ช่างเข็มเจาะ รังสิต
4 ข้อควรรู้ก่อนใช้บริการ เสาเข็มเจาะ เสาเข็มตอก มีอะไรบ้างมาดูกัน
1.เสาเข็มเจาะ คืออะไร
การก่อสร้างอาคารและสถานที่ในปัจจุบันนี้ เสาเข็มถือว่าเข้ามามีบทบาทสำคัญกับงานก่อสร้างทุกรูปแบบ ด้วยความแข็งแรงและได้มาตรฐานของอาคารสถานที่ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้รับเหมาบางรายและเจ้าของบ้านเลือกที่จะลงเสาเข็มเพื่อเสริมความแข็งแรงของอาคารและบ้านเรือนตน ซึ่งเสาเข็มมีหลายประเภท แต่ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมคงต้องยกให้ เสาเข็มแบบเจาะ
เสาเข็มเจาะ คืออะไร
เสาเข็มเจาะ เป็นเสาเข็มที่นิยมใช้งานในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดหรืออยู่ในบริเวณที่มีบ้านเรือนติดกันเป็นจำนวนมาก โดยรูปแบบของการขุดเจาะนั้นจะเจาะลงไปในดินและเอาดินออกจนถึงระดับที่ต้องการ ตามด้วยการใส่โครงเหล็ก จากนั้นเทคอนกรีตลงไปในหลุมที่ขุดเจาะเพื่อขึ้นรูปเป็นเสาเข็ม ซึ่งวิธีการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่มีการก่อสร้าง แตกต่างจากเสาเข็มแบบตอก ที่ต้องใช้เครื่องตอกเสาเข็มลงไปในดิน เกิดการสั่นสะเทือนและเกิดเสียดังเป็นบริเวณกว้าง
ในปัจจุบันเสาเข็มแบบเจาะมีให้เลือกหลาหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเสาเข็มเจาะระบบแห้ง เสาเข็มเจาะระบบเปียก เสาเข็มเจาะแบบไมโครไพล์และเสาเข็มเจาะแบบพิเศษ ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นจะมีขั้นตอนในการขุดเจาะและการลงเสาเข็มที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าของอาคารอาจเป็นผู้เลือกหรือผู้รับเหมาเป็นผู้เลือกให้ตามความเหมาะสม ซึ่งข้อเสียของเสาเข็มแบบเจาะนั้นคงเป็นเรื่องของราคาที่แพงกว่าเสาเข็มแบบตอกพอสมควร แต่หากให้เปรียบเทียบกันในเรื่องของข้อดี ก็คงต้องยกให้เสาเข็มแบบเจาะที่มีข้อดีมากกว่าหลายประการเช่นกัน…
2.วิธีการคำนวณการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ
ปริมาณเสาเข็มจะขึ้นอยู่กับการรับน้ำหนักทั้งหมด โดยสามารถให้ผู้ออกแบบกำหนดให้ ส่วนระยะห่างของการเจาะเสาเข็มกับผนังอาคาร หากเราต้องการเจาะเสาเข็มเจาะ ใกล้กับผนังอาคาร หรือ รั้ว ระยะห่างของเสาเข็มที่น้อยที่สุด โดยปกติแล้วหากเสามีขนาด 35 ต้องห่างอย่างน้อย 70-80 ซม. และหากเสามีขนาด 50 ต้องห่างอย่างน้อย 90-100 ซม. ส่วนการออกแบบระยะและขนาดของ เสาเข็มเจาะ ต้องมีการคำนวณจากวิศวกรหรือผู้ออกแบบที่มีความชำนาญและต้องคำนึงถึงการรับน้ำหนักและแบบของสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้นระยะห่างของเสาเข็มอาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบขนาดของเสาเข็ม และการรับน้ำหนัก
ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วขนาดของเสาเข็มเจาะมาตรฐานที่มีให้บริการมี 4 ขนาดคือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตร, เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร, เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์ลาง 60 เซนติเมตร
• ความลึกของเข็มในตารางขึ้นอยู่กับลักษณะกายภาพของดินในบริเวณนั้นๆ
• การรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเป็นการ ประมาณจาก สภาพดิน ทั่วไปในบริเวณกรุงเทพฯ
• การรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเป็นค่าประมาณ (คำนวณมาจากเงื่อนไขของ กำลังอัดคอนกรีตที่อายุ 28 วัน(Fc’) ที่ 175 ksc, เหล็กเสริม ขนาด DB 12 mm. SD40 + เหล็กปลอกเกลียว ขนาด RB6 mm. @ 0.25 SD24)
สรุปคือการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ จะต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นคนคำนวณหรือประเมินค่าอีกครั้ง เพราะบ้านหรืออาคารที่ก่อสร้างต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่ง
3.เสาเข็มเจาะเสาเข็มตอก ต่างกันอย่างไร
เราสามารถแบ่งประเภทของเสาเข็มออกได้เป็น 2 ประเภท นั่นคือเสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอก เสาเข็มทั้งสองชนิดนี้มีการเลือกใช้งานที่แตกต่างกัน ลองมาดูกันดีกว่าแตกต่างกันอย่างไร
มาเริ่มกันที่เสาเข็มเจาะ ความหมายที่เห็นชัดคือการเจาะ เพราะฉะนั้นเสาเข็มเจาะ คือ การเจาะดินลงไปก่อน แล้วหย่อนแม่แบบเหล็กลงไปแล้วจึงเทคอนกรีตตามลงไป สำหรับเสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร วิธีการก็คือเจาะดินลงไป (แบบแห้งๆ) แล้วก็หย่อนเหล็กเทคอนกรีตลงไปในหลุม ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่า ส่วนเสาเข็มเจาะแบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึก ๆ แล้วใส่ สารเคมี ลงไปเคลือบผิวหลุมดินที่เจาะให้ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดิน และกันดินไม่ให้ พังทลายลงเวลาเจาะลึก ๆ (ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกกว่า 70 เมตร ) รับน้ำหนักได้มาก และเกิด มลภาวะน้อย แต่ราคาแพง เข็มเจาะจะมีราคาสูงกว่าเข็มตอก แต่จะทำให้ไม่เกิดแรงสั่น สะเทือน
