ช่างแก้บ้านทรุดเอียง อำเภอธัญบุรี

หมวดหมู่สินค้า: ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
STD Serve ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด รับแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ แก้บ้านทรุดเอียง ปัญหาที่เจอบ่อยๆ มักเกิดจาก… ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ เสาเข็มแตกหัก ดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุด รอยแตกร้าวบนตัวบ้าน พื้นดินยุบเป็นโพรง ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง

07 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 15 ผู้ชม

บริการแก้บ้านทรุดเอียง อำเภอธัญบุรี

รับดีดบ้าน โทร 092-2543360  รับยกบ้านต่ำทำให้สูง หมุนบ้านทั้งหลังให้ได้ทางทิศทางที่ท่านต้องการ โดยรับงานทั้ง บ้านปูน บ้านไม้ บ้านชั้นเดียว ตึกอาคาร ศาลาวัด เมรุ ซุ้มประตูวัด อาคารโรงเรียน โดยทีมงานที่ชำนาญงาน ในสายงานที่มากกว่า 20 ปี บริการรับงานทั่วไทย ดูหน้างานฟรีๆทั่วไทย

          


ติดต่อช่างเฉลา  




บ้านทรุด เกิดจากสาเหตุที่อะไรบ้าง
 
สิ่งต้องพิจารณาสาเหตุที่ทำให้ บ้านทรุด คือ เสาเข็มเยื้องศูนย์ ถ้าตำแหน่งเสาของอาคารไม่ตรงกับศูนย์กลางของกลุ่มเสาเข็มอันเนื่องจากการวางตำแหน่งเสาเข็มผิดพลาดหรือ เกิดความคลาดเคลื่อนขณะติดตั้งเสาเข็ม และ ตำแหน่งที่ผิดพลาดนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งอาคาร โดยเฉพาะถ้าเป็นฐานรากเสาเข็มเดี่ยว ฐานรากจะพลิกตัวไปในทิศทางเดียวกันทำให้อาคารทรุดเอียงทั้งหลัง เป็นการทรุดเอียงทั้งระนาบลักษณะเช่นนี้อาคารจะไม่แตกร้าวเพราะไม่มีแรงดึงรั้งภายในโครงสร้าง แต่ถ้าการเยื้องศูนย์เกิดขึ้นกับฐานรากบางฐานจะทำให้เกิดการทรุดตัวแตกต่างและทำให้เกิดรอยร้าวที่ผนัง และ โครงสร้าง ช่างแก้บ้านทรุดเอียง



 
ดังนั้น ถ้าไม่มีรอยแตกร้าวให้พบเห็นตามคำบอกเล่าของผู้พักอาศัยสาเหตุเรื่องการเยื้องศูนย์จึงเข้าข่ายที่เป็นไปได้ แต่การก่อสร้างที่มีผู้ควบคุมดูแลใกล้ชิดไม่น่าจะมีกรณีเสาเข็มเยื้องศูนย์ทุกฐาน สาเหตุประเด็นนี้จึงสมควรตัดทิ้งด้วยเช่นกัน
 
อีกประการที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ เสาเข็มรับน้ำหนักไม่เพียงพอ ส่วนมากที่พบเห็นสำหรับอาคารทรุดเอียงมักจะเกิดจาก เสาเข็มชนิดที่ปลายล่างไม่ได้หยั่งในชั้นทราย ซึ่งตามศัพท์ทางวิศวกรรมจะเรียกว่า ? เสาเข็มรับแรงเสียดทาน ? หรือFriction pile เสาเข็มประเภทนี้อาศัยแรงยึดเกาะระหว่างดินกับผิวเสาเข็มเป็นแรงต้านทานน้ำหนักที่กดลงบนหัวเสาเข็ม เสาเข็มพวกนี้จะทรุดตัวมากกว่าเสาเข็มที่ปลายอยู่ในชั้นทราย และ ปริมาณการทรุดตัวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุก ถ้าใช้เสาเข็มประเภทรับน้ำหนักอาคารต้องคำนึงเรื่องน้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแต่ละต้น ( Load / pile ) ให้มีค่าใกล้เคียงกัน ถ้ามีความแตกต่างกันมากจะทำให้อาคารทรุดเอียงโน้มไปทางด้านที่มีน้ำหนักกดลงมาก และนั่นก็คือ อาคารทรุดเอียงไปทางด้านที่เป็นตำแหน่งศูนย์รวมของน้ำหนัก


 
สำหรับอาคารที่ยกตัวอย่างมาพิจารณาสาเหตุประการหลังนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะอาคารที่ทรุดเอียงจะไม่แตกร้าวให้เห็น  และ การทรุดตัวประเภทนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นไม่รวดเร็วจึงทำให้อยู่มาได้นานเป็น 10 ปี ตรงกับคำบอกเล่าของเจ้าของอาคารทุกประการสำหรับคำถามที่ว่าแล้วทำไมจึงไม่เกิดเหตุการณ์ทรุดตัวฉับพลันในภายหลัง ? เมื่ออาคารทรุดเอียงถึงระดับหนึ่งเสาเข็มบางต้นอาจหักหรือหลุดจากฐานรากทำให้เกิดการกระตุกลงแบบฉับพลันแบบ Domino
 
ทุกครั้งที่เกิดเหตุทรุดตัวจมลงดินในลักษณะนี้ เมื่อขุดดินลงไปดูฐานรากเพื่อหาสาเหตุ จะพบว่าฐานรากพลิกตัวและเสาเข็มแตกหัก และมักจะสรุปว่า เป็นเพราะเสาเข็มแตกหักจึงทำให้อาคารทรุดจม การสรุปเช่นนี้ยังถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะ เหตุที่อาคารทรุดจมจริง ๆ อาจไม่ได้เกิดจากเสาเข็มช่วงบนหัก เสาเข็มมาหักภายหลังจากการกระตุกลงของอาคาร ถ้าเสาเข็มช่วงบนแตกหักน่าจะพบเห็นและมีการแก้ไขมาตั้งแต่   ตอนก่อสร้างแล้ว หรือถ้าไม่แก้ไขในตอนนั้นก็ควรจะเกิดปัญหาทรุดตัวและอาคารแตกร้าวมาก่อนหน้านี้ ดังนั้นการสำรวจตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงควรทำการเจาะสำรวจสภาพชั้นดิน ตรวจสอบความยาวเสาเข็มที่ฝังอยู่ในดิน เพื่อพิจารณาว่าปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินประเภทใด นำแบบแปลนมาวิเคราะห์น้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแต่ละต้นว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด จึงจะให้พิจารณาหาสาเหตุที่ถูกต้องแน่นอนได้
 
สาเหตุหลักที่ทำให้ บ้านทรุด
 - เสาเข็มอยู่ในดินอ่อน เสาเข็มสั้นเกินไปหรือยาวไม่เพียงพอ ปลายเสาเข็มไม่หยั่งลงในชั้นดินเหนียวแข็งหรือทรายแน่น
- เสาเข็มบกพร่อง เสาเข็มแตกหรือหักจากการขนส่ง หรือ ขณะกดลงดิน ถ้าเป็นเสาเข็มเจาะอาจเกิดการคอดหรือขาดขณะถอนปลอกเหล็กกันดิน
- เสาเข็มเยื้องศูนย์ ศูนย์กลางเสาเข็ม หรือ กลุ่มเสาเข็มเยื้องตำแหน่งกับเสาอาคาร น้ำหนักที่กดลงทำให้ครอบหัวเสาเข็มพลิกตัวลักษณะเช่นนี้มักพบมากกับฐานรากเสาเข็มต้นเดียวที่ตอกผิดตำแหน่งแล้วแก้ไขไม่ถูกวิธี
- ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิด การเลือกใช้เสาเข็มยาวเท่ากันไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดปัญหา หากปลายเสาเข็มส่วนหนึ่งอยู่ในดินแข็งหรือทรายแน่น ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งอยู่ในชั้นดินอ่อน เสาเข็มจะทรุดตัวไม่เท่ากัน
- ดินเคลื่อนไหล อาจเป็นเพราะมีการขุดดินบริเวณข้างเคียง หรือ ดินริมฝั่งน้ำทำให้ดินใต้อาคารเสียเสถียรภาพ เกิดการเคลื่อนไหลของดินออกจากใต้อาคาร หากดินที่เคลื่อนไหลมีปริมาณมากๆ จะทำให้ครอบหัวเสาเข็ม ( ฐานราก ) และ เสาเข็มถูกดันเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม และ อาจทำให้เสาเข็มหลุดออกจากครอบหัวเสาเข็มได้


 
ทำไม....อาคารจึงทรุดตัว และการทรุดตัว มีสาเหตุหลักๆ มาจากอะไร?
 
