รู้จักเรา STD House ต่อเติมหน้าบ้าน
- ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านงานต่อเติมหลังบ้าน มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- รับซ่อมแซมงานก่อสร้างทุกรูปแบบ
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย STD House ช่างต่อเติมหลังบ้าน
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน
3 จุดต่อเติมสุดฮิต… ที่มักเกิดปัญหาภายหลัง
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราซื้อบ้านจัดสรรมาเพื่อต่อเติมเองในจุดที่คล้ายๆกันทุกบ้าน เหตุผลในการต่อเติมคงไม่ต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นความต้องการเรื่องพื้นที่ที่มากขึ้น การระบายอากาศและมุมมองที่ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการใช้งานที่สะดวกขึ้น… เรื่องเหล่านี้อาจเกิดขึ้นมานานมากแล้วกับบ้านจัดสรร แต่ปัจจุบันบ้านจัดสรรส่วนมากก็ยังคงรูปแบบอาคารแบบเดิมอยู่ และผู้อยู่อาศัยก็ยังคงต้องต่อเติมเองแบบเดิมๆอยู่เช่นกัน
เราจึงลองหาจุดร่วมของการต่อเติมและบ้านเหล่านี้ เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะสร้างหรือซื้อบ้าน ลองมองหาบ้านที่ไม่ต้องมีการต่อเติมภายหลังหรือมีน้อยที่สุด หรือหากจะต่อเติม เราควรจะต่อเติมอย่างไรเพื่อความสวยงามและความปลอดภัยมากที่สุด
1. ทางเข้าหลักหน้าบ้าน
บ้านจัดสรรส่วนใหญ่มักออกแบบพื้นที่ตรงนี้เป็นเพียงพื้นที่ปูกระเบื้องยกระดับขึ้นมาประมาณ 20 – 30 เซนติเมตรก่อนที่จะเข้าตัวบ้าน และมักมีเสาขนาดใหญ่ทั้งสองข้างเป็นตัวกำหนดขอบเขตการใช้งาน ว่าไปแล้วพื้นที่ตรงนี้ทำอะไรได้ไม่มากนัก เพราะด้วยขนาดที่เล็กและเป็นทางเดินเข้า-ออกบ้าน ส่วนใหญ่จึงจะต่อเติมในลักษณะของการเพิ่มระเบียงให้สามารถใช้งานได้มากขึ้น
– การใช้งาน
กรณีนี้เราอยากได้พื้นที่ระเบียงที่อยู่บริเวณก่อนเข้าตัวบ้านมากขึ้น เพื่อการนั่งพักผ่อนสบายๆยามเย็น หรือใช้รับรองแขกหากมีงานเลี้ยงที่บ้าน แนวคิดในการออกแบบจึงเป็นการต่อเติมส่วนของระเบียงไม้ สร้างสวนแนวตั้ง พร้อมทั้งแนวกำแพงทึบที่แนวรั้ว เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้บริเวณนี้
– โครงสร้างและวัสดุ
ต้องแยกคานโครงสร้างส่วนที่ต่อเติมออกจากส่วนเดิมของบ้าน กรณีนี้อาจใช้เสาเข็มสั้นประมาณ 2 – 3 เมตรรับน้ำหนักก็น่าจะเพียงพอ ส่วนวัสดุที่ใช้ส่วนต่อเติมจำเป็นจะต้องตัดขาดจากส่วนอาคารเดิมเช่นกัน ส่วนที่เป็นพื้นไม้อาจใช้ไม้สังเคราะห์หรือไม้จริงก็ได้ แล้วแต่ความชอบและความเหมาะสม ส่วนผนังกรุหินที่อยู่ตรงข้ามประตูทางเข้าอาจต้องก่อผนังเพิ่มบางส่วน เพื่อให้เกิดการปิดล้อมที่เหมาะสำหรับพื้นที่พักผ่อนจริงๆ
2. สวนข้างบ้าน
มีหลายบ้านที่ประสบปัญหานี้ คือการที่พื้นที่ข้างบ้านมีขนาดกว้างพอที่จะจัดสวนหรือมีระเบียงไม้นั่งเล่นสบายๆได้ แต่ทำไมช่องเปิดที่ให้มากลับเป็นหน้าต่างเล็กๆที่มองออกไปได้เท่านั้น จะออกไปทีก็ต้องเดินอ้อมไปออกทางหน้าบ้านและมายังสวนนี้
– การใช้งาน
