หลายคนคงได้พบเจอกับปัญหาบ้านที่อยู่อาศัยพื้นทรุดกันแทบทั้งนั้น ถึงแม้ว่าบ้านที่เรารักนั้นได้รับการออกแบบใส่ใจ และดูแลรักษามาอย่างดีแล้วก็ตาม ปัญหาที่ว่านี้เกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งพื้นดินโดยรอบบริเวณบ้านทรุดตัว หรือดินยุบจนเกิดเป็นโพรงด้านใต้ เรียกได้ว่าเป็นปัญหาหลักที่บรรดาผู้อยู่อาศัยหลีกหนีกันไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารที่สร้างเอง หรือโครงการบ้านจัดสรร และเมื่อเกิดพื้นบ้านทรุดขึ้นมา หากเราไม่รีบแก้ไขอย่างทันท่วงทีก็จะเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่สร้างความกังวลใจได้อย่างมากมาย ทั้งเป็นปัญหากับตัวบ้านเอง แถมยังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง มด ปลวก เข้าไปทำรังอยู่ใต้บ้าน ทางที่ดีให้เราคอยสังเกตรอบ ๆ ตัวบ้านของเราอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดพื้นทรุด กระเบื้องแตก ก็อย่าได้นิ่งนอนใจ อย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด รีบหาทางจัดการให้เร็วที่สุด ส่วนจะทำอย่างไรด้บ้างนั้น วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกันกับทำอย่างไรเมื่อ พื้นทรุด กระเบื้องแตก เกิดโพรงใต้บ้าน สัญญาณอันตรายที่ต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
ปัญหาพื้นทรุด บ้านทรุด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
สาเหตุใหญ่ ๆ นั้นเกิดจากไม่มีโครงสร้างคานใต้ดิน หรือเสาเข็มรองรับ หรือมีในปริมาณหรือคำนวณที่ไม่มากพอ เป็นการสร้างบ้านหรือที่พักอาศัยแบบวางบนดิน (Slab on Ground) ซึ่งจะต่างจากการสร้างบ้าน หรือที่อยู่อาศัยแบบโครงสร้างวางบนคาน (Slab on Beam) โดยจะมีคานหรือเสาเข็มยึดลึกลงไปถึงชั้นดิน ทำให้แน่นและสามารถรองรับน้ำหนักของตัวบ้านและป้องกันการทรุดตัวในระยะยาว โดยเฉพาะดินในพื้นที่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย จะมีดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวอ่อน ซึ่งมีอัตราการยุบตัวต่อเนื่อง เมื่อมีฝนตกบ่อย ๆ จะทำให้ดินเกิดการทรุดตัว และไหลลงสู่ที่ต่ำได้ง่าย ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคานบ้านกับพื้นดินจนเกิดเป็นพื้นทรุด หรือเป็นโพรงใต้บ้าน และอาจจะสร้างปัญหาต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่โดยรอบบริเวณบ้านเกิดการปริร้าว หรือโครงสร้างบ้านเป็นรอยแยกแตกนั่นเอง
6 วิธีสังเกตอาการพื้นทรุดในเบื้องต้น
1.พื้นบ้านแยกออกจากกัน พื้นบ้านแยกออกจากพื้นโรงจอดรถ หรือแยกออกจากส่วนต่อเติมบ้าน
2.ผนังบ้านเริ่มมีรอยร้าวเป็นทางยาว โดยสามารถพบเห็นได้รอบบริเวณบ้าน อาจมีตั้งแต่รอยร้าวแตกลายงาของผิวปูน และรอยร้าวขนาดใหญ่บริเวณผนังหรือ
3.พื้นบ้านทรุดตัวต่ำ หรือทางเดินเริ่มมีรอยแยก กระเบื้องปูพื้นเริ่มมีรอยแตก
4.ผนังหรือพื้นบ้านเอียง จนสังเกตได้ด้วยตาเปล่า
5.โครงสร้างคานบ้าน กับผนังแยกห่างออกจากกันจนเห็นชัด
6.เกิดดินทรุดตัวรอบ ๆ ตัวบ้าน หรือเกิดเป็นโพรงดินลึกใกล้ ๆ กับตัวบ้าน
พื้นทรุด และดินทรุด แตกต่างกันอย่างไร
แม้จะเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อเนื่องถึงกัน แต่ก็เกิดขึ้นจากสาเหตุที่แตกต่างกัน เราควรสังเกตชัดเจนก่อนว่า พื้นทรุดหรือดินทรุด เพื่อจะได้แก้ไขได้ตรงจุด บางครั้งดินทรุดก็ไม่ได้ส่งผลให้พื้นทรุดหรือบ้านทรุด เพราะจริง ๆ แล้วปัญหาดินทรุดนั้นมักจะเกิดหลังจากการถมดิน หรือการก่อสร้างบ้าน หรืออาคารเสร็จเรียบร้อยประมาณ 1-2 ปี จากการถมดินปรับพื้นใหม่ เพื่อปรับพื้นที่หรือการเร่งการก่อสร้างที่รวดเร็วเกินไป โดยไม่รอให้ดินเซ็ตตัวให้แน่นก่อน เมื่อฝนตกจึงทำให้ดินทรุดตัว อีกทั้งยังส่งผลให้ดินไหลไปยังบริเวณใต้บ้าน การสังเกตว่าดินทรุดตัวหรือไม่
1.เกิดดินทรุดรอบ ๆ บริเวณขอบตัวบ้าน แล้วไหลเข้าไปใต้บ้านทำให้เกิดเป็นโพรง