1. การก่อสร้างอาคารในระบบฐานรากตื้น เช่น ใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร, เข็มไม้, ฐานรากแผ่, หรือพื้นชนิดวางบนดิน โดยเฉพาะชั้นดินในกรุงเทพและปริมณฑล ดินชั้นบนมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เกิดการยุบอัดตัว หรือทรุดตัวได้มาก กรณีเช่นนี้ถือว่าไม่อันตรายแต่อย่างใด ถ้าโครงสร้างมีการทรุดตัวเท่าๆ กัน
 
2. การก่อสร้างที่ใช้ระบบฐานรากเสาเข็มที่มีความยาวแตกต่างกัน เช่น งานต่อเติม, ดัดแปลง เป็นต้น ในกรณีนี้ถ้าดำเนินการก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ไม่มีการตัด Joint หรือมีการเชื่อมโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดเข้ากับตัวบ้าน อาจเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน, ทรุดร้าว, ทรุดเอียง ถ้ามีการเชื่อมโครงสร้างกับโครงสร้างเดิม อาจเกิดการยึดรั้งและส่งผลกับโครงสร้างเดิมด้วย โดยถ้าโครงสร้างหลักมีการแตกร้าวถือว่าเป็นการทรุดที่อันตราย จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกร เพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็ว


 
3. ความบกพร่องของเสาเข็มเอง เช่น เสาเข็มหัก, เสาเข็มชำรุด, เสาเข็มเดี่ยวเยื้องศูนย์, ฐานรากพลิก, เสาเข็มตอกไม่ได้ Blow Count เป็นต้น ส่วนใหญ่จะรู้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเกิดความบกพร่องให้เห็น เช่น ผนังร้าวในแนวทแยง 45 องศา คล้ายๆ กันในทุกชั้น, มีเสียงโครงสร้างลั่น เป็นต้น ถือเป็นการทรุดที่อันตรายและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเช่นเดียวกัน
 
4. การออกแบบฐานรากที่ผิดพลาด เช่น ไม่มีการเจาะสำรวจดิน, น้ำหนักบรรทุกจริงที่ถ่ายลงเสาเข็มต่อต้น ในแต่ละฐานรากไม่เท่ากัน เป็นต้น
 
เราจะรู้ได้อย่างไร...ว่าอาคารของเราเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน?
 
1. ระดับพื้นอาคารเอียง อาจทดสอบได้โดยการถ่ายระดับน้ำหรือกลิ้งวัตถุทรงกลมบนพื้นเพื่อตรวจสอบระดับที่แตกต่างกัน
 
2. เกิดการแตกร้าวเป็นมุมเฉียง 45 องศาที่ผนัง และแตกทะลุจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง (เช่นแตกทะลุจากด้านนอกเข้ามาด้านใน) โดยรอยแตกที่กว้างและยาวขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาทีเ่ปลี่ยนไป แสดงถึงการทรุดตัวที่มากขึ้น
 
3. ประตูหน้าต่าง เปิดปิดไม่เข้า หรือประตูหน้าต่างเปิดปิดได้เอง (เนื่องจากอาคารเสียระดับหรือเอียง)
 
4. โครงสร้างหลักมีการแตกร้าว เช่น เสา คาน พื้น โดยอาการของการแตกร้าวจะแตกต่างกันออกไป รวมถึงมีเสียงแตกลั่นในบางครั้ง
 
5. กรณีส่วนต่อเติมทรุด ปัญหาแตกร้าว รั่วซึม จะเกิดขึ้นชัดเจนที่รอยต่อ พื้น ผนัง และหลังคาส่วนต่อเติมชนกับตัวบ้านเดิม



std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ แก้บ้านทรุดเอียง ปัญหาที่เจอบ่อยๆ มักเกิดจาก...  ความยาวของเสาเข็มไม่เพียงพอ เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่พอ เสาเข็มแตกหัก ดินเกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุด รอยแตกร้าวบนตัวบ้าน พื้นดินยุบเป็นโพรง  ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
 
รู้จักเรา std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง
- ทีมช่างแก้บ้านทรุดเอียง ซ่อมแซม ออกแบบแก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- ช่างแก้บ้านทรุดเอียง โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-serves แก้บ้านทรุดเอียง ทุกรูปแบบ
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจบริการช่างแก้บ้านทรุดเอียง
 ต้องที่  std-serves ช่างแก้บ้านทรุดเอียง เท่านั้น
 
 ช่างแก้บ้านทรุดเอียง บึงน้ำรักษ์
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง บึงยี่โถ
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง บึงสนั่น
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ประชาธิปัตย์
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง รังสิต
ช่างแก้บ้านทรุดเอียง ลำผักกูด
Engine by shopup.com