บ้านเอียงแก้ไข

หมวดหมู่สินค้า: ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
STD Serve ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด รับแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ แก้บ้านทรุดเอียง ปัญหาที่เจอบ่อยๆ มักเกิดจาก… ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ เสาเข็มแตกหัก ดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุด รอยแตกร้าวบนตัวบ้าน พื้นดินยุบเป็นโพรง ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง

07 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 85 ผู้ชม

ช่างแก้บ้านทรุดเอียง

รับดีดบ้าน โทร 092-2543360  รับยกบ้านต่ำทำให้สูง หมุนบ้านทั้งหลังให้ได้ทางทิศทางที่ท่านต้องการ โดยรับงานทั้ง บ้านปูน บ้านไม้ บ้านชั้นเดียว ตึกอาคาร ศาลาวัด เมรุ ซุ้มประตูวัด อาคารโรงเรียน โดยทีมงานที่ชำนาญงาน ในสายงานที่มากกว่า 20 ปี บริการรับงานทั่วไทย ดูหน้างานฟรีๆทั่วไทย

          


ติดต่อช่างเฉลา  



 


ขั้นตอนการแก้ไขอาคารทรุด
 
แก้ไขอาคารทรุด
 
      ปัจจุบันปัญหาการทรุดตัวของอาคาร เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งซึ่งมีผลโดยตรงกับความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร และตัวอาคารเอง    ซึ่งการทรุดตัวของอาคารนั้นพบเห็นกันมาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ลักษณะการทรุดตัวของอาคารอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบกับระบบฐานรากของอาคาร ซึ่งสรุปได้ดังนี้ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง


 
   1. อาคารทรุดตัวในแนวดิ่ง ซึ่งแบ่งได้ 2 เป็นประเภทดังนี้
 
       1.1  ฐานรากทั้งหมดในอาคารทรุดตัว  ซึ่งเป็นการทรุดตัวของอาคารทั้งหลังใกล้เคียงกัน แต่มีการทรุดตัวมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่ใช้เสาเข็มสั้นวางอยู่บนชั้นดินอ่อนมาก ซึ่งลักษณะการทรุดตัวประเภทนี้ จะไม่ค่อยพบรอยร้าวในโครงสร้างอาคาร
 
       1.2  ฐานรากในอาคารทรุดตัวไม่เท่ากัน  เกิดจากฐานรากมีการทรุดตัวที่แตกต่างกันมาก แต่ลักษณะการทรุดตัวของอาคารยังคงรูปในแนวดิ่ง ซึ่งอาคารที่ทรุดตัวประเภทนี้มักจะพบรอยแตกร้าวบนผนังเป็นแนวเฉียงกลางผนัง
 
     2. อาคารทรุดเอียง  ส่วนใหญ่เกิดจากการเยื้องศูนย์ของฐานรากอาคาร และเยื้องไปในทิศทางเดียวกัน หรือการทรุดเอียงของฐานรากที่อยู่บริเวณริมด้านนอกของอาคาร ทำให้การทรุดตัวของอาคารเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง และทำให้อาคารด้านตรงข้ามมีลักษณะเหมือนยกขึ้น  การทรุดตัวประเภทนี้มักจะไม่เกิดรอยร้าวบนผนัง หรือโครงสร้าง แต่รอยร้าวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณตอม่อหรือเสาเข็มของอาคารด้านที่ถูกยกขึ้น
 
         สาเหตุการทรุดตัว  ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุดังนี้
 
          1. เสาเข็มสั้นเกินไป
 
          2. เสาเข็มบกพร่อง
 
          3. ฐานรากเยื้องศูนย์
 
          4. ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน
 
          5. เกิดการเคลื่อนตัวของดิน
 
          6. เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ตามความต้องการ
 
    การแก้ไขอาคารทรุด
 
    การแก้ไขอาคารทรุด สามารถกระทำโดยการเสริมเสาเข็มเข้าไปรับโครงสร้างให้เพียงพอเพื่อให้สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างที่มีปัญหา การกำหนดขนาด จำนวนเสาเข็มนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์โดยขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นดังนี้


 
        - คำนวณน้ำหนักลงฐานราก (Column Load) ที่จะทำการเสริมเสาเข็ม
 
        - เลือกชนิดของเสาเข็ม ขนาด และความยาวซึ่งพิจารณาได้จากข้อมูลดิน
 
        - คำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มที่จะเสริมจากข้อมูลดิน ตามชนิด ขนาด และระดับความลึกของปลายเสาเข็มที่จะเลือกใช้
 
