ช่างซ่อมปั้มน้ำ 9

หมวดหมู่สินค้า: ช่างซ่อมปั้มน้ำ
STD Serve ช่างซ่อมปั้มน้ำ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด รับติดตั้ง ซ่อมแซม ออกแบบงานช่างซ่อมปั้มน้ำ ทุกรูปแบบ ศูนย์รวมสินค้างานช่างซ่อมปั้มน้ำ โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ งานช่างซ่อมปั้มน้ำ เหตุผลในการจ้างช่างซ่อมปั้มน้ำมืออาชีพเท่านั้น ประหยัดค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย ประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง

04 มิถุนายน 2566

ผู้ชม 57 ผู้ชม

บริการซ่อมปั้มน้ำ

ปั๊มน้ำอัตโนมัติ แบบ ปั๊มน้ำถังกลม กับ ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม แตกต่างกันอย่างไร ?
 
ปั๊มอัตโนมัติ แบบ ถังกลม กับ ถังเหลี่ยม
 
บทความนี้ จะพูดถึง ความแตกต่างระหว่าง ปั๊มน้ำ 2 รูปทรง ได้แก่ ปั๊มน้ำถังกลม และ ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม ว่าแม้ว่ามันจะ แตกต่างกัน ในลักษณะของกายภาพแล้ว ในทางด้านของ ประสิทธิภาพ ความสามารถ รวมไปถึง วัตถุประสงค์ ของการใช้งานก็ยังต่างกันอีกด้วยเช่นกัน โดยในบทความนี้ จะมานำเสนอให้ทุกท่านได้ทราบ ช่างซ่อมปั้มน้ำ



 
ปัญหาของปั๊มน้ำที่เคยพบเห็น
หากพูดถึงเรื่องของ ปัญหาหลักอย่างนึงของพักอาศัย แบบเดี่ยวๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว (Detached House หรือ Single House) ทาวน์โฮม (Town Home) หรือ ตึกแถวเล็กๆ (Commercial Building) นั้น คงจะหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องของแรงดันน้ำ (Water Pressure) ของที่พักอาศัย ว่าชั้นล่างน้ำแรง ชั้นบนน้ำอ่อน
 
หรือว่า ถ้าใครอยู่ใกล้สถานีสูบจ่ายน้ำของการประปาฯ ก็อาจจะโชคดีหน่อยที่ น้ำอาจจะแรง ส่งตรงถึงทุกชั้น แต่ส่วนมาก ก็จะประสบปัญหาเดียวกันคือ ถ้าผู้พักอาศัยเปิดใช้น้ำพร้อมๆ กันเช่น คุณลูกอาบน้ำ คุณแม่เปิดน้ำล้างจาน คุณพ่อล้างรถ ละก็ อาจจะพบกับสถานการณ์ แรงดันน้ำอ่อน ก็ได้เช่นกัน
 
ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีการนำเอาสิ่งที่เรียกว่า “ปั๊มน้ำ (Water Pump)” ที่ใช้กันตาม ที่พักอาศัย มาใช้กันมายาวนาน แต่ไหนแต่ไรแล้ว เพราะปั๊มน้ำจะเป็น อุปกรณ์ที่จะเข้ามา ช่วยเพิ่มแรงดันน้ำให้สูงขึ้น ส่งตรงถึงทุกก๊อกน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้น้ำ อย่าง เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องกรองน้ำ ต่างๆ ภายในบ้าน อย่างทั่วถึง


 
ผมเองมีประสบการณ์ การใช้ปั๊มน้ำมา มากกว่า 30 ปี (เริ่มตั้งแต่เด็กๆ ประถมเลย) สมัยที่ยังอาศัย อยู่บ้านเดี่ยว ก็มีประสบการณ์มากมาย กับการใช้ปั๊มน้ำมาอยู่พอสมควร เช่นกัน โดยปั๊มน้ำที่ใช้คือ ปั๊มน้ำถังกลม หรือ ชื่อเป็นทางการคือ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน (Automatic Water Pump with Pressure Tank) นี่แหละ โดยปัญหาส่วนใหญ่ หลักๆ ที่พบเจอคือ
 
