ร้านป้าย
แม้ว่าคอลเลกชันเสื้อผ้าใหม่ ตอนรับซัมเมอร์ที่มีสีสันสดใสของ UNIQLO จะเข้ามาเยือนประเทศไทยแล้ว และแม้ว่าสุดท้ายตัวผมเองคว้าทรัพย์สินตัวใหม่เป็นเพียงแค่กางเกงผ้าชิโน 5 ส่วนสีกรมเรียบๆ คล้ายของเดิมที่เคยใส่ แต่นั่นก็เพราะคิดว่าคงเหมาะกับความเรียบของตัวเองดี ซึ่งพอเมื่อได้ลองสวมกางเกงเรียบๆ ตัวนั้นคู่กับเสื้อเชิ้ตสีขาวคอปกจีน และหมุนตัวรอบนึงเป็นพิธี ก็เป็นอันว่าพอใจมากๆ เพราะผ้าใส่สบาย ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป ซึ่งกระบวนการของความพอใจอะไรแบบนี้ก็เป็นอะไรที่สามารถเกิดขึ้นได้กับงานสถาปัตยกรรมได้เช่นกัน ร้านป้าย
เหล่าสถาปัตยกรรมเองนั้นก็มีช่วงเวลาที่ได้หาแบบเสื้อผ้าและทดลองสวมใส่เหมือนกัน แต่ว่าในวงการของสถาปนิกเอง การออกแบบเสื้อผ้าให้กับอาคารเราจะเรียกว่าการออกแบบ ‘Skin’ หรือการออกแบบผิวห่อหุ้มร่างกายทางสถาปัตยกรรมเอาไว้ อันได้แก่ห้องต่างๆ ภายใน เพราะเมื่ออยู่ที่อากาศร้อน เสื้อผ้าของสถาปัตยกรรมก็ควรมีช่องระบายลม และใช้วัสดุที่สามารถดูดซับความร้อนได้ รวมไปถึงการจัดวางลวดลายแพตเทิร์นให้ลงตัว ซึ่งบางท่านอาจจะเรียกว่าภาพรวมของเสื้อผ้าของสถาปัตยกรรมว่า ฟาซาด (Façade) ก็ได้เช่นกัน
ในขณะเดียวกันเองที่ประเทศไทย หากเราขับรถไปตามหัวเมืองต่างๆ แล้วถูกไฟจราจรสีแดงสะกิดให้เหยียบเบรกตามสี่แยก เราก็มักจะพบสีสันเสื้อผ้าของอาคารสถาปัตยกรรมที่จัดจ้านกว่าเสื้อผ้าทุกคอลเลกชันทุกแบรนด์ใดๆ ปรากฏรายล้อมอยู่ริมถนน ซึ่งเสื้อผ้าของสถาปัตยกรรมเหล่านี้มักจะมาในรูปแบบป้ายโฆษณากราฟิกตัวหนังสือสีสันสดใสที่ห่อหุ้มหน้าอาคารเดิมเอาไว้อีกที อันเป็นเอกลักษณ์ไทยๆ ที่ติดมากับสถาปัตยกรรมตึกแถวหรือร้านค้าในไทยโดยที่เราอาจไม่เอะใจ และสิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่อาจารย์สอนสถาปัตย์ก็ไม่ค่อยพูดถึงเท่าไหร่นัก
ส่งผลให้ เมื่อผม QC ความน่าสนใจของสถาปัตยกรรมป้ายพวกนี้แล้ว ก็ทำให้ผมจำต้องออกไปที่ Flagship Store ตามถนนหนทางต่างๆ เพื่อไปลองหยิบจับเนื้อสัมผัสของเสื้อที่มีสีสันหลากหลายของอาคารเหล่านี้ ว่ามีเนื้อหาอะไรสนุกๆ น่าหยิบมาเล่าให้ได้อ่านกันบ้าง
“เท่าที่ผมจำได้ ต้องย้อนไปเมื่อ 30 ปีที่แล้วนะ ที่เริ่มมีพวกป้ายซึ่งทำมาเพื่อติดอาคารกันเยอะๆ ก่อนหน้านั้นน่าจะเป็นป้ายไม้ของพวกร้านคนจีน ช่วงนั้นเองผมเพิ่งจบจากคณะจิตรกรรมมาใหม่ๆ ผมก็ยืนเล็งๆ ดูพวกป้ายพวกนี้ตลอด ไปดูตัวอย่างตามร้านที่วงเวียน 22 เลย คือผมชอบอะไรพวกนี้”
พี่อมร ประสิทธิพร ผู้รับเหมามาดเซอร์ ผู้เป็นสเปเชียลิสต์ในการทำป้ายติดอาคาร ที่มาพร้อมรถกระบะและทีมงาน 2 คนท้ายรถ พี่แกยอมเสียเวลายืนคุยกับผมหน้าร้านค้าร้านนึง ที่แกเพิ่งทำการติดตั้งป้ายขนาดมหึมาเสร็จ
“สมัยก่อนยุคนั้นนะสีสันจะมีให้เลือกได้น้อยหน่อย เพราะยิ่งสีเยอะก็ยิ่งมีผลให้ราคาเปลี่ยนไป ถ้าเราสังเกตนะ พวกป้ายที่ปิดอาคารยุคเก่าๆ มักมีเพียงแค่ไม่กี่สี ก็จะมีแค่สีแดงที่ร้านทองนิยมกับสีเขียวและน้ำเงิน ซึ่งสีพวกนี้จะเป็นแบ็กกราวนด์ที่ทาลงบนแผ่นไม้ที่วางเรียงไว้บนโครงเหล็ก แล้วก็เอาตัวหนังสือวางทับบนนั้น ส่วนตัวหนังสือก็จะต้องร่างด้วยมือก่อน ค่อยๆ ทำทีละตัวอักษร เป็นชิ้นๆ ซึ่งสมัยก่อนวัสดุก็จะเป็นสแตนเลสอะลูมิเนียมพับขอบ หรือไม่ก็ใช้ไม้ทำทีละตัวนี่แหละ”
พี่อมรเล่าย้อนเวลาไปในอดีต ชวนผมมุดเข้าไปในลิ้นชักโต๊ะของโนบิตะ พร้อมกับยืนชี้ไปที่ป้ายโฆษณาโรงรับจำนำอีกฝั่งของถนน ซึ่งมีตัวหนังสือหล่นหายไปบ้าง พร้อมกับรอยคราบที่เป็นขอบตัวอักษรเดิม และก็สลับไปชี้อีกตึกที่ปิดหน้าอาคารด้วยป้ายไวนิลที่พรินต์ด้วยอิงค์เจ็ทหุ้มบนโครงเหล็กและเชื่อมเข้ากับตัวอาคาร พร้อมเล่าต่อไปว่า
“ส่วนถ้าเป็นแบบป้ายอิงค์เจ็ทนี่แสดงว่าเริ่มเป็นยุคปัจจุบันแล้ว เพราะว่ามันทำง่ายและถูกกว่าเยอะ ที่สำคัญก็คือ ถ้าร้านที่ใช้ป้ายนี้ต้องการเปลี่ยนรูปแบบโฆษณาใหม่บ่อยๆ การใช้ป้ายอิงค์เจ็ทนี่ตอบโจทย์มากๆ พรินต์ใหม่มาทับก็จบเลย ถ้าเป็นแบบโบราณนี่ต้องรื้อทิ้งทำใหม่ เสียเวลาและเปลืองเงินมาก”
ในขณะที่ต้องตะโกนคุยกันเพื่อสู้กับเสียงรถยนต์ซึ่งวิ่งผ่านไปมาเหมือนคนคอยแกล้งให้เราคุยกันไม่รู้เรื่อง พี่อมรก็เล่าเรื่องความสนุกของการทำป้ายบนอาคารของแกอย่างสนุกสนานต่อว่า
“ถ้าเป็นเทรนด์ทำป้ายปิดตึกเดี๋ยวนี้ เขานิยมทำป้ายเเบบสไตล์วินเทจนะ วินเทจแบบตัวหนังสือน้อยๆ เรียบๆ สีขาวๆ (วินเทจที่นี้ของพี่อมรคือแนวมินิมอล) กับอีกวินเทจนึงที่เขาฮิตกันก็คือ เน้นทำกล่องแล้วซ่อนไฟ LED อัดแสงด้านหลังตัวอักษร (ส่วนวินเทจนี้ของพี่อมรคือแนวโมเดิร์น) แน่นอนว่าวัสดุจากสมัยก่อนตอนนี้ก็จะเปลี่ยนไปเยอะเลย เป็นพวกแผ่นอะคริลิกหรือวัสดุใหม่ๆ แทน เช่น แผ่นตะแกรงเจาะรู อะไรพวกนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถสั่งตัดตัวอักษรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หมดแล้ว
“ผมชอบมากเลยเวลาที่ต้องคิดขนาดตัวอักษรให้ลงกับคูหาอาคารให้ได้ น้องรู้ไหมว่ามันยากแค่ไหนที่จะต้องจัดประโยค คำ ลงให้ได้ (หัวเราะ) ทุกอย่างมันเริ่มจากสเกตช์แบบก่อนนะ มันออกแบบได้ มันสร้างจริงได้ และพอทำมันสำเร็จได้งานนึงนี่ผมภูมิใจมากๆ”
พี่อมรเล่าความสุขจากการทำป้ายให้กับผม ด้วยสายตาที่มี passion ของช่างทำป้ายมากว่า 20 ปี เพียงไม่นานนักก็มีชายหน้าจีนวัยกลางคนเดินออกมาจากร้านที่พี่อมรเพิ่งติดตั้งป้ายเสร็จ พร้อมกับส่งสายตาเป็นนัยๆ อันเป็นรู้กันว่าผมต้องแยกย้ายจากพี่อมรเสียแล้ว
และผมก็ต้องเดินตามผู้ชายคนนั้นเข้าไปในร้านด้วยความตื่นเต้น เพราะว่าเป้าหมายในการสนทนาต่อไปก็คือผู้ชายคนนี้ ซึ่งก็คือลุงแท้ๆ ของผมเอง!
ร้าย / ร้าน
ถูกต้องครับ ลุงของผมเพิ่งจะทำร้านใหม่ซึ่งเป็นร้านทอง ที่ขยายจากร้านทองเดิมที่อยู่คูหาถัดกันใกล้ๆ ลุงเลยได้จัดป้ายใหม่เอี่ยมจากพี่อมรนี่เอง และแน่นอนครับด้วยเหตุนี้ ทำให้ผมเลยรีบซิ่ง Fast 8 เพื่อจะมาพูดคุยกับลุงของผม ในฐานะของผู้คิดที่จะทำสถาปัตยกรรมป้ายอีกหลัง และฐานะผู้ที่อยู่อาศัยหลังสถาปัตยกรรมป้ายมา 30 ปี
“ตอนนั้น 30 ปีที่แล้ว ไอ้พวกป้ายใหญ่ๆ ปิดตึกแบบนี้ยังไม่ค่อยมีธุรกิจไหนเขาทำกันนะ ก็พอจะเห็นกันเองในพวกวงการร้านทองนี่แหละ พอลุงคิดจะเปิดร้านเอง เราก็จินตนาการภาพไว้เลยว่าร้านต้องมีป้ายใหญ่ๆ เลยนะ ป้ายยิ่งใหญ่ยิ่งดี มีอำนาจ มีความมงคล ให้เด่นๆ ไปเลย ไว้ข่มร้านอื่นๆ”
คำกล่าวด้วยความเล่นใหญ่สไตล์ลุงของผม ได้ย้อนอดีตเช่นเดียวกับที่พี่อมรพาผมมุดเข้าไปในลิ้นชักอีกรอบ
“พอจินตนาการในหัวเสร็จ พอคิดชื่อร้านได้ ลุงก็ดิ่งไปวงเวียน 22 เลย ตอนนั้นใครๆ ก็ต้องไปวงเวียน 22 ซึ่งเขาก็เหมาทำป้ายทั้งภายในและภายนอกร้านเลยนะ ตัวอักษรต้องเป็นอักษรแบบหัวนก ไอ้ตอนคิดสีก็ต้องเป็นสีแดง เพื่อความมงคลนี่แหละตามคติคนจีน ซึ่งพอเราทำป้ายใหญ่ๆ แบบนี้ มันก็มีคนจำเราได้ จำร้านเราได้ดี ลูกค้าเข้าหา ยิ่งด้วยเวลาที่ขับรถผ่านไวๆ เขาก็ยังเห็นได้”
“หลังจากนั้น ก็เริ่มมีคนทำตามเรามากขึ้นนะ นอกจากพวกร้านทองแล้ว ก็มีพวกร้านเสริมสวย ร้านขายของอื่นๆ เยอะแยะ และในปัจจุบันก็ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ นะ จากที่สังเกตเห็น เพราะลุงเองก็ต้องค่อยอัพเดตดูร้านอื่นๆ ว่าเขาทำหน้าร้านกันยังไง ทำให้ปัจจุบันนี้เราต้องออกแบบป้ายร้านเปลี่ยนไป”
แล้วต้องออกแบบเปลี่ยนไปอย่างไรล่ะ ผมถามกลับไปอย่างตื่นเต้น เพราะอยากรู้ว่าถ้าไม่ใช่สถาปนิกแล้ว พวกเขามีไอเดียอะไรอยู่
“อย่างแรกที่สำคัญมากซึ่งลุงนึกมาก่อนเลยก็คือ การต้องมีช่องที่เปิดให้แสงเข้าได้และมองออกไปได้ เพราะว่าตั้งแต่อยู่มา 30 ปี รู้ไหมว่าเวลาเกิดอะไรขึ้นข้างนอก เราอยู่ข้างในมองอะไรไม่เห็นเลยเพราะโดนป้ายปิดบัง บ้านข้างในก็มืดอยู่แล้วซึ่งไม่ค่อยดีนะ แต่ก็อยู่มา 30 ปีแล้ว (หัวเราะ)
“ตัวหนังสือชื่อร้านก็ไม่ต้องใหญ่มาก คนจำร้านเราได้มากกว่าแค่ป้ายแล้ว ดังนั้น ลดขนาดป้ายลงมาเหลือแค่กรอบเหนือประตูชั้น 1 แล้วไปออกแบบพวกลวดลายให้เขาจำเราได้ดีกว่า ส่วนเรื่องการคิดสีก็จริงจังขึ้น นี่ถึงขั้นไปดูศึกษาว่าสีของร้านในฮ่องกงเป็นแบบไหน สิงคโปร์เป็นแบบไหน”
ว่าแล้วป้ายหน้าอาคารร้านหลังใหม่ของลุงผมนั้นก็มีความไม่ธรรมดากว่าร้านทองของชาวบ้านทั่วไป เป็นสถาปัตยกรรมป้ายที่ดูเหมือนก้ำๆ กึ่งๆ ว่าจะเป็นป้ายหรือไม่เป็นดี โดยลักษณะคือมีแผ่นโครงป้ายที่หุ้มอาคารเหมือนเดิม แต่ตัวป้ายมีแพตเทิร์นเป็นเส้นทแยงรูปเพชร และช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการตีเส้นทแยง ก็ปล่อยเป็นช่องเปล่าให้แสงทะลุเข้าไปในอาคารได้ ซึ่งในจังหวะการตีเส้นแพตเทิร์นนั้นยังมีการซ้อนของเลเยอร์เข้าไปอีกชั้น จนเกิดกิมมิกเล็กๆ เป็นกระจกสะท้อนรูปเพชร 8 เม็ด ดังที่ลุงผมเชื่อว่าเป็นมงคล และยังไปล้อกับเส้นทแยงที่ตีไขว้กันเป็นรูปเลข 8 คล้ายสัญลักษณ์อินฟินิตี้ ยิ่งทำให้มงคลระดับแพลตินัมเข้าไปอีก
พออธิบายลักษณะมาถึงจุดนี้ หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมลุงของผมถึงสามารถทำป้ายออกมาได้เฉียบขนาดนี้ คำตอบก็คือเพราะแกไม่ได้ออกแบบเอง แต่ลากสถาปนิกที่สนิทกันซึ่งอาศัยอยู่ในละแวกนั้นมาช่วยออกแบบและคลี่คลายป้ายให้นั่นเอง (ปรบมือสิครับ รออะไร) ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายอันดีของสังคมไทยที่พ่อค้าคนจีนอย่างลุงของผมเปิดใจให้สถาปนิกมาช่วยออกแบบหน้าร้านให้
“ไอ้พวกร้านอื่นๆ ที่ตอนนี้ยังทำป้ายปิดทั้งตึกแบบนี้ แสดงว่าเขาไม่ได้นอนในตึกนั้นจริงๆ หรอก เขาแค่มาเปิดร้านช่วงกลางวันแล้วกลับบ้านที่อื่นช่วงคืน ดังนั้น ถึงป้ายเขาจะเต็มและใหญ่กว่า แต่เราพอใจกับการที่ทำออกมาแบบนี้แหละ เพราะว่าคุณภาพชีวิตที่แลกกับป้ายมันไม่คุ้มกันหรอก”
เป็นประโยคคำตอบสรุปของลุงที่ผ่านการตกตะกอนสำหรับการเป็นผู้อยู่อาศัยที่ถูกทำร้ายจากป้ายโฆษณามากว่า 30 ปี ซึ่งสามารถตอบคำถามง่ายๆ ว่าการออกแบบผิวของสถาปัตยกรรมแบบไทยๆ นี้ มันมีปัจจัยอะไรที่ต้องแลกกันอยู่
ป้ายสี / ป้ายเสียง
“ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติของธุรกิจและบริการต่างๆ ที่ต้องการใช้พื้นที่ของตัวเองเพื่อการโฆษณาตัวเอง และเขาต้องการพื้นที่ที่มากที่สุดเพื่อการโฆษณา เมื่อแบบของอาคารไม่ได้มีความสำคัญพอในมุมมองของเจ้าของ เขาก็เลยหุ้มป้ายทับไปเลย”
ความเห็นในสถาปัตยกรรมป้ายจาก พี่วีร์ วีรพร นักออกแบบกราฟิก จาก Conscious Studio ที่ให้ความกรุณาแวะมาแจมใน อาคิเต็ก–เจอ ตอนนี้ ซึ่งพี่วีร์ยังมีความเห็นต่อไปว่า
“อาคารพาณิชย์ ชื่อมันก็บอกวัตถุประสงค์ของมันอยู่แล้วว่ามันไม่ใช่อาคารที่ต้องสะท้อนบุคลิกของตัวผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้งาน (แม้ว่าอินทีเรียภายในอาจจะเป็น home office ก็ตาม) หรือวัฒนธรรมองค์กร ความเชื่อ แนวนิยม หรืออะไรก็ตามที่เจ้าของอาคารประเภทอื่นจะต้องการสื่อสารทั้งทางตรงและทางอ้อม
“ถ้าเป็นบ้านของเราเอง หรืออาคารขององค์กร สถาบันต่างๆ เขาก็ต้องหาทางสะท้อนตัวตนมาตั้งแต่การออกแบบตอนแรกอยู่แล้ว แต่ตึกแถวจะถูกสร้างมาให้หน้าตาเหมือนกันหมด เป็นกลุ่มเป็นบล็อก ทำให้ผู้ซื้อหรือผู้ที่มาเช่าก็อยากให้เสียงที่ตัวเองพูดดังที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ตึกเหมือนกันหมด สิ่งที่ต้องการสื่อสารไม่มีอะไรอย่างอื่นนอกจากว่าทำป้ายโฆษณากิจการตรงนี้คืออะไร”
แม้ว่าการเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมป้ายนั้นชัดเจนอยู่แล้วว่าเกิดจากเรื่องการทำมาหากินเป็นอันดับหนึ่ง แต่การไม่คิดถึงรูปแบบตัวอาคารเดิมหรือสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่มีอยู่แถวนั้นเลย เราอาจกำลังสร้างมลพิษทางเสียงจากป้ายโฆษณาที่ต้องใช้สายตาฟัง
“ผมเชื่อว่าถ้าย้อนเวลากลับไปยังสมัยที่ป้ายมันยังไม่เต็มผิวอาคารเท่านี้ แล้วอยู่ดีๆ มีป้ายเต็มผิวอาคารแบบนี้เกิดขึ้นมา เราก็คงจะรู้สึกเดือดร้อน รำคาญ เหมือนมีคนมาตะโกนใส่ แล้วก็ต้องหันไปมอง แต่พอทุกคนเริ่มตะโกนกันหมด ก็กลายเป็นว่าเราไม่ได้ยินอะไรชัดเจนสักอย่างถ้าไม่ได้จะตั้งใจฟังเสียงใดเสียงหนึ่ง แต่การมองเห็นมันก็อาจจะแตกต่างจากเสียงหน่อย ตรงที่มนุษย์เราจะอ่านทุกอย่างตามสัญชาตญาณ”
แล้วต่างประเทศเขาคลี่คลายหรือออกแบบอะไรแอบแฝงอย่างไรกัน
“เวลาเราเดินทางไปตามเมืองต่างๆ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหรือมีวัฒนธรรมเก่าแก่ เราก็จะเห็นว่าป้ายต่างๆ ของเขาจะมีอัตลักษณ์ของสถานที่แฝงอยู่ในนั้นด้วย เช่น การเลือกใช้ตัวอักษร วัสดุ เทคนิคการผลิต ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่นั้น ณ ยุคสมัยหนึ่ง หรือว่าเป็นผลงานของช่างฝีมือหรือนักออกแบบกลุ่มเดียวกัน เรียกว่าป้ายเป็นตัวแทนหรือจดหมายเหตุอย่างหนึ่งของยุคสมัย
“ถ้ามองในมุมของการจัดระเบียบแบบแผน ก็อยากให้บ้านเรามีการควบคุมบ้าง อย่างบางพื้นที่ เช่น เขตอนุรักษ์ เมืองเก่า ผมอยากให้มีการควบคุมขนาดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผิวหน้าอาคารไปเลย รวมทั้ง สี วัสดุ และแนะนำแบบตัวอักษรให้กับผู้ประกอบการด้วย เรียกว่าเสนอกรอบแบบหลวมๆ ส่วนในพื้นที่เมือง เพราะคิดว่าการควบคุมขนาดที่สัมพันธ์กับพื้นที่ผิวหน้าอาคารที่หน้าตาอาคารเหมือนกัน เราก็ควรใช้ป้ายขนาดเดียวกันไปเลย
“แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การกำหนดอะไรพวกนี้ก็อาจจะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของความคิดเกินไปเช่นกัน…”
แม้ว่าเสื้อเชิ้ตสีขาวปกคอจีนกับกางเกงผ้าชิโนสีกรม 5 ส่วนจะเรียบๆ ใส่ยังไงก็ดูเรียบร้อยและชัวร์ในทุกโอกาส แต่ถ้าหากเรากลับไปเปิดตู้เสื้อผ้าแล้วค้นเสื้อตัวเก่าๆ ดู ผมเชื่อว่าทุกคนจะมีเสื้อยืดกราฟิกสีสันจัดจ้านไว้ครอบครองกันไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะซื้อเมื่อสมัยก่อนหรือปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับการออกแบบผิวของอาคาร ที่เป็นเหมือนเสื้อผ้าซึ่งก็มีเรื่องยุคสมัยและค่านิยม ณ ขณะนั้น สีสันของสถาปัตยกรรมป้ายโฆษณาที่สีสดใสก็เป็นผลพวงจากค่านิยมในอดีตเช่นกัน เพียงแต่ว่าแฟชั่นของผิวสถาปัตยกรรมอาจจะไม่ได้เปิดตัวคอลเลกชันใหม่ได้เร็วเท่า UNIQLO ดังนั้นเมื่อยุคของสถาปัตยกรรมเริ่มเปลี่ยนจริงๆ การออกแบบหน้าอาคารก็จำต้องเปลี่ยนแปลงไปให้คลี่คลายขึ้น เหมือนกับที่สิ่งที่ลุงของผมทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
สุดท้ายนี้ ก็ขอให้ท่านใดที่กำลังจะเปิดร้านใหม่ได้เสื้อผ้าของอาคารที่ถูกใจกันนะครับ
rtds-events บริษัทร้านทำป้าย ราคาถูก รับประกันคุณภาพทั่วจังหวัด
รับทำป้าย ออกแบบรับทำป้าย ภายนอก ภายใน ทุกรูปแบบ ทุกขนาด โดยทีมวิศวกรและช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ให้คำแนะนำ บริษัทรับทำป้าย รับทำป้าย แบบครบวงจร ร้านทำป้าย รับทําป้ายโฆษณา ร้านทําป้ายไวนิล ร้านทําป้ายอะคริลิค รับออกแบบป้ายไวนิล ร้านทำป้ายโฆษณา ออกแบบป้ายหน้าร้าน ร้านทําป้ายสแตนเลส ทำป้ายเมนู รวมถึงดูแล ซ่อมแซม ประเมินราคา ตามงบประมาณ รับประกันงานติดตั้ง ทุกพื้นที่ ทั่วจังหวัด ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
รู้จักเรา rtds-events บริษัทร้านทำป้าย
- ทีมช่างมีประสบการณ์ตรง ด้านร้านทำป้าย มากกว่า 20 ปี
- เดินทางวัดหน้างานสำรวจเบื้องต้นฟรีทั่วจังหวัดเพื่อให้ลูกค้าได้รับ งานที่ตรงความต้องการก่อนตัดสินใจ
- รับทำป้าย แบบครบวงจร ร้านทำป้าย รับทําป้ายโฆษณา ทุกชนิด ทุกขนาด เล็ก-ใหญ่ ทั่วประเทศ ในราคาถูกที่เป็นกันเอง
- ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรง ทนทาน
- ราคาถูก รับประกันคุณภาพ พร้อมการบริการหลังการขาย
- บริการคุณภาพด้วย rtds-events บริษัทร้านทำป้าย
พร้อมรับงานทุกขนาด งานบ้านทั่วไป งานโครงการ งานรับเหมา และอื่นๆ สนใจทำความสะอาด ตึก บ้าน อาคาร อื่นๆ ต้องที่ STD Serve บริษัทร้านทำป้าย เท่านั้น