บริษัท เจาะเสาเข็ม รัชดา
เสาเข็มตอก (เสาเข็มไอ 22) ช่างเข็มเจาะ
โดยทั่วไปเสาเข็มที่เราเห็นและนิยมใช้กันจะมีหน้าตัดเป็นเหลี่ยมๆ เป็นตัวไอ หรือ กลม และจะเป็นแท่งยาวๆ เสาเข็มทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก การตอกต้องใช้ปั้นจั่นตอกลงดิน ส่วนใหญ่เสาเข็มที่ใช้กับโครงสร้างขนาดเล็กหรือไม่ค่อยสำคัญ คือ เสาเข็มคอนกรีตหกเหลี่ยมกลวงเพราะมีขนาดที่พอเหมาะ จะนิยมนำไปทำ รั่วศาลพระภูมิ แต่ทุกคนเลยรู้มั้ยว่าในอดีตเสาเข็มที่ใช้ทำโครงสร้างบ้านจะมีแต่ไม้ แต่เนื้องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาเสาเข็มจนมีเสาเข็มคอนกรีตไม้เลยไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาที่สูงกว่า และผุกร่อนง่ายควบคุมคุณภาพได้อยาก มีโอกาสพังทลายตามสภาพ ปัจจุบันเลยไม่มีการใช้ไม้ทำโครงสร้างบ้านหรืออาคาร
ในการก่อสร้างหรือโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ มักจะใช้เสาเข็มเจาะเปียก ส่วนการปลูกบ้านหรืออาคาร ที่ความสูงไม่มาก ส่วนใหญ่จะใช้การเจาะแห้ง ใช้พื้นที่น้อยกว่าเสาเข็มตอก มักจะใช้งานในพื้นที่ไม่กว้างข้อดีคือ จะเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าเสาเข็มตอก จึงไม่มีผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง แต่การเจาะแห้งนั้น ต้องมีการควบคุมคุณภาพ มากกว่า เสาเข็มตอก
ขั้นตอนของการเจาะแห้งนั้น มีขั้นตอนโดยเริ่มจากการ กดปลอกเหล็กกันดินพัง ให้เส้นผ่านศูนย์กลางของปลอกเหล็กเท่ากับเสาเข็ม ลงในชั้นดินอ่อนในตำแหน่งที่ต้องการเจาะ แล้วเจาะดินให้ลึกตามที่กำหนดไว้ ขั้นตอนต่อมาคือ การใส่เหล็กเสริมที่ได้มาตรฐาน มอก. แล้วจึงเทคอนกรีตตามเข้าไป ต้องตรวจสอบในขั้นตอนที่สำคัญๆในการคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้ง โดยอย่างแรกคือ ตรวจสอบปลอกเหล็กว่าได้เส้นผ่านศูนย์กลางถูกต้องรึป่าว และตำแหน่งของปลอกเหล็ก ขนาด ความลึก ว่าได้รูปแบบตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่ และเหล็กเสริมควรมีขนาดความยาวและคุณภาพตามแบบที่กำหนดไว้ การดูก้นหลุดของเสาเข็มว่าใช้ได้หรือไม่ ควรตรวจสอบว่าไม่มีการพังทลายของดิน ดูได้โดยไม่มีน้ำเข้ามาในหลุมต้องใช้ไฟส่องดูให้แน่ชัด
การควบคุมการทำงานของเสาเข็มเจาะแห้ง ขั้นตอนที่สำคัญในเบื้องต้น ควรดูว่าในรูเจาะดินไม่พังทลายหรือมีการบีบตัวโดยดูจาก ปริมาณของคอนกรีตที่ใช้ กับ ปริมาณของดินที่เจาะออกไปแล้ว การเทคอนกรีตลงในปลอกเหล็ก โดยปกติจะมีการยุบตัวของคอนกรีต หลังจากดึงปลอกเหล็กกันดินพังออก การเทคอนกรีตควรเทเผื่อการยุบตัว แล้วหลังจากนั้นค่อยดึงปลอกเหล็กขึ้นมาตรง ถ้าไม่ดึงในแนวดิ่งจะทำให้เสาเข็มเจาะเอียงตามไปด้วย แล้วมีความเสี่ยงต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้าง
ความสำคัญของรากฐาน
1.เพื่อทำให้โครงสร้างต่างๆของอาคารมีเสถียรภาพไม่จมลงในดินและไม่เกิดการทรุดตัวหรือเอนเอียง
2.เพื่อไม่ให้โครงสร้างอาคารทรุดตัวเนื้องจากการขุดดินใต้รากฐานของสิ่งก่อสร้าง
3.เพื่อเป็นตัวค้ำยันในการแก้ไขโครงสร้างอาคารหลัก
4.เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของทางโครงสร้างที่อยู่ลึกๆเช่นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน
5.เพื่อเพิ่มให้รากฐานสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มขนาด เช่น การเพิ่มชั้นของอาคาร
6.เพื่อทำให้อาคารที่ถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่นยังคงสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม
ข้อดีของ เสาเข็มไอ 22
1.ทำงานได้ในที่แคบ
2.มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดภาวะทางเสียง ไม่มีโคลน สะดวกต่อการใช้งาน
3.ตอกได้ตามความเป็นจริง
4.การรับน้ำหนักได้มากๆทำให้พื้นฐานโครงสร้างแข็งแรง
5.ตอกชิดผนังบ้านหรือติดกำแพงบ้านได้
วิธีเจาะเสาเข็ม
