้ามาช่วยนั่นเองค่ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กจะสามารถรับน้ำหนักได้ 200 – 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร สำหรับลานจอดรถขนาดมาตรฐาน 1 คันนั้น จะมีขนาด 2.40 x 5.00 เมตร หรือประมาณ 12 ตารางเมตร รถเก๋ง 1 คัน จะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 – 1,500 กิโลกรัม ต่อคัน , รถกระบะ 1 คัน น้ำหนักประมาณ 1,500 – 1,600 กิโลกรัม ต่อคัน ซึ่งเพียงพอต่อการใช้พื้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน
พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab On Beam)
เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่คานโดยตรง นิยมใช้ในบ้านและอาคารทั่วไป ลักษณะการถ่ายน้ำหนักของพื้นประเภทนี้มี 2 แบบนะคะ คือ
– พื้นทางเดียว (One Way Slab)
– พื้นสองทาง (Two Way Slab)
พื้นคอนกรีตวางบนคานอาจเป็นได้ทั้งพื้นคอนกรีตหล่อในที่หรือพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปก็ได้ค่ะ แต่สำหรับพื้นส่วนเปียกอย่างเช่น ห้องน้ำ พื้นระเบียงนอกบ้าน ซึ่งเสี่ยงต่อการรั่วซึม ควรใช้เป็นพื้นคอนกรีตหล่อในที่จะสามารถทนต่อความชื่นได้มากกว่าพื้นสำเร็จรูปค่ะ
โครงสร้างเสาเข็ม ( Pile )
ต่อมาสิ่งที่สำคัญสำหรับการต่อเติมบ้านก็คือเสาเข็ม โดยเสาเข็มเป็นโครงสร้างที่เสริมการรับน้ำหนักและป้องกันการทรุดตัว โดยมีหลักการคือช่วยเพิ่มแรงต้านน้ำหนักของตัวบ้านหรือพื้นที่ส่วนต่อเติม ไม่ให้ทรุดตัวลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและความลึกของเสาเข็มด้วยค่ะ ถ้าเสาเข็มนั้นสั้นไม่ถึงชั้นดินแข็งจะมีเพียงแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวเสาเข็มกับดิน (Skin Friction) แต่ถ้าเสาเข็มนั้นลึกถึงชั้นดินแข็งก็จะมีแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) เพิ่มขึ้นค่ะ และอีกอย่างที่ควรคำนึงถึงนั่นก็คือความแข็งของชั้นดินในแต่ละพื้นที่ ถ้าบ้านใครมีที่ดินอยู่ใกล้กับน้ำ หรือดินพึ่งถมมาไม่นาน(ไม่เกิน 2 ปี) ดินจะไม่แน่นมากทำให้มีโอกาสทรุดตัวมากกว่า จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มที่ลึกขึ้นค่ะ ดังนั้นเบื้องต้นเราจึงควรรู้ว่าบ้านของเราใช้เสาเข็มอะไร ถ้าเราซื้อบ้านจากโครงการแนะนำว่าให้ถามก่อนซื้อหรือตัดสินใจต่อเติม ถ้าเป็นบ้านที่สร้างเองก็ควรถามวิศวกรหรือผู้ออกแบบเอาไว้ เราจะได้มีข้อมูลสำหรับการต่อเติมในอนาคต
เสาเข็มเดิมของภายในบ้านทั่วไปที่นิยมใช้ แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete pile)
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นที่นิยมมากที่สุดในอาคารพักอาศัย เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูงค่ะ ใช้วิธีการตอกลงไปในดิน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากและราคาไม่แพง “แต่เวลาตอกจะเกิดแรงสั่นสะเทือน” แบ่งย่อยออกตามลักษณะรูปทรงหลากหลาย เช่น
เสาเข็มรูปตัวไอ (มักใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักตัวบ้าน)
เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
เสาเข็มรูปตัวที
เสาเข็มเจาะ (bored pile)
เสาเข็มเจาะนั้นต้องใช้เครื่องมือเจาะลงบนที่ดินบนพื้นที่ใช้งานเลย จากนั้นจึงใส่เหล็กและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม จะมีกรรมวิธีก่อสร้างที่ยุ่งยาก และใช้เวลามากกว่า เหมาะกับงานที่ต้องการรับน้ำหนักสูง “แต่จะไม่เกิดแรงสั่นสะเทือนเวลาติดตั้ง” และมีข้อจำกัดเรื่องขนาดกับความลึกน้อยกว่า รับน้ำหนักได้มากกว่า ส่วนราคานั้นจะแพงและมีขั้นตอนการติดตั้งยากกว่า
เสาเข็มเจาะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก( small diameter bored pile ) เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร ความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง ( dry process )โดยใช้เครื่องมือขุดเจาะธรรมดา วิธีการไม่ยุ่งยากซับซ้อน
เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่( large diameter bored pile ) เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก ( wet process ) ซึ่งจะมีความยุ่งยาก และหน้างานเลอะเทอะมากกว่าค่ะ
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (prestressed concrete spun pile)
โดยทั่วไปแล้วจะเรียกกันว่าเสาเข็มสปัน ผลิตโดยการใช้ กรรมวิธีปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา มีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง ฝังโครงลวดเหล็กอัดแรง การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดาและแบบกด เนื่องจากตรงกลางกลวงช่วยลดแรงสั่นสะเทือนเวลาตอกได้ค่ะ ช่วยให้ไม่สะเทือนกระทบต่อโครงสร้างเดิมเท่าเสาเข็มอัดแรงธรรมดา
หากเป็นการต่อเติมบ้านทั้งส่วนลานจอดรถเองหรือครัวด้านหลังบ้านนั้นแน่นอนว่าการใช้เสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งจะทำให้โครงสร้างนั้นแข็งแรงกว่า แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้วการใช้เสาเข็มลึกจะต้องมีพื้นที่และเครื่องมือที่ยุ่งยากมากกว่า เสียค่าใช้จ่ายแพงกว่า จึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละบ้านค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้วในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนต่อเติมมักใช้เข็มความยาวประมาณ 3 – 6 เมตร (แต่ชั้นดินแข็งของกรุงเทพฯจะอยู่ลึกประมาณ 17 – 23 เมตร) อาจจะมีการทรุดตัวได้ในอนาคตแต่ก็จะน้อยกว่าพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดินแน่นอนค่ะ
ทำความรู้จักโครงสร้างภายในบ้าน
นอกจากโครงการต่างๆที่อยู่ภายนอกบ้านแล้ว โครงสร้างในบ้านก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการต่อเติมในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการกั้นผนัง ซึ่งถ้าเราไม่รู้แลยว่าผนังบ้านเราทำจากอะไรแล้วเกิดไปเจาะ ทุบ ในส่วนที่เป็นโครงสร้างหลักก็อาจจะทำให้บ้านเราเสียหายได้ โดยโครงสร้างภายในบ้านที่เราต้องดูมีดังนี้
ผนังภายในบ้าน
การต่อเติมเพิ่มห้องหรือลดจำนวนห้องภายในบ้านนั้นจำเป็นจะต้องทราบโครงสร้างของผนังภายในบ้าน เนื่องจากผนังบางชนิดสามารถต่อเติมได้ไม่มีปัญหา แต่บางชนิดไม่สามารถทุบหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยส่วนใหญ่แล้วในบ้านจัดสรรมักมีโครงสร้างผนังภายใน ดังนี้
ผนังก่ออิฐฉาบปูน
ผนังก่ออิฐ คือ การนำอิฐมาประสานต่อกันโดยมีปูนก่อเป็นตัวเชื่อมนั่นเองค่ะ เมื่อก่อเสร็จแล้วจะมีการฉาบปูนให้ผนังมีนั้นเรียบสวยงาม ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญ ผนังก่ออิฐมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อิฐมอญ, อิฐมวลเบา, อิฐขาว, ซีเมนต์บล็อก หรืออิฐประสาน และวิธีการก่อสร้างมีทั้งก่อแบบเต็มแผ่นและก่อแบบครึ่งแผ่น
ผนังก่ออิฐนั้นมีน้ำหนักมาก ประมาณ 60-180 กิโลกรัม/ตารางเมตร (ขึ้นอยู่กับชนิดของอิฐ) ทำให้ต้องก่อผนังตามแนวคานเท่านั้น แต่เป็นผนังที่มีความแข็งแรงใช้งานได้ทั้งภายใน, ภายนอก รวมถึงพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วย สามารถตกแต่งพื้นผิวได้หลายรูปแบบ และสามารถเจาะช่องเปิดได้ค่ะ ทำให้บ้านที่มีโครงสร้างแบบก่ออิฐมีอิสระในการเลือกตกแต่ง, เจาะแขวน, ต่อเติม ได้มากกว่าแบบอื่นๆ
ผนังสำเร็จรูป ( Precast )
ในปัจจุบันโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมนั้นนิยมใช้การก่อสร้างแบบ Precast กันมากเลยนะคะ Precast นั้นเป็นระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ทำให้ควบคุมคุณภาพได้ง่าย ไม่ต้องมากังวลว่าช่างมีฝีมือไหม ชิ้นส่วนต่างๆมีสัดส่วน และช่องเปิด รวมถึงท่องานระบบที่คำนวณมาให้เหมาะกับการใช้งานเรียบร้อยแล้ว และสามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว เหมือนกับตัวต่อเลโก้ ที่ขนส่งมาเป็นชิ้นๆและประกอบกันได้เลยที่หน้างานค่ะ
โดยส่วนใหญ่แล้วผนังของโครงสร้างแบบ Precast มักเป็นผนังรับน้ำหนักที่ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและผนัง ทำให้มีความแข็งแรง รับแรงด้านข้างได้มากกว่าระบบก่อ แต่ก็ทำให้มีข้อจำกัดด้านการเจาะช่องเปิด และไม่สามารถทุบผนังบางส่วนทิ้งได้ เนื่องจากผนังทำหน้าที่เป็นโครงสร้างด้วยนั่นเองค่ะ ทำให้ไม่เหมาะกับการต่อเติมหรือดัดแปลง
เมื่อเราทราบโครงสร้างเดิมของบ้านแล้วก็มาถึงขั้นตอนในการต่อเติมค่ะ สำหรับการต่อเติมแนะนำว่าให้ทำการคุยขอบเขตกับผู้รับเหมาหรือผู้ออกแบบให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันการทำงานไปเรื่อยๆไม่มีแผนงานซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายได้ โดยส่วนต่างๆในบ้านที่เรามักทำการต่อเติมได้แก่
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ถนนสุขุมวิท
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านทางด่วนบางนา อาจณรงค์
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยสุขุมวิท 54 (รัตนพราหมณ์)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ซอยสุขุมวิท 62 (สามภพนฤมิตร)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยสุขุมวิท 62/1 (อู่รถเมล์ขาว)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยสุขุมวิท 64 (พงษ์เวชอนุสรณ์)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยสุขุมวิท 93 (พึ่งมี)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยพึ่งมี 50 (นิรันดร์วิลล่า)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยสุขุมวิท 101 (ปุณณวิถี)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยวชิรธรรมสาธิต 70 (สุภาพงษ์)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยอ่อนนุช 44 / ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยพึ่งมี 29 (วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยวชิรธรรมสาธิต 23 (จุฬา 2)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยปุณณวิถี 28 (สาธิตพัฒนา)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยปุณณวิถี 30 / ซอยวชิรธรรมสาธิต 25 (จุฬา 3)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านซอยอุดมสุข 51 (ประวิทย์และเพื่อน)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านวัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านวัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่ง)
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านสวนนกโรงกลั่นบางจาก
ช่างต่อเติมหลังบ้าน ย่านโครงการอนุรักษ์ขนมไทย