ช่างติดกระจกบานเลื่อน ทุ่งครุ
ประตูบานสไลด์ uPVC คืออะไร? ทำความรู้จักกับประตูสไลด์
ประตูนั้นมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นบานเปิดเดี่ยว บานเปิดคู่ บานสไลด์เลื่อน บานเฟี้ยม บานกระทุ้ง แต่สำหรับวันนี้ เราจะมาแนะนำประตูที่นิยมใช้กันที่สุด นั่นก็คือประตูสไลด์นะครับว่าคืออะไรใช้งานยังไง มีข้อดีอะไรบ้าง ทำไมถึงได้รับความนิยม ช่างประตูบานเลื่อน
ประตูสไลด์คืออะไร ?
ประตูบานสไลด์นี้จะเรียกอีกแบบว่าบานเลื่อน เพราะการใช้งานคือสไลด์เลื่อนตัวบานที่อยู่บนราง ไม่ว่าจะเป็นรางบนหรือรางล่าง แต่สำหรับสินค้าของทางบริษัท Vignet uPVC บานสไลด์เรานั้นจะมีแค่รางล่างเท่านั้น การใช้งานนั้นมีหลายรูปแบบเช่น
- บานเลื่อนสลับ เลื่อนได้ทั้งบานซ้ายและบานขวา
- บานเลื่อนสไลด์แบบแยกคู่กลาง
- สไลด์แบบ 3 บาน เลื่อนไปเก็บข้างใดข้างหนึ่ง
ข้อดีของประตูบานสไลด์หรือบานเลื่อน
- การใช้งาน การใช้งานนั้นสะดวกสบายและยังประหยัดพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะในการติดตั้ง
- ราคาโดยทั่วไปจะถูกกว่าประเภทบานเฟี้ยม บานเปิด และบานกระทุ้ง
ประตูของ Vignet เราแตกต่างที่อื่นอย่างไร ?
ข้อดีของประตูบานสไลด์ทางบริษัท Vignet นั้น ก็คือ
ใช้งานสะดวก
- ระบบล็อคแน่นหนาระบบล็อคเป็นระบบ Multipoint lock ล็อคหลายจุด
- สินค้าเป็นรูปแบบสั่งผลิตตามหน้างานจริงสินค้าเราจึงได้มารตฐาน
- สามารถใส่กระจกได้หลายขนาดและรูปแบบตามที่ลูกค้าต้องการอีกด้วย
ดีเทลที่สำคัญในงานก่อสร้างประตูบานเลื่อนมีดังนี้
1.ดีเทลประตูบานเลื่อนแบบแขวนโชว์ราง
2.ดีเทลรอยต่อวัสดุบริเวณเฟรมประตู
3.ดีเทลรางล่างสำหรับประตูบานเลื่อนภายใน
4.ดีเทลรางล่างกันน้ำฝนและรอยต่อของพื้น
5.ดีเทลกันน้ำฝนบริเวณคิ้วประตู
6.ดีเทลระยะช่องประตูสำหรับประตูบานแขวน
7.ดีเทลบานเลื่อนซ่อนในผนัง
8.ดีเทลประตูบานเลื่อนอัตโนมัติ
1. ดีเทลประตูบานเลื่อนแบบแขวนโชว์ราง
- เรียกว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงสำหรับการออกแบบสไตล์ ลอฟท์ และอินดัสเทรียล ที่เน้นโชว์ความดิบของวัสดุและการโชว์รายละเอียดของดีเทลซึ่งเป็นเสน่ห์ที่หลายๆคนต่างหลงใหล
- สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ต้องมีโครงสร้างผนังที่แข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักชุดประตูบานเลื่อนได้ดี ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับผนังเบาเช่น ยิปซั่มบอร์ด แต่ควรเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนหรือผนังคอนกรีต
2. ดีเทลรอยต่อวัสดุบริเวณเฟรมประตู
