ช่างแก้บ้านทรุดเอียง สะพานควาย

หมวดหมู่สินค้า: ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
STD Serve ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด รับแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ แก้บ้านทรุดเอียง ปัญหาที่เจอบ่อยๆ มักเกิดจาก… ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ เสาเข็มแตกหัก ดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุด รอยแตกร้าวบนตัวบ้าน พื้นดินยุบเป็นโพรง ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง

07 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 17 ผู้ชม

ช่างแก้บ้านทรุดเอียง สะพานควาย

รับดีดบ้าน โทร 092-2543360  รับยกบ้านต่ำทำให้สูง หมุนบ้านทั้งหลังให้ได้ทางทิศทางที่ท่านต้องการ โดยรับงานทั้ง บ้านปูน บ้านไม้ บ้านชั้นเดียว ตึกอาคาร ศาลาวัด เมรุ ซุ้มประตูวัด อาคารโรงเรียน โดยทีมงานที่ชำนาญงาน ในสายงานที่มากกว่า 20 ปี บริการรับงานทั่วไทย ดูหน้างานฟรีๆทั่วไทย

          


ติดต่อช่างเฉลา  




เปิดสาเหตุพื้นทรุด พร้อมวิธีแก้ไขปัญหาแบบตรงจุด
 
หลายคนคงได้พบเจอกับปัญหาบ้านที่อยู่อาศัยพื้นทรุดกันแทบทั้งนั้น ถึงแม้ว่าบ้านที่เรารักนั้นได้รับการออกแบบใส่ใจ และดูแลรักษามาอย่างดีแล้วก็ตาม ปัญหาที่ว่านี้เกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งพื้นดินโดยรอบบริเวณบ้านทรุดตัว หรือดินยุบจนเกิดเป็นโพรงด้านใต้ เรียกได้ว่าเป็นปัญหาหลักที่บรรดาผู้อยู่อาศัยหลีกหนีกันไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารที่สร้างเอง หรือโครงการบ้านจัดสรร และเมื่อเกิดพื้นบ้านทรุดขึ้นมา หากเราไม่รีบแก้ไขอย่างทันท่วงทีก็จะเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่สร้างความกังวลใจได้อย่างมากมาย ทั้งเป็นปัญหากับตัวบ้านเอง แถมยังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง มด ปลวก เข้าไปทำรังอยู่ใต้บ้าน ทางที่ดีให้เราคอยสังเกตรอบ ๆ ตัวบ้านของเราอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดพื้นทรุด กระเบื้องแตก ก็อย่าได้นิ่งนอนใจ อย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด รีบหาทางจัดการให้เร็วที่สุด ส่วนจะทำอย่างไรด้บ้างนั้น วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกันกับทำอย่างไรเมื่อ พื้นทรุด กระเบื้องแตก เกิดโพรงใต้บ้าน สัญญาณอันตรายที่ต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที ช่างแก้บ้านทรุดเอียง


 
ปัญหาพื้นทรุด บ้านทรุด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
 
สาเหตุใหญ่ ๆ นั้นเกิดจากไม่มีโครงสร้างคานใต้ดิน หรือเสาเข็มรองรับ หรือมีในปริมาณหรือคำนวณที่ไม่มากพอ เป็นการสร้างบ้านหรือที่พักอาศัยแบบวางบนดิน (Slab on Ground)  ซึ่งจะต่างจากการสร้างบ้าน หรือที่อยู่อาศัยแบบโครงสร้างวางบนคาน (Slab on Beam) โดยจะมีคานหรือเสาเข็มยึดลึกลงไปถึงชั้นดิน ทำให้แน่นและสามารถรองรับน้ำหนักของตัวบ้านและป้องกันการทรุดตัวในระยะยาว โดยเฉพาะดินในพื้นที่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย จะมีดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวอ่อน ซึ่งมีอัตราการยุบตัวต่อเนื่อง เมื่อมีฝนตกบ่อย ๆ จะทำให้ดินเกิดการทรุดตัว และไหลลงสู่ที่ต่ำได้ง่าย ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคานบ้านกับพื้นดินจนเกิดเป็นพื้นทรุด หรือเป็นโพรงใต้บ้าน และอาจจะสร้างปัญหาต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่โดยรอบบริเวณบ้านเกิดการปริร้าว หรือโครงสร้างบ้านเป็นรอยแยกแตกนั่นเอง


