รู้จักเรา STD House ต่อเติมหน้าบ้าน
- ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านงานต่อเติมหลังบ้าน มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- รับซ่อมแซมงานก่อสร้างทุกรูปแบบ
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย STD House ช่างต่อเติมหลังบ้าน
วิธีต่อเติมบ้านอย่างกฏหมาย ต้องขออนุญาต
ในการต่อเติมบ้านนอกเหนือจากเรื่องของกฎหมายและโครงสร้างแล้ว ยังมีเรื่องของการขออนุญาต สัญญาการก่อสร้าง และแบบก่อสร้างซึ่งมีผลต่อการต่อเติมบ้านพอสมควรเลยค่ะ ช่างต่อเติมหน้าบ้าน
ต้องของอนุญาตไหม ??
ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดว่าถ้าดัดแปลง-ต่อเติม อาคารจะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่บ้านของเราตั้งอยู่ค่ะ เช่น ถ้าอยู่กรุงเทพฯ ให้แจ้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดย ผ่านสำนักงานเขตกรุงเทพฯ ที่บ้านเราตั้งอยู่ หรือถ้าตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัดก็ให้ขอ หรือแจ้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยเดินเรื่องผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั่นเองค่ะ
แล้วแบบไหนถึงเรียกว่าดัดแปลง-ต่อเติม ?
กฎหมายได้กำหนดข้อยกเว้นกรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้างไว้ 5 กรณี ซึ่งหมายความว่าถ้านอกเหนือจากนี้จะต้องขออนุญาตค่ะ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หมายความว่า : ถ้าเพิ่ม-ลดพื้นที่มากกว่า 5 ตารางเมตร หรือมีการเพิ่มเสาหรือคาน จะต้องขออนุญาต
การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หมายความว่า : ถ้าเพิ่ม-ลดพื้นที่หลังคา มากกว่า 5 ตารางเมตร หรือมีการเพิ่มเสาหรือคาน จะต้องขออนุญาต
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิมหมายความว่า : ถ้าเราเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ด้วยวัสดุ คนละชนิดกับของเดิมจะต้องขออนุญาตค่ะ
การเปลี่ยนส่วนใดๆ ภายในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม หมายความว่า : ถ้าเราเปลี่ยนแปลงส่วนของอาคาร(ที่ไม่ใช่โครงสร้าง) ด้วยวัสดุอะไรก็ตามที่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10 % ต้องขออนุญาต
การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใดๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร และไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างอาคารเดิม หมายความว่า : ถ้าเรามีการ ต่อเติม เพิ่ม ลด ส่วนของอาคาร(ที่ไม่ใช่โครงสร้าง) ด้วยวัสดุอะไรก็ตามที่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10 % ต้องขออนุญาต
สัญญาก่อสร้างต้องทำอย่างไร ??
ในการว่าจ้างทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการก่อสร้างต่อเติม เจ้าของบ้าน (ผู้ว่าจ้าง) ควรร่างสัญญาด้วยตัวเองนะคะ บางคนคิดว่าไม่จำเป็นถ้าเป็นผู้รับเหมาที่รู้จักกันอยู่แล้ว แค่สัญญาตามตกลงปากเปล่าก็พอ แต่ถึงอย่างนั้นก็แนะนำว่ามีไว้ดีกว่าค่ะ ซึ่งการทำสัญญาว่าจ้างนั้นจะประกอบด้วยเอกสาร 3 อย่าง ดังนี้
สัญญาว่าจ้าง
สัญญาควรระบุว่าผู้รับจ้างเป็นใคร ควรมีเอกสารของบริษัทหรือสำเนาบัตรประชาชนประกอบ เพื่อระบุตัวตนให้ชัดเจน
ผู้ว่าจ้างมีจุดประสงค์อย่างไร หมายความว่าให้ทำอะไร ที่ไหน วงเงินเท่าไร รวมถึงระยะเวลาการก่อสร้างนานเท่าไร ซึ่งควรระบุเป็นวันที่ชัดเจน เป็นต้น
กำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ และกำหนดค่าปรับถ้างานล่าช้ากว่ากำหนด โดยทั่วไปแล้วมักคิดหน่วยเป็นวันค่ะ รวมถึงควรระบุงานเพิ่ม-ลด และค่าใช้จ่ายต่างๆที่ผู้รับจ้า (ผู้รับเหมา) ต้องรับผิดชอบ
แบบก่อสร้าง
ควรมีแบบให้ครบครอบคลุมทุกระบบ คือ แบบสถาปัตยกรรม แบบโครงสร้าง แบบงานระบบไฟฟ้า แบบงานระบบสุขาภิบาล และแบบงานระบบปรับอากาศ รวมถึง งานเฟอร์นิเจอร์หรือ ภูมิทัศน์ด้วยค่ะ
ใบราคา (Bill Of Quantity) :
เอกสารประกอบเกี่ยวกับราคาวัสดุและค่าก่อสร้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นภายในงานก่อสร้างทั้งหมด ควรมี 2 ชุดให้ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างอย่างละ 1 ชุดค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความ “ต่อเติมบ้านอย่างไรดี ? ไม่ให้มีปัญหาตามมา”
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน ถนนพรานนก
ช่างต่อเติมหน้าบ้าน แยกพรานนก