STD House ช่างประตูรั้วเหล็ก ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
ศูนย์รวมสินค้างานประตูรั้วเหล็ก ดำเนินงานโดยช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำงาน ประตูรั้วเหล็ก ประตูยืด ประตูรั้ว ประตูม้วน ประตูสแตนเลส ประตูอัลลอย ประตูเหล็ก ประตูสแตนเลสผสมไม้ ประตูอัลลอยด์ งานเหล็กดัด ประตูรั้วสแตนเลส ประตูรั้วบ้าน ประตูรั้วโรงงาน ระบบอัตโนมัติ สไตล์โมเดิร์น ทันสมัย รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง ช่างประตูรั้วเหล็ก
รู้จักเรา STD House ซ่อมประตูรั้วเหล็ก
- ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านงานประตูรั้วเหล็กมากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- รับซ่อมแซมงานประตูรั้วเหล็ก
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย STD House ช่างประตูรั้วเหล็ก
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจงานช่างประตูรั้วเหล็ก ต้องที่ STD House ช่างประตูรั้วเหล็ก เท่านั้น
รับซ่อม ประตู รั้วเหล็ก
เรื่องรั้วบ้านข้างเคียงกับกฎหมายรั้วบ้านที่คุณควรรู้
เรื่องรั้วบ้านกับเพื่อนบ้านข้างเคียงน่าจะเป็นปัญหาที่หลายๆคนอาจจะเคยปวดหัวกันมาบ้าง ยิ่งถ้ามีเรื่องกันถึงขั้นต้องฟ้องอะไรกันนี่อาจจะเสียเวลากันไปอีกเป็นปีเลยทีเดียว อย่ากระนั้นเลย Baania ขอพาคุณมารู้เรื่องเกี่ยวกฎหมายรั้วบ้านให้มากขึ้น ให้คุณกับเพื่อนบ้านของคุณเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันไปนานๆนะครับ
รั้วบ้านใครเป็นเจ้าของกันแน่?
ถ้าเป็นรั้วบ้านของบ้านจัดสรรจะมีระบุไว้ว่ารั้วบ้านถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างบ้านข้างเคียงหรือรั้วข้างบ้าน รั้วจะถูกวางไว้กึ่งกลางระหว่างเส้นแบ่งที่ดิน ส่วนถ้าเป็นรั้วบ้านที่ไม่ใช่บ้านจัดสรรแล้วเราจะเข้าไปอยู่ใหม่อาจจะต้องเช็คจากหมุดที่ดินว่ารั้วนั้นอยู่กึ่งกลางที่ดินหรือไม่ ถ้ารั้วอยู่กึ่งกลางที่ดินก็จะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ถ้ารั้วนั้นอยู่ในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียงทั้งหมด เราต้องสร้างรั้วขึ้นมาใหม่ในที่ดินของเราเท่านั้น จะไปใช้รั้วบ้านร่วมกับบ้านข้างเคียงไม่ได้ เพราะจะถือว่าเราไปใช้พื้นที่ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียง
และจากการที่รั้วบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งสองบ้านต้องช่วยกันสร้าง ดูแล และออกค่าใช้จ่ายหากมีการซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง ทั้งนี้หากเราเข้าไปอยู่อาศัยใหม่และรั้วเดิมที่อยู่กึ่งกลางที่ดินถูกสร้างโดยบ้านข้างเคียงแล้ว เราอาจจะแสดงน้ำใจด้วยการขอซ่อมแซมรั้วเดิมโดยออกค่าใช้จ่ายให้ในครั้งนี้ เพราะเราไม่ได้ช่วยออกค่าสร้างรั้วให้ตั้งแต่แรกนั้นเอง
จะต่อเติมรั้วบ้านต้องต่อเติมอย่างไร?
ถ้าเป็นรั้วบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เราจะมีสิทธิ์ต่อเติมรั้วได้ไม่เกินกึ่งกลางของรั้วเดิมตามแนวเขตที่ดิน ยกเว้นแต่จะมีการยินยอมจากบ้านข้างเคียงเป็นลายลักษณ์อักษรให้สามารถตั้งส่วนต่อเติมไว้กึ่งกลางของรั้วเดิมได้ โดยปกติก็ควรจะวางส่วนต่อเติมไว้บนทับหลังคานของรั้วเดิมหรือยึดกับผนังของรั้วฝั่งที่ดินของเรา ไม่ล้ำเกินกึ่งกลางของรั้ว หรือจะตั้งเสาใหม่หรือรั้วใหม่อีกชั้นอยู่ภายในเขตของที่ดินเราใหม่เลยก็ได้
อย่างไรก็ตามการทำรั้วบ้านที่ติดกับที่ดินข้างเคียง ควรมีการเอาแบบก่อสร้างไปพูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อน เพื่อลดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะรั้วของเราอาจจะสร้างปัญหารั้วบ้านให้บ้านข้างเคียงและทำให้เราอาจโดนฟ้องได้หรือโดนสั่งให้รื้อส่วนต่อเติมทิ้ง เช่น การที่ไปก่อสร้างรั้วทึบสูงๆ อาจทำให้เกิดการบดบังทัศนวิสัย บดบังทิศทางลม บดบังแดดที่อาจทำให้หญ้าหรือต้นไม้บ้านเขาตายได้
เพื่อนบ้านจะต่อเติมรั้วต้องดูอะไรบ้าง?