น้ำเดินแรงบ้างเบาบ้าง : อันนี้ถือเป็นปัญหาปกติทั่วๆ ไป ถึงแม้ว่าจะมีหรือไม่มีปั๊มน้ำ ก็ตาม ถ้าหากว่า สมาชิกในครอบครัว พร้อมหน้าพร้อมตากันใช้น้ำ ละก็ น้ำก็สามารถไหลเบาได้เช่นกัน ซึ่งปั๊มน้ำแบบอัตโนมัตินั้น จะมีช่วงเวลาทีน้ำไหลแรง และ เดินเบา สลับกันไป เป็นปกติ สาเหตุมาจาก เครื่องตัดบ่อย ขึ้นอยู่กับแรงดัน ในถังความดัน
ปั๊มน้ำตัดบ่อย หรือ ทำงานตลอดเวลา : เวลาเจอปัญหาแบบนี้ บอกได้เลยว่า “งานเข้า” เพราะตัวเครื่องจะค่อนข้างร้อน ไปจนถึง ร้อนมากๆ (บางที ปิดน้ำอยู่ เครื่องก็ทำงานเองแบบ เปิดๆ ปิดๆ บ้าง) จำเป็นที่จะต้องมา เปิดไล่น้ำ ออกจากระบบ ผ่าน วาล์วอากาศ (Air Valve) ที่อยู่ บนฝาเครื่องด้านบน ซึ่งจากประสบการณ์ ที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ พอไปเปิด วาล์วอากาศ ด้านบนทันทีนั้น น้ำจะพุ่งจุ๊ดยังกะ บ่อน้ําพุร้อน เลยทีเดียว ทั้งเปียก ทั้งร้อน ทั้งกลัวไฟช็อต ไฟรั่ว อีก เพราะด้านล่างเป็นชุดสายไฟ ของ ระบบไฟปั๊มน้ำ อีก เสี่ยงชีวิตสุดๆ
ปั๊มน้ำรั่ว : เนื่องจากปั๊มน้ำทรงกลม จะมี ถังความดัน (Pressure Tank) อยู่ด้านล่าง โดยถังนี้ ส่วนใหญ่ จะทำมาจากวัสดุสแตนเลส ด้านในเป็น ครึ่งน้ำ ครึ่งอากาศ (อากาศอยู่ส่วนบนของถัง และ น้ำอยู่ด้านล่างของตัวถัง) และแน่นอน ขึ้นชื่อว่าเป็น ถังความดัน ก็ย่อมมี ความดัน (Pressure) (ชื่อมันก็บอกอยู่แล้ว นิหน่า)โดยเมื่อใช้กันไปนานๆ ตรงตะเข็บ ที่ใช้เชื่อมระหว่างสแตนเลส ก็จะมีน้ำซึมออกมา ทีละเล็กทีละน้อย ในที่สุดก็รั่วออกมาเยอะๆ เสียเวลามาเชื่อม หากเชื่อมไม่ดี ก็ไม่หาย เป็นแล้วเป็นอีก อยู่นั่นแหละ สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยน ถังความดัน ไป เสียเงินกันไปอีก และ ถ้าหากถังความดัน ทำมาจากวัสดุเหล็ก ด้วยละก็ อาจจะได้บริโภคสนิม แถมไปเป็นสารอาหาร ได้อีกด้วย
พูดถึงปัญหาของ ปั๊มน้ำมาเสียยืดยาว จึงลองศึกษาหาความรู้ เปรียบเทียบหลักการ การทำงาน ต่างๆ ของตัวเครื่อง ระหว่าง
 