        - กำหนดจำนวนเสาเข็มที่จะเสริมในแต่ละฐานราก
 
        - กำหนดตำแหน่งที่จะเสริมเสาเข็ม
 
         - ทำการถ่ายน้ำนหักลงเสาเข็มที่เสริม
 
          ประเภทของเสาเข็มสำหรับงานเสริมฐานราก
 
           1. เสาเข็มเจาะ (Bored Pile)
 
           2. เสาเข็มเหล็ก (Steel Pile)
 
           3. เสาเข็มประกอบ (Composite Pile)
 
บ้านทรุด เกิดจากสาเหตุที่อะไรบ้าง
 สิ่งต้องพิจารณาสาเหตุที่ทำให้ บ้านทรุด คือ เสาเข็มเยื้องศูนย์ ถ้าตำแหน่งเสาของอาคารไม่ตรงกับศูนย์กลางของกลุ่มเสาเข็มอันเนื่องจากการวางตำแหน่งเสาเข็มผิดพลาดหรือ เกิดความคลาดเคลื่อนขณะติดตั้งเสาเข็ม และ ตำแหน่งที่ผิดพลาดนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งอาคาร โดยเฉพาะถ้าเป็นฐานรากเสาเข็มเดี่ยว ฐานรากจะพลิกตัวไปในทิศทางเดียวกันทำให้อาคารทรุดเอียงทั้งหลัง เป็นการทรุดเอียงทั้งระนาบลักษณะเช่นนี้อาคารจะไม่แตกร้าวเพราะไม่มีแรงดึงรั้งภายในโครงสร้าง แต่ถ้าการเยื้องศูนย์เกิดขึ้นกับฐานรากบางฐานจะทำให้เกิดการทรุดตัวแตกต่างและทำให้เกิดรอยร้าวที่ผนัง และ โครงสร้าง
 
ดังนั้น ถ้าไม่มีรอยแตกร้าวให้พบเห็นตามคำบอกเล่าของผู้พักอาศัยสาเหตุเรื่องการเยื้องศูนย์จึงเข้าข่ายที่เป็นไปได้ แต่การก่อสร้างที่มีผู้ควบคุมดูแลใกล้ชิดไม่น่าจะมีกรณีเสาเข็มเยื้องศูนย์ทุกฐาน สาเหตุประเด็นนี้จึงสมควรตัดทิ้งด้วยเช่นกัน
 
          อีกประการที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ เสาเข็มรับน้ำหนักไม่เพียงพอ ส่วนมากที่พบเห็นสำหรับอาคารทรุดเอียงมักจะเกิดจาก เสาเข็มชนิดที่ปลายล่างไม่ได้หยั่งในชั้นทราย ซึ่งตามศัพท์ทางวิศวกรรมจะเรียกว่า ? เสาเข็มรับแรงเสียดทาน ? หรือFriction pile เสาเข็มประเภทนี้อาศัยแรงยึดเกาะระหว่างดินกับผิวเสาเข็มเป็นแรงต้านทานน้ำหนักที่กดลงบนหัวเสาเข็ม เสาเข็มพวกนี้จะทรุดตัวมากกว่าเสาเข็มที่ปลายอยู่ในชั้นทราย และ ปริมาณการทรุดตัวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุก ถ้าใช้เสาเข็มประเภทรับน้ำหนักอาคารต้องคำนึงเรื่องน้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแต่ละต้น ( Load / pile ) ให้มีค่าใกล้เคียงกัน ถ้ามีความแตกต่างกันมากจะทำให้อาคารทรุดเอียงโน้มไปทางด้านที่มีน้ำหนักกดลงมาก และนั่นก็คือ อาคารทรุดเอียงไปทางด้านที่เป็นตำแหน่งศูนย์รวมของน้ำหนัก
 
         สำหรับอาคารที่ยกตัวอย่างมาพิจารณาสาเหตุประการหลังนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะอาคารที่ทรุดเอียงจะไม่แตกร้าวให้เห็น  และ การทรุดตัวประเภทนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นไม่รวดเร็วจึงทำให้อยู่มาได้นานเป็น 10 ปี ตรงกับคำบอกเล่าของเจ้าของอาคารทุกประการสำหรับคำถามที่ว่าแล้วทำไมจึงไม่เกิดเหตุการณ์ทรุดตัวฉับพลันในภายหลัง ? เมื่ออาคารทรุดเอียงถึงระดับหนึ่งเสาเข็มบางต้นอาจหักหรือหลุดจากฐานรากทำให้เกิดการกระตุกลงแบบฉับพลันแบบ Domino