ถ้าบ้านข้างเคียงมีการต่อเติมรั้วบ้าน ควรรีบคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนและขอดูแบบรั้วบ้านคร่าวๆเพื่อดูรูปร่างหน้าตาของการต่อเติมและต้องตรวจสอบแบบรั้วว่าไม่มีส่วนที่ล้ำมายังเขตที่ดินของเรา ทั้งนี้ไม่ควรรอให้รั้วเสร็จแล้วค่อยบอก เพราะมักจะเกิดการทะเลาะกันจากการขอให้รื้อรั้วออก นอกจากนี้ควรเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นหากมีการต่อเติมรั้ว เช่น เราอาจจะได้ความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่เราไม่ต้องต่อเติมรั้วเอง หรือ ถ้าการต่อเติมรั้วมีการวางโครงสร้างไว้บนรั้วเดิมโดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากแล้วอาจจะทำให้รั้วเดิมทรุดได้ต้องรีบแจ้งให้บ้านข้างเคียงปรับแบบก่อน
อีกกรณีหนึ่งที่มักพบเจอกันคือการที่บ้านข้างเคียงต่อเติมอาคารเดิมมาชนกับรั้วบ้านเรา เช่น การต่อเติมครัวหลังบ้าน ตรงนี้ต้องดูที่กฎมายระยะร่นอาคาร โดยดูว่าส่วนต่อเติมนั้นหากมีหน้าต่างหรือช่องแสงต้องร่นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตรจากแนวเขตที่ดิน ถ้าไม่มีช่องแสงเป็นเพียงผนังทึบสามารถร่นระยะห่างเหลือ 50 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามหากหากไม่มีช่องแสงเลยจะสามารถสร้างชิดเขตหรือรั้วได้แต่ต้องให้บ้านข้างเคียงเซ็นอนุญาตก่อน ทั้งนี้บล็อกแก้วก็จัดเป็นช่องแสงด้วยต้องร่นระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งหากไม่เป็นไปตามกฎหมายก็สามารถร้องขอให้เทศบาลมาตรวจสอบและสั่งให้รื้อได้ ทั้งนี้หากจะอนุญาตให้เพื่อนบ้านต่อเติมมาชนรั้วบ้านเรา เราต้องดูว่าเมื่อต่อเติมเสร็จแล้วจะเกิดข้อเสียอะไรบ้าง เช่น น้ำฝนจากหลังคาจะหล่นมาที่บ้านเราหรือไม่หรือส่วนต่อเติมจะทำให้รั้วเดิมเกิดการชำรุดเสียหายหรือไม่ เป็นต้น
กฎหมายรั้วบ้านที่ควรรู้
กฎหมายรั้วบ้านมีอะไรบ้าง แล้วท่านควรจะทราบไว้ดังนี้
รั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ ต้องไม่มีส่วนใดล้ำออกไปในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นบนดิน เหนือดิน หรือใต้ดิน ดังนั้นอาจเลือกทำฐานรากเป็นแบบตีนเป็ดเพื่อไม่ให้ฐานรากไม่ล้ำไปยังที่สาธารณะ
รั้วที่สร้างชิดแนวที่ดินสาธารณะให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ สำหรับเขตกรุงเทพฯ หากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น
รั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกันและรั้วนั้นมีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็น “อาคาร” แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็น “อาคาร”
ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่อาจกำลังมีปัญหารั้วบ้านและยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายรั้วบ้านกันอยู่นะครับ ยังไงก็แนะนำให้พูดคุยกันดีๆ ด้วยเหตุและผล เพราะเราต้องอยู่กับเพื่อนบ้านกันไปอีกหลายๆ ปี ถ้าทะเลาะกันแล้วต้องมีปัญหาคงจะทำให้เราอยู่บ้านหลังนั้นได้อย่างไม่สบายใจเท่าไหร่นะครับ