รับจัดงานศพ 9

หมวดหมู่สินค้า: รับจัดงานศพ
STD Serve บริษัทรับจัดงานศพ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด ร้านรับจัดงานศพ ออกแบบจัดงานศพภายนอก ภายใน ทุกรูปแบบ ทุกขนาด โดยทีมวิศวกรและช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ให้คำแนะนำ ร้านรับจัดงานศพ รับจัดงานศพ แบบครบวงจร จัดเมรุ ดอกไม้สด ออแกไนซ์ งานศพ จัดงานศพ บริษัท จัดงานศพ จัดดอกไม้ สดงานศพ จัดดอกไม้ งานศพ จัดสวน หน้าศพ พิธีจัด งานศพ จัดสวน หน้าหีบ รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง

27 มิถุนายน 2566

ผู้ชม 54 ผู้ชม

ออแกไนซ์ งานศพ

เมื่อมีพบก็ต้องมีจาก เป็นเรื่องที่แสนธรรมดาในชีวิตที่เราทุกคนต้องประสบพบเจอ ในวัยเด็กการจากลาอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่นำความโศกเศร้ามากระทบจิตใจ เมื่อเติบโตขึ้นความรู้สึก ความผูกพันธ์กับใครสักคนก็อาจทำให้เราไม่อยากเสียคนเหล่านั้น และอยากให้เป็นอมตะตลอดไป แต่เมื่อมันเป็นสัจธรรมของชีวิต เราก็ต้องพร้อมยอมรับ และควรศึกษาขั้นตอนการจัดงานศพไว้ เมื่อถึงเวลาที่คนใกล้ตัวได้ลาจากโลกนี้ไป คุณจะได้ไม่ต้องกังวล และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องราบรื่น วันนี้ Le Wreath ร้านพวงหรีดออนไลน์ ก็มีขั้นตอนการจัดงานศพมาฝาก สำหรับคนที่เป็นมือใหม่ยังไม่เคยผ่านการจัดงานศพ ห้ามพลาดบทความนี้เลยนะคะ  รับจัดงานศพ 


 
1. ดำเนินการแจ้งตายและขอใบมรณะบัตร
เมื่อมีผู้สิ้นลมหายใจ อันดับแรกที่ผู้เป็นญาติต้องทำ คือ การแจ้งตาย โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ เสียชีวิตที่โรงพยาบาล และ เสียชีวิตที่บ้าน ซึ่งทั้ง 2 กรณี วิธีการจะแตกต่างกันเล็กน้อย โดย
 
● เมื่อเสียชีวิตที่โรงพยาบาล : ทางโรงพยาบาลจะทำการออกหนังสือรับรองการเสียชีวิต เพื่อให้เราได้นำไปรวมกับเอกสารอื่น ๆ ของผู้ตาย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อนำไปยื่นให้กับสำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือที่ทำการเขต ให้ทำการออกใบมรณะบัตร ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเสียชีวิต
 
● เมื่อเสียชีวิตที่บ้าน : ผู้เป็นญาติต้องเดินทางไปแจ้งการตายที่สถานีตำรวจ เพื่อให้ออกหนังสือรับรองการเสียชีวิต หลังจากนั้นนำไปยื่นเพื่อขอใบมรณะบัตรต่อที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือที่ทำการเขต
 
2. ทำการติดต่อวัด เพื่อนำศพมาบำเพ็ญกุศลตามความเชื่อทางศาสนา
เมื่อได้ใบมรณะบัตรเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การติดต่อวัดที่ต้องการนำร่างผู้เสียชีวิตไปตั้งบำเพ็ญกุศลศพ และเมื่อได้วัดที่ต้องการแล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องนำขนร่างมาที่วัด โดยอาจจะติดต่อวัด หรือโรงพยาบาลให้จัดหารถให้


 
สิ่งสำคัญในการเคลื่อนขบวนศพนั้นควรมีญาติหรือลูกหลานของผู้เสียชีวิต ถือกระถางธูป และรูปของผู้ตายนำหน้า ส่วนด้านหลังก็ควรนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 1 รูป ถือสายสิญจน์ที่โยงออกมาหน้าโลง เพื่อชักศพและนำทางดวงวิญญาณมาที่วัด
 
3. พิธีรดน้ำศพ และจัดร่างที่ไร้วิญญาณใส่โลงศพ
เมื่อเคลื่อนร่างที่ไร้วิญญาณมาถึงวัดแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การรดน้ำศพ โดยควรจะตั้งเตียงรดน้ำศพไว้ทางด้านซ้ายมือของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย และจัดให้โต๊ะหมู่บูชาอยู่ด้านบนของศีรษะผู้เสียชีวิต
 
จัดร่างที่ไร้วิญญาณให้นอนหงาย โดยนำผ้าห่มหรือผ้าแพรคลุมไปทั่วร่างยกเว้นบริเวณใบหน้าและมือขวา เพื่อรับการรดน้ำศพจากญาติ ๆ และผู้ที่มาร่วมแสดงความอาลัย โดยเราในฐานะที่เป็นเจ้าภาพ ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น น้ำอบ น้ำหอม ขันขนาดเล็กสำหรับตักไปรดน้ำศพ และขันขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำที่รดมือศพ
 
โดยความเชื่อที่มีมานาน เจ้าภาพควรจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจึงรดน้ำศพได้ และเวลาที่เหมาะสมสำหรับพิธีนี้คือช่วง 16.00 – 17.00 น. หลังจากนั้นก็สามารถจัดร่างใส่โลงศพพร้อมทำพิธีต่อไปได้เลย โดยส่วนมากจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของวัด


 
 
4. พิธีสวดอภิธรรมศพ
ขั้นตอนนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สวดหน้าศพ เจ้าภาพสามารถตกลงกับทางวัดได้เลยว่าต้องการที่จะสวดอภิธรรมศพกี่วัน ซึ่งการสวดที่ว่านี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ โดยส่วนใหญ่เจ้าภาพมักนิยมสวดกัน 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน, 7 คืน เป็นต้น
 
5. พิธีฌาปนกิจศพ
เมื่อสวดอภิธรรมศพครบจำนวนวันที่กำหนดกับทางวัดแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องฌาปนกิจศพ หรือ เผาศพนั่นเอง แต่การที่จะเคลื่อนย้ายศพออกจากศาลาวัด จะต้องทำการแห่ศพเวียนรอบเมรุที่จะเผาก่อน โดยเริ่มจากบันไดทางขึ้นเมรุไปทางขวาทั้งหมด 3 รอบ โดยขบวนแห่ควรจะเรียงลำดับตามนี้ คือ พระ -> กระถางธูป -> รูปภาพ -> ศพ -> ญาติ
 
เมื่อแห่ครบ 3 รอบแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะนำโลงที่บรรจุศพตั้งไว้หน้าเมรุเพื่อให้ญาติ ๆ และผู้ที่มาร่วมงานได้กล่าวอำลาแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่ร่างนั้นจะกลายเป็นเพียงผงธุลี โดยเจ้าภาพอาจจะต้องเตรียม เครื่องไทยธรรม เครื่องไทยธรรมผ้าไตร ผ้าสบงถวายพระสวดมาติกาบังสกุล และดอกไม้จันทน์ เมื่อทำการอำลาโดยวางดอกไม้จันทน์กันครบทุกคนแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเผา
 
6. เก็บอัฐิ
การเก็บอัฐินั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ เก็บในวันเผา หรือ เก็บในวันรุ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้เจ้าภาพจำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่วัดให้ทราบไว้เช่นกัน และต้องจัดเตรียมโกศบรรจุอัฐิ น้ำอบ ดอกไม้ และอาหารคาวหวานเพื่อถวายพระสงฆ์ที่มาบังสุกุลให้ โดยการเก็บอัฐิใส่โกศนั้นนิยมเก็บทั้งหมด 6 ชิ้น ได้แก่ กะโหลก 1 ชิ้น แขน 2 ชิ้น ขา 2 ชิ้น ซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น ส่วนอัฐิที่เหลือ นิยมกวาดรวมกันและบรรจุใส่หีบไม้และนำผ้าขาวห่อเก็บไว้ เพื่อนำไปเก็บไว้ หรือนำไปลอยแม่น้ำต่อไป


 
7. ลอยอังคาร
เมื่อเก็บอัฐิแล้ว เจ้าภาพส่วนใหญ่ นิยมนำเศษอัฐิไปลอยในแม่น้ำตามความเชื่อที่ว่า เมื่อนำอัฐิไปลอยน้ำ จะทำให้ผู้ล่วงลับสงบสุข มีชีวิตในอีกภพภูมิที่ร่มเย็นดั่งสายน้ำ และอีกหนึ่งความเชื่อที่ว่าร่างกายคนเราเกิดจากธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเมื่อสลายแล้วก็ควรให้กลับไปอยู่ไนที่เดิมที่เคยจากมา
 
rtds-events บริษัทรับจัดงานศพ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
ร้านรับจัดงานศพ ออกแบบจัดงานศพภายนอก ภายใน ทุกรูปแบบ ทุกขนาด โดยทีมวิศวกรและช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ให้คำแนะนำ ร้านรับจัดงานศพ รับจัดงานศพ แบบครบวงจร จัดเมรุ ดอกไม้สด ออแกไนซ์ งานศพ จัดงานศพ บริษัท จัดงานศพ จัดดอกไม้ สดงานศพ จัดดอกไม้ งานศพ จัดสวน หน้าศพ พิธีจัด งานศพ จัดสวน หน้าหีบ รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
 
Engine by shopup.com