ถ้าจะใช้เสาเข็มเจาะ เราควรที่จะต้องรู้ข้อมูลของเสาเข็มวิธีการพื้นฐานและระบบการทำงานของเสาเข็มเจาะซะก่อน ส่วนใครที่ยังไม่รู้วิธีการสามารถศึกษาข้อมูลด้านล่างนี้จะมีอธิบายขั้นตอนของการเจาะเสาเข็มอย่างละเอียดที่ผ่านการดูแลโดยวิศวกรผู้ชำนาญการเพื่อให้ขั้นตอนการเจาะเสาเข็มนั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะมีตั้งแต่การเลือกใช้ การขุดเจาะ การเทคอนกรีต มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.เตรียมอุปกรณ์
ปรับติดตั้งสามขาให้อยู่ในแนวศูนย์กลางของเสาเข็ม ใช้กระเช้าเจาะนำร่องให้ลึก 1 เมตร แล้วตอกหลักยึดให้แน่น
2.ขนาดของปลอกเหล็ก
นำปลอกเหล็กมาต่อกัน มีความยาวต่อท่อน 1.20เมตร ปลอกเหล็กทำงานผ่านชั้นดินอ่อนจนถึงชั้นที่ดินแข็งตัว ควรดูตำแหน่งให้ถูกต้อง เพื่อที่จะป้องกัน การพังทลายของผนังเจาะรู การที่จะไม่ให้เสาเข็มเอียง ควรจะรักษาตำแหน่งของปลอกเหล็กให้อยู่ที่จุดศูนย์กลางและแนวดิ่งเสมอ
3.อุปกรณ์ที่เจาะและการขุดดิน
นำกระเช้าเก็บดิน หย่อนลงไปในรูเพื่อตักดินออกมาเรื่อยๆทำซ้ำอัดจนกว่าดินจะเต็มกระเช้า แล้วนำดินมาเทออก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้ความลึกที่ต้องการ
-ตรวจสอบการพังของดิน ทีไม่ได้ใส่ปลอกเหล็กชั่วคราว ดูว่าผนังของดิน มีการยุบตัวหรือไม่ หรืออีกวิธีนึงก็คือดูจากชนิดของดินที่เก็บขึ้นมาได้ว่าไกล้เคียงกับความลึกหรือป่าว ถ้าเกิดเห็นว่าดินเคลื่อนพังควรแก้ไขโดยการนำปลอกเหล็กชั่วคราวตอกให้ลึกลงไปอีก
-ต้องนำดินที่เจอะขึ้นมา ย้ายออกมาข้างนอกบริเวณที่เจาะเสาเข็ม เพื่อที่จะได้ไม่รองรับน้ำหนักรอบข้าง ต่อเสาเข็มต้นต่อไป
4.ตรวจเสาเข็มก่อนใส่เหล็กเสริม
-การวัดจากสายสลิงกับความยาวของกระเช้าตักดินจะได้ความลึก
-ตราจที่ก้นหลุมดูว่ามีการยุบเข้าหรือมีน้ำซึมหรือไม่หากมองไม่เห็นถึงก้นหลุมก็ควรใช้ไฟส่อง ถ้าพบเห็นมีน้ำที่ก้นหลุม ต้องเทคอนกรีตแห้งลงไป จากนั้นกระทุ้งให้แน่นด้วยตุ้มเหล็ก
5.การใส่เหล็กเสริม
-ชนิดของเหล็กเสริม เหล็กเสริมข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD 30 มาตรฐาน ม.อ.ก.
-การที่เทคอนกรีตโครงเหล็กจะไม่ขยับไปไหน ควรใส่เหล็กเสริมหย่อนโครงเหล็กยึดให้แน่นและให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะ
6.การเทคอนกรีตชนิดของคอนกรีต
-ใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดประลัย 28 วัน เป็นคอนกรีตผสมโม่
-คอนกรีตทรงกระบอก f15 x 30 ซม. ไม่น้อยกว่า 210 กก / ซม2 ซีเมนต์ที่ใช้เป็น
-ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1
7.การถอดปลอกเหล็ก
เทคอนคอนกรีตให้สูงกว่าปลอกเหล็กพอสมควร ขั้นตอนต่อมาถอดปลอกเหล็ก ตอนถอดปลอกเหล็กออกต้องให้มีคอนกรีตอยู่ในปลอก ห้ามน้อยกว่า 0.50 ม. เป็นการป้องกันชั้นดินอ่อนบีบตัว จะทำให้เสาเจ็มเจาะเปลี่ยนไป ห้ามให้น้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะถอดเหล็กชั่วคราวออก ขั้นตอนต่อมาเตรียมคอนกรีต ต้องเผื่อคอนกรีต ให้สูงกว่าระดับที่ 30-40 ซม. และห้ามให้หัวเข็มสกปรก ป้องกันเศษดินหลังจากการถอดเหล็กออกแล้ว
std-serves รับเสาเข็มเจาะ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับเสาเข็มเจาะ ซ่อมแซม ออกเสาเข็มเจาะ ทุกรูปแบบ เสาเข็มเจาะ ให้ปลอดภัยโดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ เสาเข็มเจาะ ให้ปลอดภัย เสาเข็มโดยทั่วไปแยกสำคัญ 2 ประเภทกว้างๆ คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ รับเสาเข็มเจาะ ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
รู้จักเรา std-serves รับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
- ทีมช่างรับเสาเข็มเจาะ ซ่อมแซม ออกแบบเสาเข็มเจาะ ทุกรูปแบบ มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- ช่างรับเสาเข็มเจาะ โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-serves รับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจบริการรับเสาเข็มเจาะ อย่างไรให้ปลอดภัย
ต้องที่ std-serves ช่างรับเสาเข็มเจาะ เท่านั้น
ช่างเข็มเจาะ แยกรัชดา-สุทธิสาร