ช่างประตูรั้วเหล็ก เขตบางกอกน้อย โทร 096-2699296

หมวดหมู่สินค้า: ช่างประตูรั้วเหล็ก
STD House ซ่อมประตูรั้วเหล็ก ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด ศูนย์รวมสินค้างานประตูรั้วเหล็ก ดำเนินงานโดยช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำงาน ประตูรั้วเหล็ก ประตูยืด ประตูรั้ว ประตูม้วน ประตูสแตนเลส ประตูอัลลอย ประตูเหล็ก ประตูสแตนเลสผสมไม้ ประตูอัลลอยด์ งานเหล็กดัด ประตูรั้วสแตนเลส ประตูรั้วบ้าน ประตูรั้วโรงงาน ระบบอัตโนมัติ สไตล์โมเดิร์น ทันสมัย รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง

12 กรกฎาคม 2567

ผู้ชม 19 ผู้ชม

ช่างทำรั้วบ้าน  เขตบางกอกน้อย



สอบถามเจ้วิวการช่าง



STD House ช่างประตูรั้วเหล็ก ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
ศูนย์รวมสินค้างานประตูรั้วเหล็ก ดำเนินงานโดยช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ออกแบบให้คำแนะนำงาน ประตูรั้วเหล็ก ประตูยืด ประตูรั้ว ประตูม้วน ประตูสแตนเลส ประตูอัลลอย ประตูเหล็ก ประตูสแตนเลสผสมไม้ ประตูอัลลอยด์ งานเหล็กดัด ประตูรั้วสแตนเลส ประตูรั้วบ้าน ประตูรั้วโรงงาน ระบบอัตโนมัติ สไตล์โมเดิร์น ทันสมัย รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง  ช่างประตูรั้วเหล็ก

รู้จักเรา STD House ซ่อมประตูรั้วเหล็ก
- ทีมช่างมีประสบการณ์ตรงด้านงานประตูรั้วเหล็กมากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานฟรีทั่วจังหวัด เพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- รับซ่อมแซมงานประตูรั้วเหล็ก
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย STD House ช่างประตูรั้วเหล็ก
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจงานช่างประตูรั้วเหล็ก ต้องที่ STD House ช่างประตูรั้วเหล็ก เท่านั้น

ช่างทำรั้วบ้าน
 

รั้วบ้านนั้น…สำคัญฉไหน สร้างแบบไหนถึงจะดี
 
รั้วบ้านนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบ้าน ที่มักจะถูกมองข้ามไม่ค่อยให้ความสำคัญ ยิ่งอยู่ในเมืองนั้น รั้วบ้านมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถป้องกันโจรขโมยเข้าบ้านได้ โดยตามหลักฮวงจุ้ยนั้น ให้ความสำคัญกับรั้วบ้านมาก โดยทางเรา 999 สตาร์ จะอธิบายการสร้างรั้วบ้าน ให้ได้ทราบกัน ดังนี้
 
1. ห้ามสร้างรั้วบ้านก่อนการสร้างบ้านเด็ดขาด โดยข้อนี้นั้น ถ้าเคยได้ยินกันมานั้น จะให้เหตุผลไว้ว่า เหมือนท่านสร้างคุก รอคนเข้าไปอยู่ เพราะว่ากำแพงล้อมทั้งสี่ด้าน ทำให้ไม่ต่างอะไรไปจากคุกนั่นเอง การสร้างที่ดีนั้น จึงต้องสร้างจากด้านในและขยายออกไปสู่ด้านนอก และรั้วบ้านต้องเป็นสิ่งสุดท้ายจะต้องสร้าง
 
2. ห้ามสร้างรั้วที่สูง หรือ ต่ำเกินไป การสร้างรั้วกำแพงที่สูงนั้นจะทำให้บังลมพัดเข้าบ้าน จะทำให้ผู้อยู่อาศัยนั้นอึดอัดเหมือนอยู่ในคุก การสร้างรั้วบ้านที่สูงเหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่มากๆ และตัวบ้านไม่ติดอยู่กับรั้วมากเกินไป ถ้าสร้างรั้วที่ต่ำนั้น ก็จะง่ายเกินไปที่จะถูกโจรขโมยขึ้นบ้าน
 