- ความเรียบสะอาดขององค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรมมีส่วนเป็นอย่างมากในการทำให้ภาพรวมดูดีและกลมกลืน ในกรณีนี้ เทรนด์การออกแบบแนว มินิมอล นิยมซ่อนรางประตูบานเลื่อนไว้ใต้ฝ้า เพื่อให้เกิดความเรียบเนียนของฝ้าโดยไม่สะดุดสายตา หรือแม้แต่บริเวณที่เป็นฝ้าบรรจบกับผนังก็ตาม
- รอยต่อของวัสดุ เช่นบริเวณที่ฝ้ามาชนกับตัวราง สามารถใช้แผ่นอลูมิเนียมทำเป็น บังใบเพื่อเก็บขอบที่ไม่เรียบร้อยของฝ้าฉาบเรียบ
3. ดีเทลรางล่างสำหรับประตูบานเลื่อนภายใน
- แน่นอนว่าการใช้ประตูบานเลื่อนแบบแขวนจะช่วยให้เรามีพื้นที่เรียบเพราะไม่มีรางที่พื้น แต่ในบางกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จำเป็นต้องใช้ประตูบานเลื่อนแบบมีรางด้านล่าง ก็ควรเลือกเป็นรุ่นที่ออกแบบมาให้มีความ Smooth มีการปรับมุมบริเวณขอบข้างให้ลาดเอียง เรียบ เดินแล้วไม่สะดุด และสามารถเข็น Wheel chair ผ่านไป-มา ได้โดยไม่เป็นอุปสรรค
- ต้องระวังการใช้งานที่สับสน และเลือกใช้สินค้าให้ตรงประเภทเนื่องจากชุดประตูบานเลื่อนภายในจะมีลักษณะเรียบ ต่างกับชุดประตูบานเลื่อนที่ใช้กั้นพื้นที่ภายในกับภายนอกที่มีขอบสูงเพื่อฟังก์ชั่นในการกันน้ำรั่วซึมเข้ามาภายใน
4. ดีเทลรางล่างกันน้ำฝนและรอยต่อของพื้น
- ผู้ผลิตแต่ละรายมีดีเทลสินค้าที่แตกต่างกันซึ่งสามารถใช้ได้ใกล้เคียงกัน แต่ให้พิจารณาจากฟังก์ชั่นเป็นหลัก การเลือกรางพื้นสำหรับกันพื้นที่ภายในและภายนอกนั้นควรเลือกใช้รางรุ่นที่มีดีเทลกันน้ำ และต้องตรวจสอบความสูงของรางเพื่อที่จะสามารถเผื่อความสูงของโครงสร้างไว้ให้พอดีกัน
- รางประตูบานเลื่อนที่ใช้กั้นภายในและภายนอกนั้นจะมีหัวเห็ดและมีความลาดเอียง เพื่อการกันน้ำจากภายนอกหากนำมาใช้กั้นพื้นที่ภายในอาจเกิดการสะดุดได้
- สิ่งที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้อง แต่มีผลกระทบกับงานก่อสร้างซึ่งก็คือ การไม่ระบุชนิดของพื้นภายในตั้งแต่แรก หรือตัดสินใจเปลี่ยนชนิดวัสดุหลังจากช่างได้เทโครงสร้างพื้นไปแล้ว ซึ่งอาจจะมีผลให้ เฟรมล่างของประตูสูงหรือต่ำกว่าระดับพื้น เช่น การเปลี่ยนวัสดุปูพื้นจากกระเบื้องเป็นพื้นไม้ลามิเนตภายหลังจากที่เทปูนไปแล้ว อาจส่งผลให้พื้นภายในสูงกว่าเฟรมล่างของประตู
5. ดีเทลรางบนกันน้ำฝน
- การติดตั้งประตูที่ใช้สำหรับกั้นพื้นที่ระหว่างภายในและภายนอกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆคือ การป้องกันการไหลย้อนของน้ำฝน โดยปกติผู้ผลิตบานประตูหน้าต่างจะมีรางอลูมิเนียมรุ่นที่เฉพาะอยู่แล้วสังเกตง่ายๆที่ตัวโปรไฟล์อลูมิเนียมว่าจะมีรางเพิ่มขึ้นมาอีกรางนึง นอกเหนือจากรางสำหรับประตูบานเลื่อนทั้งนี้เพื่อกันน้ำฝนไหลเข้ามาภายในตัวอาคารนั่นเอง