 
6 วิธีสังเกตอาการพื้นทรุดในเบื้องต้น
1.พื้นบ้านแยกออกจากกัน พื้นบ้านแยกออกจากพื้นโรงจอดรถ หรือแยกออกจากส่วนต่อเติมบ้าน
2.ผนังบ้านเริ่มมีรอยร้าวเป็นทางยาว โดยสามารถพบเห็นได้รอบบริเวณบ้าน อาจมีตั้งแต่รอยร้าวแตกลายงาของผิวปูน และรอยร้าวขนาดใหญ่บริเวณผนังหรือ
3.พื้นบ้านทรุดตัวต่ำ หรือทางเดินเริ่มมีรอยแยก กระเบื้องปูพื้นเริ่มมีรอยแตก
4.ผนังหรือพื้นบ้านเอียง จนสังเกตได้ด้วยตาเปล่า
5.โครงสร้างคานบ้าน กับผนังแยกห่างออกจากกันจนเห็นชัด
6.เกิดดินทรุดตัวรอบ ๆ ตัวบ้าน หรือเกิดเป็นโพรงดินลึกใกล้ ๆ กับตัวบ้าน
 
พื้นทรุด และดินทรุด แตกต่างกันอย่างไร
           แม้จะเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อเนื่องถึงกัน แต่ก็เกิดขึ้นจากสาเหตุที่แตกต่างกัน เราควรสังเกตชัดเจนก่อนว่า พื้นทรุดหรือดินทรุด เพื่อจะได้แก้ไขได้ตรงจุด บางครั้งดินทรุดก็ไม่ได้ส่งผลให้พื้นทรุดหรือบ้านทรุด เพราะจริง ๆ แล้วปัญหาดินทรุดนั้นมักจะเกิดหลังจากการถมดิน หรือการก่อสร้างบ้าน หรืออาคารเสร็จเรียบร้อยประมาณ 1-2 ปี จากการถมดินปรับพื้นใหม่ เพื่อปรับพื้นที่หรือการเร่งการก่อสร้างที่รวดเร็วเกินไป โดยไม่รอให้ดินเซ็ตตัวให้แน่นก่อน เมื่อฝนตกจึงทำให้ดินทรุดตัว อีกทั้งยังส่งผลให้ดินไหลไปยังบริเวณใต้บ้าน การสังเกตว่าดินทรุดตัวหรือไม่
 
1.เกิดดินทรุดรอบ ๆ บริเวณขอบตัวบ้าน แล้วไหลเข้าไปใต้บ้านทำให้เกิดเป็นโพรง
2.พื้นรอบบ้านหรือพื้นบริเวณที่จอดรถที่เชื่อมต่อกันนั้นเกิดการทรุดตัวแยกจากตัวบ้าน
3.ดินบริเวณใต้บ้านเกิดทรุดตัวจนมองเห็นเสาหรือคานโผล่ออกมา
4.ระบบคานเชื่อมต่อต่าง ๆ ใต้บ้านขาด หรือแยกออกจากกัน


 
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาพื้นทรุดหรือดินทรุด
           ดินทรุดส่วนใหญ่แล้วเกิดจากปัญหาทางธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ต้องค่อย ๆ แก้ปัญหาไปตามสภาพ หากบ้านหรือที่พักอาศัยสร้างและวางรากฐานที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ก็จะไม่เกิดผลกระทบใด ๆ กับตัวบ้าน แต่ในทางกลับกันหากรากฐานของบ้านไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถรองรับกับการทรุดตัวของดิน ปัญหาดินทรุดย่อมก่อให้เกิดปัญหาพื้นทรุดตามมาได้เช่นกัน
 
1. เสาเข็มสั้นเกินไป ทำให้รับแรงแบกได้น้อย
          หากชั้นดินอ่อนตัว หรือชั้นดินที่อยู่บริเวณรอบเสาเข็มยุบตัวลงหรือเคลื่อน จะทำให้น้ำหนักส่งจากเสาลงสู่ดินเร็วเกินไป และส่งผลให้เสาเข็มที่สั้นเกินไปทรุดตัวลงได้ง่ายด้วย เสาเข็มที่นิยมใช้จะมีความยาวตั้งแต่ 8-20 เมตร ขึ้นอยู่กับลักษณะดินในพื้นที่นั้น ๆ
 