3. รั้งโปร่งดีกว่ารั้งที่ทึบ รั้วบ้านแบบโปร่งนั้น จะให้ความรู้สึกสบายไม่อึดอัดกับผู้อยู่อาศัยในบ้าน และทำให้ลมพัดเข้าสู่บ้านได้ดี แต่ถ้าเป็นกรณีของบริษัท โรงงาน หรือโกดังเก็บของต่างๆ รั้วที่ทึบนั้นเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะป้องกันโจรขโมยได้ดีกว่า จึงต้องดูความจำเป็นและประโยชน์เข้ามาประกอบในการตัดสินใจสร้างรั้วบ้านด้วย
4. ห้ามเจาะช่องหน้าต่างที่กำแพงของรั้วบ้าน ถ้ารั้วบ้านนั้นเป็นกำแพงทึบ การเจาะช่องที่กำแพงรั้วบ้านนั้น เป็นข้อห้าม จะทำให้เก็บทรัพย์เอาไว้ไม่อยู่ และยังสามารถทำให้โจรขโมยมองเห็นภายในบ้านได้ง่าย
 
5. ห้ามทำรั้วบ้านเป็นแบบลูกกรงซีกหรือเหล็กแหลม โดยลักษณะแบบนี้นั้น เป็นเหมือนกับที่คุมขังสัตว์ หรือคุก จึงไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ถ้าจะใช้รั้วบ้านดังกล่าว ควรที่จะตกแต่งลวดโค้ง วงกลมเสริมเข้าไปบนยอดเพื่อลดความก้าวร้าวของความแหลมคมลงมา
 
6. การสร้างรั้วเป็นไม้นั้น เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะไม้นั้นเป็นวัสดุธรรมชาติ จึงทำให้ผู้อยู่อาศัย รู้สึกเข้าใกล้ธรรมชาติมากกว่า แต่การสร้างรั้วโดยใช้ปูนหรือเหล็ก ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน เพราะเนื่องจากมีราคาถูกกว่าไม้ และแข็งแรงกว่า
 
7. สร้างรั้วบ้านโดยการปลูกต้นไม้ทำเป็นรั้วบ้าน โดยรั้วบ้านลักษณะนี้นั้น ไม่ค่อยนิยมทำกันสักเท่าไหร่ เนื่องจากมีความแข็งแรงสู้รั้วบ้านแบบปูนไม่ได้ และยังต้องคอยตัดแต่งต้นไม้อยู่เสมอ โดยส่วนมากจะทำกันในหมู่บ้านที่มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างดีจึงไม่ต้องห่วงเรื่องโจรขโมยขึ้นบ้าน แต่ตามหลักฮวงจุ้ยนั้น รั้วบ้านแบบธรรมชาตินั้น จะส่งผลดีต่อบ้านมากกว่า
 
8. รั้วบ้านที่ชำรุดเสียหายหรือแตกร้าวนั้นเป็นเรื่องไม่ดี โดยในทางฮวงจุ้ยนั้น จะให้ระวังสิ่งที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพเพราะถือว่าเป็นลางร้ายบ่งบอกว่าบ้านหลังนี้ เจ้าของบ้านจะพบกับความล้มเหลวได้บ้านที่มีรั้วบ้านผุพังแทนความหมายของความมั่นคงเพราะสิ่งที่ป้องกันภัยนอกบ้าน กำลังเสื่อมลงนั่นเอง จึงควรที่จะดูแลรักษาสภาพของรั้วบ้านให้แข็งแรงและดูใหม่อยู่เสมอ
 
เรื่องของรั้วบ้านนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างนึงภายในบ้านของท่าน ตอนนี้ลองหันออกไปมองรั้วของบ้านท่าน และตรวจสอบว่ามีส่วนไหนชำรุดเสียหายหรือเสื่อมโทรมบ้าน ถ้ามีควรที่จะปรับปรุง ทาสีใหม่ หรือซ่อมแซมส่วนที่แตกหัก บ้านของท่านนั้นจะดูสดใสมากยิ่งขึ้น
 