2.พื้นรอบบ้านหรือพื้นบริเวณที่จอดรถที่เชื่อมต่อกันนั้นเกิดการทรุดตัวแยกจากตัวบ้าน
3.ดินบริเวณใต้บ้านเกิดทรุดตัวจนมองเห็นเสาหรือคานโผล่ออกมา
4.ระบบคานเชื่อมต่อต่าง ๆ ใต้บ้านขาด หรือแยกออกจากกัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาพื้นทรุดหรือดินทรุด
ดินทรุดส่วนใหญ่แล้วเกิดจากปัญหาทางธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ต้องค่อย ๆ แก้ปัญหาไปตามสภาพ หากบ้านหรือที่พักอาศัยสร้างและวางรากฐานที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ก็จะไม่เกิดผลกระทบใด ๆ กับตัวบ้าน แต่ในทางกลับกันหากรากฐานของบ้านไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถรองรับกับการทรุดตัวของดิน ปัญหาดินทรุดย่อมก่อให้เกิดปัญหาพื้นทรุดตามมาได้เช่นกัน
1. เสาเข็มสั้นเกินไป ทำให้รับแรงแบกได้น้อย
หากชั้นดินอ่อนตัว หรือชั้นดินที่อยู่บริเวณรอบเสาเข็มยุบตัวลงหรือเคลื่อน จะทำให้น้ำหนักส่งจากเสาลงสู่ดินเร็วเกินไป และส่งผลให้เสาเข็มที่สั้นเกินไปทรุดตัวลงได้ง่ายด้วย เสาเข็มที่นิยมใช้จะมีความยาวตั้งแต่ 8-20 เมตร ขึ้นอยู่กับลักษณะดินในพื้นที่นั้น ๆ
2. เสาเข็มชำรุด
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่บ้านเกิดพื้นทรุดอาจจะเกิดจากเสาเข็มแตกหัก หรือแยกขาดออกจากกัน โดยอาจจะมาจากขั้นตอนการติดตั้งเสาเข็มที่ไม่ได้ตรวจตราให้ดี หรือตอนตอกเสาเข็มที่แรงเกินไปทำให้เกิดปัญหาแตกร้าว เมื่อปักเสาเข็มชำรุดลงดิน ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านน้ำหนักลงไปสู่ชั้นดินที่แน่นได้
3. เสาเข็มอยู่บนชั้นดินที่ต่างชนิดกัน
การที่ปลายเสาเข็มบางส่วนของบ้านพักอาศัยอยู่ในชั้นดินที่ต่างกัน เช่น ปลายเสาด้านหนึ่งอยู่ในชั้นดินเหนียว หรือชั้นทราย แต่ปลายเสาเข็มอีกด้านหนึ่งอยู่ในชั้นดินอ่อน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้รากฐานโยกคลอน เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน
4. เสาเข็มไม่ตรงกับเสาบ้าน
บ้านพักอาศัยที่ใช้การปักเสาเข็มเดี่ยวมักเกิดปัญหาพื้นทรุดตัว เนื่องจากเสาบ้านไม่ตรงกับเสาเข็ม ทำให้ฐานด้านล่างเกิดการพลิกตัว กรณีนี้จะไม่พบเห็นรอยร้าวโครงสร้างส่วนบน
5. ดินเกิดการเคลื่อนที่
อาจจะเกิดจากผลกระทบ สภาพแวดล้อมจากบริเวณรอบนอก เช่น มีการขุดดินจากที่ดินข้างเคียง หรืออยู่ใกล้กับจุดที่กำลังมีการก่อสร้าง มีการขุดดินขาย มีการตอกเสาเข็มด้วยปั้นจั่น แรงสั่นสะเทือนก็มีส่วนทำให้ดินในพื้นที่ใต้โครงสร้างบ้านของเรา เคลื่อนตัวจนดันเสาเข็มให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม ทำให้พื้นทรุดลงได้เช่นกัน
6. เสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนัก
หากเราถมที่ใหม่ ๆ แล้วรีบทำการก่อสร้าง โดยไม่รอให้ดินเซ็ตตัวให้คงที่ ทิ้งระยะไว้ไม่นานพอ โดยเฉพาะหากช่วงที่มีฝนตกหนักอาจทำให้ดินที่ถมไว้เกิดทรุดตัวและไหลลงสู่ที่ต่ำ ทำให้ดินอยู่ในสภาพไม่ยึดแน่นเคลื่อนไหล จนทำให้เสาเข็มไม่สามารถแบกรับน้ำหนักได้ก่อนสร้างบ้าน หรือที่พักอาศัยจึงควรถมดินทิ้งไว้ก่อนอย่างน้อย 2-3 ปี
std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ แก้บ้านทรุดเอียง ปัญหาที่เจอบ่อยๆ มักเกิดจาก... ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ เสาเข็มแตกหัก ดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุด รอยแตกร้าวบนตัวบ้าน พื้นดินยุบเป็นโพรง ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
รู้จักเรา std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
- ทีมช่างแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-serves แก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจบริการช่างแก้บ้านทรุดเอียง
ต้องที่ std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง เท่านั้น