ส่วนเสาเข็มตอก คำว่าตอก คือใช้กำลังตอกลงไป อาจใช้กำลังคน หรือเครื่องจักรก็ได้ มีทั้งเสาเข็มแบบตันและแบบกลวง ถ้าเป็นเสาเข็มกลมกลวง สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มแบบ เวลาตอกส่วนใหญ่จะขุดเป็นหลุมก่อนแล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับที่ต้องการจึงจะเริ่มตอก
เสาเข็มเจาะและเสาเข็มตอกจึงแตกต่างกันที่วิธีการ ขนาด และก็ผลต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดรวมไปจนถึงเรื่องของราคา เสาเข็มเจาะคือการเจาะดินลงไปก่อนแล้วจึงหย่อนเสาลงไป ราคาแพง แต่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า คุณภาพอาจไม่ทนทานเท่าเสาเข็มตอก ส่วนเสาเข็มตอกนั้นไม่ต้องเจาะดินก่อน แต่ใช้กำลังคนหรือเครื่องจักรตอก ราคาถูกว่าเสาเข็มเจาะ ทนทานมากกว่าเสาเข็มเจาะ แต่การขนย้ายอุปกรณ์ค่อนข้างลำบาก และที่สำคัญคือมีเสียงน่ารำคาญกระทบต่อบริเวณใกล้เคียงเป็นอย่างมาก
4.เสาเข็มมีกี่ประเภท
เสาเข็มโดยทั่วไปแยกสำคัญ 2 ประเภทกว้างๆ คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็ม โดยเสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะยังสามารถแยกย่อยและลงรายละเอียดตามลักษณะสำคัญๆ ของเสาเข็มดังต่อไปนี้
เสาเข็มตอก
เสาเข็มตอกมีหลายชนิดที่ใช้กันอยู่ได้แก่
• เสาเข็มไม้ ซึ่งใช้กันมานาน แต่ในปัจจุบันเสาเข็มไม้ที่ดีมีคุณภาพหายากและมีราคาแพง
• เสาเข็มเหล็ก ที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเสาเข็มเหล็กรูปตัว H เพราะสามารถทำการตอกลงดินได้ง่าย และรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี
• เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
• เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง หรือที่เรียกว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก
เสาเข็มเจาะ
เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่จำกัด ได้แก่
• เสาเข็มเจาะระบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 ม. เสาเข็มเจาะประเภทนี้มีหน้าตัดเป็นวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 60 ซม.
• เสาเข็มเจาะระบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึกๆ แล้วใส่สารเคมี เช่น Bentonite ลงไปเคลือบผิวหลุมดินที่เจาะ ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและกันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึกๆ
• เสาเข็มเจาะแบบ ไมโครไพล์ เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 25 ซม. ใช้มากในงานซ่อมแซมอาคารหรือต่อเติมบริเวณที่มีพื้นที่ในการทำงานน้อยๆ
• เสาเข็มเจาะแบบพิเศษ เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มระบบเปียกแต่จะมีหน้าตัด รูปแบบต่างๆ แตกต่างกันออกไป เช่น หน้าตัดรูปตัว H รูปตัว T หรือเป็นรูปเครื่องหมายบวก
std-serves รับเสาเข็มเจาะ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับเสาเข็มเจาะ ซ่อมแซม ออกเสาเข็มเจาะ ทุกรูปแบบ เสาเข็มเจาะ ให้ปลอดภัยโดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ เสาเข็มเจาะ ให้ปลอดภัย เสาเข็มโดยทั่วไปแยกสำคัญ 2 ประเภทกว้างๆ คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ รับเสาเข็มเจาะ ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
รู้จักเรา std-serves รับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
- ทีมช่างรับเสาเข็มเจาะ ซ่อมแซม ออกแบบเสาเข็มเจาะ ทุกรูปแบบ มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- ช่างรับเสาเข็มเจาะ โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-serves รับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจบริการรับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
ต้องที่ std-serves ช่างรับเสาเข็มเจาะ เท่านั้น
ช่างเข็มเจาะ เทศบาลนครรังสิต
ช่างเข็มเจาะ ตำบลรังสิต
ช่างเข็มเจาะ คลองรังสิต
ช่างเข็มเจาะ ถนนวิภาวดีรังสิต
ช่างเข็มเจาะ หาวิทยาลัยรังสิต
ช่างเข็มเจาะ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต