7. นอนหลับให้เพียงพอ
การนอนหลับให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเรื่องที่สำคัญ? ที่จะช่วยให้เราได้พักผ่อน และมีแรงเพื่อทำงาน และจัดการกับชีวิตในวันรุ่งขึ้น
การนอนหลับไม่เพียงพอต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะมีผลต่อสุขภาพกายของเรา และอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ด้วยเช่นกัน
8. ดูแลตัวเอง
การรักตัวเองและหมั่นดูแลตัวเอง เป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่จำเป็นต้องรอให้ใครมาบังคับหรือทำให้
เราควรแบ่งเวลาในการดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การกินอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลรูปร่างของเราโดย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจ เช่น หางานอดิเรก
ที่เราชอบทำ ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
9. อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกว่า เรากำลังมีปัญหาด้านสุขภาพจิต นอกจากจะขอความช่วยเหลือจากคนที่เรารักและไว้ใจ การขอความช่วยเหลือหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการดูแลรักษาจิตใจ
ตัวเอง ซึ่งก็เหมือนกับเวลาที่เราเจ็บป่วยและไปหาหมอเช่นกัน
การมีสุขภาพที่ดีเป็นหนึ่งในข้อสำคัญของชีวิตคนเรา ซึ่งไม่ได้ถึงร่างกายภายนอกเท่านั้น สุขภาพทางด้านจิตใจก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากเรามีสุขภาพจิตใจที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลต่อภาวะอารมณ์ในการจัดการกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างดี สำหรับวิธีการสร้างสุขภาพจิตที่ดีก็ทำได้ไม่ยาก เรามาดูกันค่ะว่ามีวิธีไหนบ้าง
ฝึกทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส มองโลกในแง่ดี ฝึกเป็นคนสุขุมรอบคอบ ไม่ใจร้อน โกรธง่าย ไม่เอาจริงเอาจังกับทุกอย่างจนเกินไป ไม่หวั่นไหวง่าย ไม่ควรหมกมุ่นกับเรื่องไร้สาระ
เสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือเพื่อนฝูง สังคมล้อมรอบเรา เปิดใจความรู้สึกของตนเอง และเข้าใจถึงจิตใจของผู้อื่น รู้จักให้เวลาตนเอง และคนสำคัญในชีวิต ให้มีเวลา กิจกรรม ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ดูแลรักษาสุขภาพทั้งกายและจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อมีความเครียดทางจิตใจหรือมีปัญหา ควรหาโอกาสผ่อนคลาย ด้วยการทำงานอดิเรก ออกกำลังกายจะทำให้มีจิตใจที่สบายขึ้น
เรียนรู้วิธีเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง มุ่งเน้นจัดการความคิดในเชิงบวก ควรมีเวลาแต่ละวันในการทำสมาธิ เพื่อที่จะได้เข้าใจสภาวะจิตใจในแต่ละช่วงขณะ ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนเริ่มหันมาสนใจและใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพจิตกันมากขึ้น รวมถึงปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นกับทุกช่วงวัยด้วย แล้วปัจจุบัน “สุขภาพจิต” ของคนในสังคมเป็นอย่างไรนั้น อาจารย์ ดร.จารุวรรณ สกุลคู สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองถึงสถานการณ์สุขภาพจิตของคนไทยในปัจจุบันว่า ปัจจุบันคนเริ่มตื่นตัวและใส่ใจเรื่องของสุขภาพจิตกันมากขึ้น รวมถึงมีคนออกมาพูดถึงปัญหากันมากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากคนมีความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตและมีการเปิดรับที่มากขึ้น คนกล้าที่จะเข้ามารับการรักษาหรือเข้ามาพูดคุยมากขึ้นด้วย โดยเรามีจำนวนคนที่ไม่ได้ป่วยในปริมาณที่เยอะกว่าคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตจริง ๆ ซึ่งถ้าเปรียบกับ “พีระมิด” ส่วนบนสุดเป็นจุดที่มีคนป่วยจริง แต่คนส่วนใหญ่อยู่ในส่วนฐานล่างยังคงมีสุขภาพจิตดีที่อยู่
ส่วนปัญหาของความเครียดมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัว หรือบางครั้งอาจมีเหตุการณ์ความผันผวนในชีวิต ความเครียด ความกดดันกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในสังคม ที่ทำให้คนในกลุ่มที่ไม่ได้ป่วยเกิดปัญหาความเครียด อารมณ์เศร้า ความวิตกกังวล กลายเป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้ และถ้าความเครียดเหล่านั้นไม่ได้รับการดูแลรักษาก็อาจนำไปสู่การเป็นโรคทางจิตเวชได้
นอกจากนี้ สุขภาพจิตในวัยทำงาน เป็นวัยที่มักเจอกับความกดดันในหน้าที่ความรับผิดชอบต่าง ๆ การหาความสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ปัจจัยเหล่านี้ก็อาจไปเพิ่มความเครียด และความกดดันด้วยเช่นกัน และยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คนมีปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาทางการเงิน คนตกงานเยอะ รวมถึงการใช้ชีวิตของแต่ละคนที่มีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างกัน เช่น การเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือเติมโตท่ามกลางความรุนแรง โอกาสในการเข้าถึงสาธารณสุข และการศึกษา สิ่งเหล่านี้นับเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความอ่อนไหว และก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้ แต่ถ้าเราสร้างสังคมที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สังคมเราสร้างได้ก็จะทำให้สุขภาพจิตของคนในสังคมเริ่มดีขึ้น
“หลาย ๆ คนเข้าใจว่า เมื่อเราเห็นข่าวฆ่าตัวตาย สื่อมักเสนอว่าโรคซึมเศร้าทำให้คนฆ่าตัวตาย คนถูกรังแก โดนบูลลี่ ทำให้ฆ่าตัวตาย บางครั้งมันถูกเสนอออกมาในทิศทางเดียว ซึ่งกว่าคน ๆ นึงจะไปถึงจุด ๆ นั้นได้ มันมีหลายปัจจัยเข้ามากระตุ้นให้ไปถึงจุดนั้น ถ้ามองในมุมกว้าง สังคมเรามีปัจจัยป้องกันที่ค่อนข้างเยอะ เช่น การที่คนในสังคมดูแลกัน คนในสังคมใส่ใจกัน และการที่คนในสังคมเริ่มตื่นตัวว่าปัญหาสุขภาพจิตมีจริง ซึมเศร้าเกิดขึ้นจริง ปัญหาของเด็กวัยรุ่นเป็นเรื่องสำคัญ ก็อาจช่วยให้ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง