รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ เขตตลิ่งชัน

STD Serve บริษัทรับจัดพิธีสงฆ์ จัดงานบุญ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด รับจัดพิธีสงฆ์ จัดงานบุญ ทำบุญเลี้ยงพระ ทุกรูปแบบ ทุกขนาด โดยทีมงานมืออาชีพประสบการณ์สูง ให้คำแนะนำ ทำบุญเลี้ยงพระ จัดงานบุญ แบบครบวงจร รับจัดงาน ทำบุญ ครบวงจร จัดทําบุญบ้าน งานทําบุญ เลี้ยงพระ ทําบุญบริษัท รับจัดงาน ทําบุญ ขึ้นบ้านใหม่ รับจัดงาน ทําบุญบ้าน ราคาถูก รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง

29 มิถุนายน 2566

ผู้ชม 16 ผู้ชม

ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เขตตลิ่งชัน

ทำบุญงานมงคล
ทำบุญงานมงคล หมายถึง การทำบุญเพื่อความเจริญโดยปรารภเหตุที่ดี ไม่เป็นมูลเหตุมาจากสิ่งชั่วร้าย งานทำบุญงานมงคล เช่น งานทำบุญวันเกิด งานทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ระเบียบพิธี ฝ่ายทากทายิกา หรือฝ่ายเจ้าภาพ กิจที่ควรทำก่อน เบื้องต้นต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้



๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
๒.ตระเตียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
๔.วงด้ายสายสิญจน์
๕.อัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา
๖.ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์
๗.เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามสมควรแก่ฐานะ
๘.ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ( ตั้งแต่อันดับที่ ๑ - ๘ นี้ สนามหลวง พ.ศ.๒๕๑๖ เรียกว่า “กิจที่ควรทำก่อน” ซึ่งจะต้องตระเตรียม)
๙.ตระเตรียมวัตถุไทยธรรมและอาคารคาวหวานที่สมควรเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ที่เจ้าภาพได้อาราธนานิมนต์ไว้มาถึงสถานที่จัดงานไว้ตามเวลาที่ กำหนดแล้ว
ฝ่ายเจ้าภาพจะต้องปฏิบัติกรณียกิจ คือ
๑.คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย
๒.ประเคนเครื่องรับรองที่จดเตรียมไว้
๓.เมื่อได้เวลาแล้ว จุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง
๔.อาราธนาศีล และรับศีล
๕.ต่อจากรับศีลก็อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
๖.นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้วถวายน้ำร้อยหรือเครื่องดื่มอันสมควรแก่สมณะแล้วแต่จะจัด อนึ่ง ในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ โดยมีการเจริญพระพุทธมนต์กับฉัน (งานวันเดียว) เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม
 
 
ในเบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อนดังนี้
๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
๒.ตระเตียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
๔.วงด้ายสายสิญจน์
๕.ต่อจากรับศีลก็อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
๖.นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว เตรียมยกภัตตาหารมาตั้งไว้ พร้อมแล้วประเคนให้พระฉันได้ทันที สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ก็ถวายไทยธรรม ต่อจากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา พอพระว่าบท ยถา……… ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบทว่า ยถา… และเมื่อพระสงฆ์รับว่า สัพพีติโย…………. พร้อมกัน พึงประนมมือรับพรตลอดจนจบ แล้วส่งพระกลับ เป็นเสร็จพิธี
 
๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมจำนวนคี่ คือ ๕ - ๗ - ๙ รูป, ส่วนงานแต่งงานนิยมจำนวนคู่ คือ ๘ รูป, พิธีหลวงนิยมนิมนต์จำนวนคู่ คือ ๑๐ รูป เป็นต้น  จัดพิธีสงฆ์ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่


 
๒.เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ควรใช้โต๊ะหมู่ ๕ - ๗ - ๙ ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้โต๊ะอื่นที่สมควรก็ได้ ควรปูผ้าขาว หรือผ้าสีที่สะอาดยังไม่เคยใช้เลยเป็นดีที่สุด อย่าเอาผ้าที่นุ่งห่มหรือมช้แล้วปูโต๊ะเป็นอันขาด, ของบนโต๊ะบูชามี พระพุทธรูป ๑, กระถางธูป ๑, เชิงเทียน ๒, แจกันดอกไม้สด ๒, จะเพิ่มอะไรที่สมควรให้มากกว่านี้ก็ได้
การตั้งพระพุทธรูปควรตั้งให้อยู่ทางขวามือของพระสงฆ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศเดียวกันกับพระสงฆ์ แต่ถ้าสถานที่ไม่อำนวย ก็จัดตามความเหมาะสม
 
๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี สถานที่ต้องให้สะอาด เรียบร้อย สวยงาม เป็นสิริมงคล  
 
๔.วงด้ายสายสิญจน์ สิญจน์ แปลว่า รดน้ำ สายสิญจน์คือ สายด้ายดิบ จับให้เป็น ๓ เส้นแล้วจับอีกครั้งให้เป็น ๙ เส้น ,การวงด้ายสายสิญจน์ ควรโยงมาจากฐานพระพุทธรูป วนขวารอบฐานพระพุทธรูป โยงมาที่บาตรหรือภาชนะน้ำมนต์ วนขวาที่ภาชนะน้ำมนต์ วางไว้บนพาน ตั้งใกล้อาสนะพระเถระผู้เป็นประธานในพิธี และไม่ควรข้ามด้ายสายสิญจน์
 
๕.อัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา ควรสรงน้ำพระพุทธรูปให้หมดฝุ่นมลทินที่อาจติดอยู่ เสร็จแล้วก็อัญเชิญขึ้นตั้งประดิษฐานบนที่บูชาที่เตรียมไว้ แล้วกราบ ๓ ครั้ง
 
๖.ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ จะยกพื้นให้สูงขึ้นขนาดเก้าอี้หรือไม่ยกพื้นเพียงแต่ปูเสื่อ ปูผ้าขาว แล้วปูผ้านิสีทนะ (ผ้ารองนั่งสำหรับพระ) แล้วแต่ความเหมาะสม, ต้องให้ที่พระนั่งสูงกว่าที่นั่งของคฤหัสถ์ ถ้าเสมอกันต้องแยก อย่าให้ติดกัน


 
๗.เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามสมควรแก่ฐานะ คือ หมาก พลู บุหรี่ น้ำเย็น น้ำร้อน และกระโถน วางไว้ด้านขวามือของพระทุกรูป (พานหมาก พลู บุหรี่ กระโถน วางระหว่างกลางพระ ๒ รู) ต่อ ๑ ชุดก็ได้) การวาง ให้วางกระโถนไว้ข้างในสุด ถัดออกมาภาชนะน้ำเย็น, ถัดออกมา พานหมาก พลู บุหรี่, สว่น น้ำร้อน นั้นควรจัดประเคนในภายหลัง
 
๘.ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ใช้หม้อน้ำมนต์ที่มีฝาครอบ (เรียกว่า ครอบน้ำมนต์) บาตร หรือขันทองเหลือง (เว้นขันเงิน ขันทองคำ) มีพานรอง, น้ำที่ใช้ทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้น้ำที่ได้มาจากดิน (ไม่นิยมใช้น้ำฝน) ใส่ประมาณค่อนภาชนะ เทียนน้ำมนต์นิยมใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก ๑ บาทเป็นอย่างต่ำ ตั้งเตรียมไว้หน้าโต๊ะบูชา เยื้องมาให้ใกล้พระสงฆ์รูปที่ ๑
 
๙.การจุดธูปเทียนเมื่อเริ่มพิธี เจ้าภาพควรจุดธูปเทียนเอง โดยใช้เทียนชะนานในการจุด (ไม่ควรใช้ไฟจากตะเกียงหรือจากที่อื่น) ตั้งใจบูชาพระ, อาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร , พอพระสวดถึงบทมงคลสูตร โดยเริ่มสวดว่า “อะเสวะนา จะ พาลานัง….” เป็นต้น เจ้าภาพควรจุดเทียนที่ภาชนะน้ำมนต์ น้ำยกประเคนพระรูปที่ ๑ (ประธานสงฆ์ในที่นั้น)