 
          ทุกครั้งที่เกิดเหตุทรุดตัวจมลงดินในลักษณะนี้ เมื่อขุดดินลงไปดูฐานรากเพื่อหาสาเหตุ จะพบว่าฐานรากพลิกตัวและเสาเข็มแตกหัก และมักจะสรุปว่า เป็นเพราะเสาเข็มแตกหักจึงทำให้อาคารทรุดจม การสรุปเช่นนี้ยังถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะ เหตุที่อาคารทรุดจมจริง ๆ อาจไม่ได้เกิดจากเสาเข็มช่วงบนหัก เสาเข็มมาหักภายหลังจากการกระตุกลงของอาคาร ถ้าเสาเข็มช่วงบนแตกหักน่าจะพบเห็นและมีการแก้ไขมาตั้งแต่   ตอนก่อสร้างแล้ว หรือถ้าไม่แก้ไขในตอนนั้นก็ควรจะเกิดปัญหาทรุดตัวและอาคารแตกร้าวมาก่อนหน้านี้ ดังนั้นการสำรวจตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงควรทำการเจาะสำรวจสภาพชั้นดิน ตรวจสอบความยาวเสาเข็มที่ฝังอยู่ในดิน เพื่อพิจารณาว่าปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินประเภทใด นำแบบแปลนมาวิเคราะห์น้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแต่ละต้นว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด จึงจะให้พิจารณาหาสาเหตุที่ถูกต้องแน่นอนได้
 
สาเหตุหลักที่ทำให้ บ้านทรุด
- เสาเข็มอยู่ในดินอ่อน เสาเข็มสั้นเกินไปหรือยาวไม่เพียงพอ ปลายเสาเข็มไม่หยั่งลงในชั้นดินเหนียวแข็งหรือทรายแน่น
- เสาเข็มบกพร่อง เสาเข็มแตกหรือหักจากการขนส่ง หรือ ขณะกดลงดิน ถ้าเป็นเสาเข็มเจาะอาจเกิดการคอดหรือขาดขณะถอนปลอกเหล็กกันดิน
- เสาเข็มเยื้องศูนย์ ศูนย์กลางเสาเข็ม หรือ กลุ่มเสาเข็มเยื้องตำแหน่งกับเสาอาคาร น้ำหนักที่กดลงทำให้ครอบหัวเสาเข็มพลิกตัวลักษณะเช่นนี้มักพบมากกับฐานรากเสาเข็มต้นเดียวที่ตอกผิดตำแหน่งแล้วแก้ไขไม่ถูกวิธี
- ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิด การเลือกใช้เสาเข็มยาวเท่ากันไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดปัญหา หากปลายเสาเข็มส่วนหนึ่งอยู่ในดินแข็งหรือทรายแน่น ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งอยู่ในชั้นดินอ่อน เสาเข็มจะทรุดตัวไม่เท่ากัน
- ดินเคลื่อนไหล อาจเป็นเพราะมีการขุดดินบริเวณข้างเคียง หรือ ดินริมฝั่งน้ำทำให้ดินใต้อาคารเสียเสถียรภาพ เกิดการเคลื่อนไหลของดินออกจากใต้อาคาร หากดินที่เคลื่อนไหลมีปริมาณมากๆ จะทำให้ครอบหัวเสาเข็ม ( ฐานราก ) และ เสาเข็มถูกดันเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม และ อาจทำให้เสาเข็มหลุดออกจากครอบหัวเสาเข็มได้



std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ แก้บ้านทรุดเอียง ปัญหาที่เจอบ่อยๆ มักเกิดจาก...  ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ เสาเข็มแตกหัก ดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุด รอยแตกร้าวบนตัวบ้าน พื้นดินยุบเป็นโพรง  ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง


 
รู้จักเรา std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
- ทีมช่างแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-serves แก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจบริการช่างแก้บ้านทรุดเอียง
 ต้องที่  std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง เท่านั้น
 
 
Engine by shopup.com