ในบางครั้งดีไซน์เนอร์อาจจะดีไซน์ดีเทลการกันน้ำเป็นรูปแบบแื่นก็ได้ เช่น กล่องอลูมิเนียมเสริมและทำการเซาะร่อง เพิ่มขึ้นมาเพื่อความสวยงามหรือใช้บริเวณพื้นที่ที่มีลมแรงเช่น อาคารบริเวณริมทะเล เพราะมีโอกาสเกิดลมที่พัดน้ำฝนเข้ามาในอาคารได้สูงกว่าปกติ
- อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือคุณภาพของซิลิโคนที่ใช้ยาแนวตามรอยต่อ จะต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและทนยูวี
6. ดีเทลระยะช่องประตูสำหรับประตูบานแขวน
- ในบางครั้งความพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เช่น เจาะช่องผนังพอดีกับความกว้างของบานประตู อาจจะดูเหมือนเรื่องตลกแต่ในความเป็นจริงก็ทำเอาขำไม่ออกเหมือนกันนะครับ เพราะหากแก้ไขด้วยการเพิ่มขนาดบานให้กว้างขึ้นเพื่อปิดช่องให้มิด ก็อาจทำให้เปิดบานได้ไม่สุดเพราะไม่ได้เผื่อระยะความยาวของรางไว้ ดังนั้นจึงควรให้บานประตูกว้างกว่าช่องผนังข้างละ 5 เซนติเมตร กรณีที่เป็นบานเปิดคู่ก็ให้เผื่อข้างละ 5 เซนติเมตรเฉพาะด้านริมเท่านั้น
- นอกจากนี้จุดที่ต้องคำนึงอีกจุดคือ ระยะห่างระหว่างบานประตูกับบานผนังควรมีระยะที่เหมาะสมไม่ห่างหรือไม่ชิดจนเกินไป และควรระวังเรื่องบัวพื้นด้วยเพราะจะทำให้ระยะในส่วนนี้เพิ่มขึ้น หากต้องการใช้บัวแบบหนาแนะนำให้แก้ไขด้วยดีไซน์โดยออกแบบเป็นบัวพื้นแบบฝังผนังแทน
std-repair ช่างประตูบานเลื่อน ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับติดตั้ง ซ่อมแซม ออกแบบงานช่างประตูบานเลื่อนทุกรูปแบบ ศูนย์รวมสินค้างานช่างประตูบานเลื่อน โดยทีมช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำ งานช่างประตูบานเลื่อน เหตุผลในการจ้างช่างประตูบานเลื่อน มืออาชีพเท่านั้น ประหยัดค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย ประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
รู้จักเรา std-repair ร้านช่างประตูบานเลื่อน
- ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านช่างประตูบานเลื่อน มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- รับซ่อมแซมงานช่างประตูบานเลื่อน ทุกชนิด
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย std-repair ร้านช่างประตูบานเลื่อน
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจติดตั้งรางน้ำฝน ต้องที่ std-repair ร้านช่างประตูบานเลื่อนเท่านั้น
ช่างประตูบานเลื่อน ถนนประชาอุทิศ
ช่างประตูบานเลื่อน ถนนกาญจนาภิเษก
ช่างประตูบานเลื่อน ถนนพุทธบูชา
ช่างประตูบานเลื่อน ถนนครุใน
ช่างประตูบานเลื่อน ถนนเลียบวงแหวน
ช่างประตูบานเลื่อน ย่านซอยพุทธบูชา 36
ช่างประตูบานเลื่อน ย่านซอยประชาอุทิศ 33
ช่างประตูบานเลื่อน ย่านซอยประชาอุทิศ 69
ช่างประตูบานเลื่อน ย่านซอยประชาอุทิศ 90