ปั๊มน้ำถังกลม ชื่อทางการ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน (Automatic Water Pump with Pressure Tank)
ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม ชื่อทางการ ปั๊มน้ำแรงดันคงที่ (Constant Pressure Water Pump)


 
ก็สรุปได้ใจความดังนี้
 
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน (Automatic Water Pump with Pressure Tank)
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน หรือบางคนเรียกว่า ปั๊มน้ำถังกลม จัดว่าเป็นปั๊มน้ำยุคแรกๆ ที่เข้ามามีบทบาทกับพวกเราเลยก็ว่าได้ หน้าที่ของมันคือ จะดูดน้ำเข้ามาพักเก็บเอาไว้ที่ถังเหล็ก (หรืออาจจะทำจากสแตนเลส) ที่อยู่ด้านล่างของตัวเครื่อง ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ เรียกว่า “ถังความดัน” หรือผู้ผลิต บางเจ้าเรียก “ถังแรงดัน” (Pressure Tank) ก็แล้วแต่จะเรียกกันไป
 
หลักการ การทำงานของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน ประเภทนี้ คือ ปั๊มจะทำการดูดน้ำเข้าไปใน ถังความดัน เพื่อให้น้ำเข้าไปแทนที่อากาศ ที่อยู่ในถังความดัน (โดยเฉลี่ยแล้ว จะได้ประมาณครึ่งนึง ในถังความดัน) เมื่อน้ำและอากาศอัดอยู่ด้วยกัน (เหมือนลูกบอล หรือ ลูกโป่ง ที่สูบลมไปเต็มๆ จนใกล้แตก) เวลาเราเปิดก๊อกน้ำ หรือ กดชักโครก น้ำก็จะถูกปล่อยออกมา ไปยัง จุดใช้น้ำต่างๆ ในบ้านเรา หรือ อาคารต่างๆ ด้วยความแรง สาเหตุเพราะ น้ำที่เข้าไปอยู่ในถังความดัน จะถูกอากาศที่อยู่ด้านบนของถัง บีบอัดต่อลงมา ให้น้ำไหลออกแรงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
 
ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน นี้ คือประเภทที่ผมได้กล่าวมาด้านบน (ปัญหาข้อที่ 3) นั่นก็คือ ตรงถังความดัน นั้นจะมีโอกาสเสี่ยงสูง ที่จะรั่วออกมา เพราะถังความดัน ก็จะมีความดันอยู่ตลอดเวลา (แม้จะปิดปั๊มน้ำ อยู่ก็ตาม) ประกอบกับสภาพแวดล้อม ของบ้านเรา ที่เป็นแบบ ร้อนชื้น แถมมีทั้ง ฝนตก แดดออก ตลอดเวลา และเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ถังความดัน ซึ่งภายในเก็บทั้งน้ำ เก็บทั้งอากาศ นี้ก็ย่อมมีวันผุกร่อน จนในที่สุด ก็จะมีน้ำซึม และ รั่วออกมา ซึ่งหากเป็นถังเหล็ก ก็จะมีความเสี่ยงทั้งสนิม และ น้ำรั่วซึมตามตะเข็บต่างๆ หากเป็นแบบ สแตนเลส ก็จะเสี่ยงในเรื่องของการรั่วซึมตามตะเข็บ ด้วยเช่นกัน (สรุปว่าเสี่ยงทั้งคู่ จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย ก็เท่านั้นเอง)
 
แต่ทว่า ในปัจจุบัน ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน หรือ ปั๊มน้ำถังกลม ประเภทนี้ ก็มีการปรับปรุงพัฒนา ข้อเสียข้อด้อย จากในอดีตที่ผ่านมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนวัสดุถังจากเหล็ก เป็น สแตนเลส และ ทำให้มันไร้รอยเชื่อมต่อ หรือ รอยตะเข็บ เพื่อป้องกันการ รั่วซึมตามตะเข็บ ดังที่ได้กล่าวมา
 
ข้อดี ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน
Engine by shopup.com