หากต้องการความสะดวกและช่องเปิดที่ใหญ่ขึ้น ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนจากหน้าต่างเล็กกลายเป็นประตูบานเปิดหรือบานเลื่อนก็ได้ สร้างระเบียงไม้พร้อมระแนงบังแดดเพื่อสร้างส่วนพักผ่อนนอกบ้าน อีกทั้งยังช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างภายในกับภายนอกให้ใกล้ชิดกันมากขึ้นด้วย
– โครงสร้างและวัสดุ
หากกลัวว่าจะเกิดการทรุดอาจใช้เสาเข็มสั้นประมาณ 2 – 3 เมตรรับน้ำหนัก ส่วนโครงสร้างที่รองรับพื้นไม้นั้นเป็นโครงคร่าวเหล็กที่ทาหรืออบน้ำยากันสนิมแล้ว เพื่อความทนทานต่อฝนและความชื้นมากกว่าโคร่งคร่าวไม้ และไม่ควรให้สัมผัสพื้นดินโดยตรง ส่วนเสาที่ทำหน้าที่รับระแนงไม้ด้านบนเป็นเหล็กกล่องขนาด 15 x 15 เซนติเมตร ทาสีกันสนิมและโทนสีที่ต้องการ ซอยด้วยเหล็กกล่องขนาด 5 x 5เซนติเมตร ห่างกันทุก 60 เซนติเมตรเพื่อติดตั้งไม้ระแนง
3. ครัวหลังบ้าน
ครัวเป็นสิ่งหนึ่งที่คนมักต่อเติมเพื่อการใช้งานที่สะดวกขึ้น เพราะลักษณะของครัวบ้านจัดสรรมักมีผนังรอบด้าน มีหน้าต่างระบายอากาศเพียงเล็กน้อย แถมยังมีประตูที่เชื่อมต่อกับภายในบ้านโดยตรงด้วย จึงอาจมีปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวนได้
– การใช้งาน
ครัวที่คนไทยนิยมและใช้งานได้สะดวกที่สุดคือครัวไทยแบบเปิดโล่ง มีเพียงหลังคาที่กันแดดกันฝน ส่วนที่เหลือนั้นละไว้เพื่อระบายอากาศและความชื้น เลือกซื้อบ้านจัดสรรครั้งต่อไป (ถ้ามีโอกาส) ลองดูครัวเป็นอันดับแรกๆก็ดีนะ ฉะนั้นการใช้งานของพื้นที่ที่ต่อเติมส่วนนี้ จึงเน้นการระบายอากาศและแสงแดดที่สามารถเข้าถึงได้ดีเป็นหลัก โดยอาจทำเคาน์เตอร์สำหรับปรุงอาหารที่นำเตาไปไว้อีกด้านหนึ่งของครัว ส่วนผนังที่ติดกับบ้านก็เป็นเคาน์เตอร์สำหรับเตรียมอาหารเพื่อส่วนต่อเข้าไปในบ้าน
– โครงสร้างและวัสดุ
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการต่อเติมครัวก็น่าจะเป็นเรื่องของงานระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบน้ำดี น้ำเสีย และแก๊สหุงต้ม ผนังที่อยู่ฝั่งตรงข้ามซึ่งก่อใหม่นั้นนอกจากจะเป็นส่วนที่ช่วยปกปิดเพื่อความเป็นส่วนตัวแล้ว ภายในหรือด้านหลังยังเป็นที่ซ่อนของงานระบบดังกล่าวด้วย
TIP1
ห้ามปูวัสดุคร่อมรอยต่อ เพราะการทรุดตัวและหดตัวที่ต่างกันของอาคารเดิมกับส่วนต่อเติม จะทำให้บริเวณรอยต่อของโครงสร้างมีการเคลื่อนตัว ซึ่งเป็นผลให้เกิดรอยแตกร้าวเสียหายได้ ในขั้นตอนการก่อสร้างเราจึงควรเว้นช่องว่างเล็กน้อยและใส่ตัวจบวัสดุลงไปในช่องนี้ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นกับรอยต่อในกรณีที่มีการทรุดตัว ซึ่งตัวจบเหล่านี้ก็มีขายหลากหลายทั้งแบบสเตนเลสและแบบที่เป็นยางยืด
TIP2
ควรใช้วัสดุที่เบาที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมผนัง เช่น ยิปซัมบอร์ด ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด หรือคอนกรีตมวลเบา ซึ่งจะมีน้ำหนักเบากว่าผนังอิฐมอญทั่วไป ทั้งหมดนี้ก็เพื่อลดภาระให้โครงสร้างเกิดปัญหาน้อยที่สุด
TIP3
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน ถนนนวมินทร์