กฎหมายควบคุมอาคารกับรั้วบ้านของคุณ
สำหรับเมืองไทยแล้ว บ้านเดี่ยวเกือบทุกหลังจะมีการสร้างรั้วรอบที่ดิน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย และแสดงขอบเขตกรรมสิทธิ์ในที่ดิน บ้างทำเป็นรั้วโปร่ง บ้างทำเป็นรั้วทึบ หรือกำแพงกั้นระหว่างที่ดินของตนเองกับที่สาธารณะ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถนนสาธารณะ) หรือทำรั้วกั้นระหว่างที่ของตนเองกับเพื่อนบ้าน โดยรั้วด้านติดกับถนนสาธารณะก็จะมีประตูสำหรับรถหรืออาจมีประตูขนาดเล็กสำหรับคนเพื่อผ่านเข้าออก บทความตอนนี้ต้องการบอกว่ากฎหมายควบคุมอาคารมีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องรั้ว ที่ท่านเจ้าของบ้านควรทราบไว้ 
1. ทำรั้วบ้าน ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่ ? 
        หลายท่านอาจคิดว่า “รั้วบ้าน” ไม่น่าจะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะ “รั้ว” ไม่ใช่ “อาคาร” คนเข้าไปอยู่ไม่ได้ อย่างไรก็ตามกฎหมายควบคุมอาคารให้ความหมายของ “อาคาร” มากไปกว่าเพียงสิ่งก่อสร้างที่คนเข้าไปอยู่หรือใช้สอยได้เท่านั้น ดังนั้น จึงต้องดูว่า “รั้ว” ที่จะสร้างนั้นเข้าข่ายเป็น “อาคาร” ตามกฎหมายควบคุมอาคารหรือไม่ หากเข้าข่ายเป็น “อาคาร” ก็จะต้องมีการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง และสร้างให้เป็นตามข้อกำหนดอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ 
        พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้ “อาคาร” หมายถึง “…ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด...” โดย กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 กำหนดให้สิ่งก่อสร้างใดก็ตามที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร เข้าข่ายเป็น “อาคาร” ด้วย 
        เมื่อดูจากเนื้อความ (โดยเฉพาะที่เป็นตัวหนังสือสีแดง) ก็จะเห็นว่าหากรั้วบ้านนั้นสร้างติดต่อหรือใกล้กับที่สาธารณะ ก็จะถือเป็น “อาคาร” หรือหากไม่ได้สร้างติดต่อหรือใกล้กับที่สาธารณะแต่รั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะถือเป็น “อาคาร” ตามกฎหมายควบคุมอาคารเช่นกัน (สำหรับคำว่า “ใกล้เคียง” ตามที่กฎหมายเขียนไว้ เบื้องต้นในทางปฏิบัติ หมายถึงแนวรั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ) ดังนั้น 
 
        รั้วกั้นจึงถือเป็นส่วนที่ระหว่างเขตที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ จะต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะถือเป็น “อาคาร” ตามกฎหมาย
 
        รั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกันและรั้วนั้นมีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็น “อาคาร” แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็น “อาคาร” 
 
2. แนวรั้วและความสูงของรั้วด้านติดถนนสาธารณะ 
        โดยทั่วไปกฎหมายอาคารจะกำหนดให้ แนวของอาคารด้านที่ติดหรือใกล้กับทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นถนนสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ ต้องมีระยะถอยร่นไม่สามารถสร้างให้ชิดแนวเขตทางสาธารณะได้ หลายท่านอาจสงสัยต่อว่า กรณีที่รั้วบ้านเข้าข่ายเป็น “อาคาร” ทำไมจึงสามารถก่อสร้างตรงชิดแนวเขตที่ดินและติดกับเขตถนนสาธารณะได้โดยไม่ต้องถอยร่น...ขอให้ทราบว่า รั้วบ้านที่สร้างระหว่างที่ดินเอกชนกับถนนสาธารณะ กฎหมายควบคุมอาคารผ่อนผันให้ รั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ หากความสูงไม่เป็นไปตามที่ผ่อนผันไว้ รั้วนั้นก็จะต้องมีระยะถอยร่น (จากถนนสาธารณะ) สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ความสูงรั้วด้านที่ยอมให้สร้างชิดเขตถนนสาธารณะจะถูกจำกัดให้สูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น 
สามารถอ่านดูรายละเอียดได้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2535) ข้อ 42, ข้อ 47 และใน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 50 
 
3. ลักษณะและรูปแบบของรั้ว 
        กฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบว่ารั้วต้อง ทึบ โปร่ง หรือต้องมีรูปแบบเช่นใด แต่กำหนดให้รั้วต้องมีการ “ปาดมุม” ตรงที่ดินที่อยู่มุมถนนสาธารณะและมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา โดย (กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2535) ข้อ 5) กำหนดว่า “รั้วหรือกำแพงกั้นเขตที่อยู่มุมถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยว่า 135 องศา ต้องปาดมุมรั้วหรือกำแพงกั้นเขตนั้น โดยให้ส่วนที่ปาดมุมมระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับเนวถนนสาธารณะเป็นมุมเท่า ๆ กัน”
 
        สำหรับกรุงเทพมหานคร มีกำหนดเฉพาะที่ดินอยู่มุมถนนที่กว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 8 เมตร ที่รั้วต้องปาดมุม และต้องไม่มีส่วนใดของรั้ว กำแพง หรืออาคารยื่นล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนที่ปาดมุม วัตถุประสงค์ก็น่าจะเพื่อความปลอดภัยและไม่ให้เกิดความเสียหาย (ของทั้งรถและทั้งรั้ว) ในการเลี้ยวรถบนถนนที่มีความกว้างไม่มากนัก 
 
4. แนวรั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชน 
        รั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ แน่นอนว่าต้องไม่มีส่วนใดของรั้วล้ำออกไปในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะบนดิน เหนือดิน หรือใต้พื้นดิน (เช่น ฐานรากรั้วก็ล้ำออกไปไม่ได้) แต่สำหรับแนวรั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนด้วยกัน กฎหมายควบคุมอาคารไม่ได้กำหนดว่าจะต้องอยู่แนวใด ดังนั้น การที่ท่านเจ้าของบ้านจะทำรั้วระหว่างที่ดินของท่านกับที่ดินเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ท่านจะนำหลักเกณฑ์เดียวกับการสร้างรั้วติดกับที่สาธารณะไปใช้ก็ได้ คือ รั้วทั้งหมดอยู่ในเขตที่ดินของผู้ที่จะสร้างรั้ว หรือหากเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกัน สามารถตกลงกันได้ ก็อาจก่อสร้างให้แนวรั้วกั้นระหว่างที่ดิน โดยให้แนวเขตที่ดินอยู่กึ่งกลางตลอดแนวรั้วก็ได้ และกรณีนี้อาจตกลงกันไปถึงเรื่องการออกค่าใช้จ่ายการทำรั้วได้เช่นกัน 
 
        ทิ้งท้ายกันลืมว่า รั้วบ้านที่จะก่อสร้างหากเข้าข่ายเป็น “อาคาร” ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ก็จะต้องมีการยื่นขออนุญาตก่อสร้างและได้รับอนุญาตก่อนจึงจะลงมือก่อสร้างได้


สอบถามเจ้วิวการช่าง


 
ช่างประตูรั้วเหล็ก บางขุนนนท์
ช่างประตูรั้วเหล็ก บางขุนศรี
ช่างประตูรั้วเหล็ก บ้านช่างหล่อ
ช่างประตูรั้วเหล็ก ศิริราช
ช่างประตูรั้วเหล็ก อรุณอมรินทร์
 
 
Engine by shopup.com