 
๑๐.ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าสวดและฉันเช้าหรือเพลด้วย หากมีการตักบาตร พอพระสวดถึงบทว่า “พาหุง……” ก็เริ่มตักบาตร เสร็จแล้วยกบาตรและภัตตาหารมาวางไว้ใกล้พระ พอพระสวดจบก็ประเคนให้พระฉันได้ทันที, ถ้าเจริญพระพุทธมนต์หรือสวดตอนเย็น แล้วเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น ก็ต้องเตรียมเครื่องรับรองพระเหมือนตอนสวดมนต์เย็น, อาราธนาศีล-รับศีล ไม่ต้องอาราธนาพระปริตร (บางแห่งก่อนที่พระจะสวดต้องการมีอาราธนาบาตรก่อน) พอพระสวดถวายพรพระ โดยพระท่านจะสวดถวายพรพระตามลำดับ คือ “ นะโม…., อิติปิโส ภะคะวา…..., พาหุง……” พอพระสวดถึงบทว่า “พาหุง…….” ก็เริ่มตักบาตร
 
๑๑.สุดท้ายพอพระฉันเสร็จ เจ้าภาพถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนาเริ่มบทว่า “ยถา วาริวหา…….” เจ้าภาพพึงกรวดน้ำ เมื่อพระสงฆ์รับพร้อม ๆ กันว่า “สัพพีติโย…… ” พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบพระ ๓ ครั้ง และส่งพระกลับ เป็นเสร็จพิธี การถวายข้าวพระพุทธ ในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ นิยมถวายข้าวพระพุทธ คือ จัดอาหารทุกอย่างเหมือนกับที่ถวายพระสงฆ์ (ไม่ควรจัดเป็นชุดเล็ก ๆ เหมือนกับที่จัดอาหารเซ่นผี) เสร็จแล้วพึงวางไว้บนโต๊ะหรือบนผ้าขาวที่สะอาดหน้าโต๊ะหมู่บูชา จุดธูป ๓ ดอกในกระถางธูปหน้าพระพุทธรูป นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำนมัสการว่า “นะโม ตัสสะ….” ว่า ๓ จบ เสร็จแล้วกล่าว
 
คำถวายข้าวพระพุทธว่า
อิมัง สูปะพะยัญชนะสัมปันนัง สีลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ. และเมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว เจ้าภาพ พิธีกร หรือผู้อื่นก็ได้ พึงกราบพรพุทธรูป ๓ ครั้ง แล้วประนมมือกล่าวคำลาข้าวพระพุทธว่า เสสัง มังคะลา ยาจามิ หรือจะกล่าวว่า เสสัง มังคะลัง ยาจามิ ก็ได้ เสร็จแล้วกราบ ๓ ครั้ง และยกภาชนะข้าวพระพุทธออกไป
 
๒.ทำบุญงานอวมงคล
การทำบุญงานอวมงคล คือ การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตาย, หมายถึง การทำบุญเพื่อความสุขความเจริญโดยปรารภเหตุที่เป็นมาไม่สู้จะดี แล้วจัดทำบุญขึ้นเพื่อกลับสิ่งที่ชั่วร้ายให้คืนดีและเป็นสิริมงคลต่อไป ในปัจจุบันนี้การทำบุญงานอวมงคลนิยมทำกันอยู่ ๒ อย่าง คือ ๑.งานทำบุญหน้าศพ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทำบุญหน้าวันปลงศพ) ที่เรียกว่า ทำบุญ ๗ วัน, ทำบุญ ๕๐ วัน, ทำบุญ ๑๐๐ วัน นั่นเอง ๒.ทำบุญอัฐิ หรือการทำบุญปรารภความตาบของบรรพบุรุษ หรือท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นการทำบุญในวันคล้ายวันที่ท่านผู้นั้นล่วงลับไปแล้ว
๑.งานทำบุญหน้าศพ หรือ ทำบุญหน้าวันปลงศพ
กิจที่จะต้องเตรียม กิจที่จะต้องเตรียมสำหรับฝ่ายเจ้าภาพมีดังนี้


 
๑.อาราธนาพระสงฆ์มาสวดพระพุทธมนต์ นิยมจำนวนคู่ คือ ๔ - ๘ รูป เป็นต้นแล้ว แต่กรณี (ข้อควรสังเกต งานมงคลใช้คำว่า “เจริญพระพุทธมนต์”, ส่วนงานอวมงคลใช้คำว่า “สวดพระพุทธมนต์”)
 
๒.ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำมนต์ ไม่วงด้ายสายสิญจน์ (ไม่มีการทำน้ำมนต์)
 
๓.เตรียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพเอาไว้ สายโยง คือ ด้ายสายสิญจน์นั่นเองแต่มี ๓ เส้น (งานมงคลใช้ ๙ เส้น) ภูษาโยง คือ แผ่นผ้ากว้างประมาณ ๔ นิ้ว ยาวให้พอตั้งแต่พระองค์แรกต้นแถวจนถึงพระองค์สุดท้ายปลายแถว และต้องมีสายโยงจากศพมาเชื่อมต่อกับภูษาโยงอีก (ควรระวังเรื่องการเดินสายโยง อย่าให้สูงกว่าพระพุทธรูปในพิธี และอย่าให้ต่ำกว่าที่คนนั่ง อย่าข้ามสายโยงหรือภูษาโยง เพราะต่อเนื่องกับศพ มีไว้สำหรับพระจับเพื่อบังสุกุล การปฏิบัติกิจในพิธี เมื่อพระสงฆ์นั่งประจำที่แล้ว เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจุดธูปเทียนที่หน้าศพทีหลัง (แต่บางแห่งนิยมจุดที่หน้าศพก่อน เสร็จแล้วจุดที่โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยทีหลัง ด้วยให้เหตุผลว่าเพื่อให้ผู้ตายได้บูชาพระรัตนตรัยร่วมกัน ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรขอให้ผู้รู้ควรวินิจฉัยเองเถิด) เสร็จแล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล - รับศีล - อาราธนาศีล (บางแห่งไม่ต้ออาราธนา พระสงฆ์สวดเลยก็มี) ถ้ามีการเลี้ยงพระด้วย พอพระฉันเสร็จพิธีกรหรือเจ้าภาพคลี่สายโยง หรือภูษาโยงตั้งแต่พระองค์แรกต้นแถวจนถึงพระองค์สุดท้ายปลายแถว เจ้าภาพและญาติพี่น้องทอดผ้าบังสุกุลบนสายโยงหรือภูษาโยงที่คลี่ทอดยาวไว้ แล้ว ถ้ามีถวายไทยธรรมจะถวายพระด้วยนิยมกลัดติดไว้กับผ้าสบง จีวร หรือที่เรียกกันว่าผ้าบังสุกุลที่วางจะทอดนั้น แล้วนั่งประจำที่ พอพระสงฆ์ท่านชักบังสุกุลเจ้าภาพและผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานทุกท่านประนม มือตั้งใจฟังจนจบ เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาเริ่มบทว่า “ยถา วาริวหา……” เจ้าภาพพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้บ้ำเพ็ญแล้วให้แก่ผู้ล่วงลับไป แล้ว เมื่อพระสงฆ์รับพร้อม ๆ กันว่า “สัพพีติโย…” พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบพระ ๓ ครั้ง
 
rtds-events บริษัทรับจัดงานศพ ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับจัดพิธีสงฆ์ จัดงานบุญ ทำบุญเลี้ยงพระ  ทุกรูปแบบ ทุกขนาด โดยทีมงานมืออาชีพประสบการณ์สูง ให้คำแนะนำ ทำบุญเลี้ยงพระ จัดงานบุญ แบบครบวงจร รับจัดงาน ทำบุญ ครบวงจร จัดทําบุญบ้าน งานทําบุญ เลี้ยงพระ ทําบุญบริษัท รับจัดงาน ทําบุญ ขึ้นบ้านใหม่ รับจัดงาน ทําบุญบ้าน ราคาถูก รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
 
 
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจทำความสะอาด ตึก บ้าน อาคาร อื่นๆ ต้องที่ STD Serve รับจัดพิธีสงฆ์ จัดงานบุญ เท่านั้น
 
รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ คลองชักพระ
รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ ฉิมพลี
รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ ตลิ่งชัน
รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ ทวีวัฒนา
รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ บางพรม
รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ บางระมาด
รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ บางเชือกหนัง
รับจัดจัดงานบุญ จัดพิธีสงฆ์ ศาลาธรรมสพน์
Engine by shopup.com