ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม ใช้ประกอบร่วมกับแผนที่ธรณีวิทยาและแผนที่อุทกธรณีวิทยา เพื่อใช้วิเคราะห์โครงสร้างที่เหมาะสม สำหรับการเกิดแหล่งน้ำบาดาล เช่น รอยเลื่อนและระบบรอยแตกของหิน
2. สำรวจภาคสนาม
การสำรวจเส้นทางคมนาคมและพื้นที่ที่จะทำการพัฒนา ได้แก่ สภาพหมู่บ้าน ประชากร ฯลฯ
การสำรวจด้านธรณีวิทยา เพื่อให้ทราบชนิดและลักษณะของหิน ทั้งนี้ เพราะหินต่างชนิดจะมีเนื้อหิน ความพรุนที่ต่างกัน ตลอดจนลักษณะของรอยแตก หรือรอยเลื่อน ฯลฯ
การสำรวจด้านอุทกธรณีวิทยา (สภาพแหล่งน้ำบาดาล) : ได้แก่ การสำรวจข้อมูลบ่อน้ำตื้น บ่อน้ำบาดาล รวมทั้งแอ่งน้ำธรรมชาติ เช่น หนอง บึง สระ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ฝาย เขื่อน เป็นต้น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของน้ำผิวดินและน้ำบาดาลในบริเวณนั้น
การสำรวจด้านธรณีฟิสิกส์ เช่น การสำรวจวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือน การวัดค่าสนามแม่เหล็ก แต่วิธีที่นิยมใช้กันเพราะให้ผลแม่นยำสูงคือ การสำรวจวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า ซึ่งผลการสำรวจโดยวิธีนี้สามารถนำมาคำนวณเพื่อประเมินลักษณะของชั้นน้ำบาดาลว่าเป็นชั้นน้ำบาดาลในชั้นกรวดทราย หรือในหินชั้นรอยแตก หรือเป็นโพรงในชั้นหิน ตลอดจนสามารถคำนวณความลึก ความหนา ของชั้นน้ำบาดาล และคุณภาพน้ำได้ว่าเป็นน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม
3. คัดเลือกสถานที่
เมื่อผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายแล้วจะสามารถบอกถึงผลการสำรวจได้ คือ ชนิดของชั้นน้ำบาดาล เช่น เป็นชั้นกรวดทราย หรือเป็นหินแข็งที่มีรอยแตก ความลึกของชั้นน้ำบาดาล คุณภาพน้ำ กำหนดประเภทของเครื่องจักรเจาะบ่อที่เหมาะสมกับชั้นน้ำบาดาลได้
ดังนั้น จึงสามารถสรุปผลการสำรวจเพื่อกำหนดสถานที่จุดเจาะที่เหมาะสมได้ ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
4. เจาะบ่อน้ำบาดาล วิเคราะห์ชั้นดิน / หิน
จากข้อมูลในขั้นตอนข้างต้นจะทำให้สามารถคัดเลือกเครื่องจักรเจาะบ่อ ที่เหมาะสมกับชนิดหิน และความลึกของชั้นน้ำบาดาล นอกจากนั้นแล้วต้องเลือกช่างเจาะที่มีความชำนาญสูง เพื่อให้ได้ผลการเจาะที่สมบูรณ์และไม่เกิดการผิดพลาด เช่น เกิดปัญหาก้านเจาะขาด หัวเจาะตกลงไปในบ่อ ฯลฯ ในระหว่างการเจาะจะต้องมีการเก็บตัวอย่างดินและหินที่ได้จากการเจาะเพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิง และนำไปสู่การวิเคราะห์ชั้นน้ำบาดาลเพื่อให้ทราบว่าจะมีน้ำบาดาลหรือไม่
สำหรับในบางพื้นที่ เช่น ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ในภาคใต้ที่ติดกับชายทะเล มักจะมีปัญหา
ในการเจาะพบน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม ซึ่งในกรณีนี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบชั้นน้ำบาดาลในหลุมเจาะด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องหยั่งธรณี (Electrical Logger) ทำให้สามารถระบุความลึกของชั้นน้ำบาดาลได้ละเอียดและแม่นยำ สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำว่าเป็นน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็มได้ ทำให้การก่อสร้างบ่อไม่เกิดความผิดพลาด
5. ออกแบบและก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล
จากผลการวิเคราะห์ชั้นน้ำบาดาลทำให้สามารถนำมาออกแบบบ่อน้ำบาดาล และก่อสร้างบ่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนป้องกันความผิดพลาดในการระบุชั้นน้ำบาดาลที่ต้องการนำมาใช้ เช่น ช่วงความลึกของท่อกรอง ท่อเซาะร่อง จะต้องวางให้ตรงกับชั้นน้ำบาดาลที่คัดเลือกจากการวิเคราะห์ จากนั้นจึงใส่กรวดกรุข้างบ่อ ซึ่งเป็นกรวดที่มีขนาดเหมาะสมลงรอบ ๆ ท่อกรอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการไหลของน้ำบาดาลเข้าบ่อ และบริเวณเหนือชั้นกรวด ซึ่งเป็นท่อกรุบ่อนั้นต้องอุดข้างบ่อด้วยดินเหนียวสะอาดหรือฉีดด้วยซีเมนต์รอบ ๆ ข้างบ่อจนถึงบนผิวดิน เพื่อป้องกันน้ำเสียไหลซึมเข้าบ่อ
ข้อเสียน้ำบาดาล
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักกับ “น้ำบาดาล” มาก่อน น้ำบาดาลมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งในภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร โดยเฉพาะพื้นทีที่อยู่ห่างไกลทรัพยากรน้ำ หรือพื้นที่แห้งแล้ง การขุดเจาะน้ำบาดาลจากใต้ดินขึ้นมา ช่วยตอบสนองความต้องการใช้น้ำได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะใช้เพื่ออุปโภคหรือบริโภคก็ตาม อย่างที่ทุกคนทราบกันว่าน้ำบาดาลมีประโยชน์หลายด้าน แต่วันนี้ MITTWATER จะมาพูดถึง ข้อเสียน้ำบาดาล เพราะถึงแม้ว่าน้ำบาดาลจะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลย ไปดูกันว่าน้ำบาดาล มีข้อเสียอย่างไร
ข้อเสียน้ำบาดาลมีอะไรบ้าง
ข้อเสียน้ำบาดาลที่ 1 : สนิมเหล็ก
ปัญหาสนิมเหล็กมักพบบ่อยในน้ำบาดาล ส่งผลต่อคุณภาพน้ำที่ไม่มีความสะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ที่นำไปใช้ในการอุปโภคหรือบริโภค หากมีสนิมเหล็กสูงจะทำให้น้ำมีความกระด้าง และจะไม่สามารถบริโภคน้ำบาดาลได้เลย
ดังนั้นก่อนนำน้ำบาดาลไปใช้ต้องมีการกำจัดสนิมเหล็กก่อน เช่น การกรองสารละลายเหล็กด้วยทรายกรอง หรือการนำน้ำมาตกตะกอนด้วยการเติมอากาศ ถ้าต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีกรองน้ำบาดาล สามารถคลิกอ่านได้เลยที่บทความด้านล่างค่ะ มีเขียนข้อมูลบอกเอาไว้แล้ว
ช่างเจาะน้ำบาดาล สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี (หมีใหญ่)