2. เสาเข็มชำรุด
          อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่บ้านเกิดพื้นทรุดอาจจะเกิดจากเสาเข็มแตกหัก หรือแยกขาดออกจากกัน โดยอาจจะมาจากขั้นตอนการติดตั้งเสาเข็มที่ไม่ได้ตรวจตราให้ดี หรือตอนตอกเสาเข็มที่แรงเกินไปทำให้เกิดปัญหาแตกร้าว เมื่อปักเสาเข็มชำรุดลงดิน ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านน้ำหนักลงไปสู่ชั้นดินที่แน่นได้
 
3. เสาเข็มอยู่บนชั้นดินที่ต่างชนิดกัน
          การที่ปลายเสาเข็มบางส่วนของบ้านพักอาศัยอยู่ในชั้นดินที่ต่างกัน เช่น ปลายเสาด้านหนึ่งอยู่ในชั้นดินเหนียว หรือชั้นทราย แต่ปลายเสาเข็มอีกด้านหนึ่งอยู่ในชั้นดินอ่อน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้รากฐานโยกคลอน เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน


 
4. เสาเข็มไม่ตรงกับเสาบ้าน
         บ้านพักอาศัยที่ใช้การปักเสาเข็มเดี่ยวมักเกิดปัญหาพื้นทรุดตัว เนื่องจากเสาบ้านไม่ตรงกับเสาเข็ม ทำให้ฐานด้านล่างเกิดการพลิกตัว กรณีนี้จะไม่พบเห็นรอยร้าวโครงสร้างส่วนบน
 
5. ดินเกิดการเคลื่อนที่
          อาจจะเกิดจากผลกระทบ สภาพแวดล้อมจากบริเวณรอบนอก เช่น มีการขุดดินจากที่ดินข้างเคียง หรืออยู่ใกล้กับจุดที่กำลังมีการก่อสร้าง มีการขุดดินขาย มีการตอกเสาเข็มด้วยปั้นจั่น แรงสั่นสะเทือนก็มีส่วนทำให้ดินในพื้นที่ใต้โครงสร้างบ้านของเรา เคลื่อนตัวจนดันเสาเข็มให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม ทำให้พื้นทรุดลงได้เช่นกัน
 
6. เสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนัก
         หากเราถมที่ใหม่ ๆ แล้วรีบทำการก่อสร้าง โดยไม่รอให้ดินเซ็ตตัวให้คงที่ ทิ้งระยะไว้ไม่นานพอ โดยเฉพาะหากช่วงที่มีฝนตกหนักอาจทำให้ดินที่ถมไว้เกิดทรุดตัวและไหลลงสู่ที่ต่ำ ทำให้ดินอยู่ในสภาพไม่ยึดแน่นเคลื่อนไหล จนทำให้เสาเข็มไม่สามารถแบกรับน้ำหนักได้ก่อนสร้างบ้าน หรือที่พักอาศัยจึงควรถมดินทิ้งไว้ก่อนอย่างน้อย 2-3 ปี



std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ แก้บ้านทรุดเอียง ปัญหาที่เจอบ่อยๆ มักเกิดจาก...  ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ เสาเข็มแตกหัก ดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุด รอยแตกร้าวบนตัวบ้าน พื้นดินยุบเป็นโพรง  ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
 
รู้จักเรา std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
- ทีมช่างแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-serves แก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจบริการช่างแก้บ้านทรุดเอียง
 ต้องที่  std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง เท่านั้น
 
 ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านตลาดสดสะพานควาย (ตลาดศรีศุภราช)
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านวัดไผ่ตัน
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านโรงเรียนวัดไผ่ตัน
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านศูนย์บริการสาธารณสุข 11 ประดิพัทธ์
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านตลาดนัดจตุจักร
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านตลาด อ.ต.ก.
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านกรมการขนส่งทางบก
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ย่านโรงเรียนช่างฝีมือปัญจวิทยา
Engine by shopup.com